Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sahavate Institute
•
ติดตาม
19 มี.ค. 2022 เวลา 01:52 • กีฬา
มาเรียนรู้การฝึก Plyometrics กันเถอะ
ตอนที่ 6 ความหมาย ความสำคัญ และความจำเป็นของการฝึก Plyometrics
ตอนนี้แอดมินกำลังเข้าร่วมโครงการออกแบบโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา (Plyometrics training program design for athletes) ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
ในวันนี้แอดมินจะมาสรุปในหัวข้อ “การฝึก Plyometrics” ซึ่งบรรยายโดย ผศ.ถาวร กมุทศรี อ.ประจำวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มาให้แฟนเพจได้อ่านกัน ดังนี้
1. การฝึก Plyometrics เป็นการฝึกที่อาศัยหลักการทำงานของกล้ามเนื้อแบบ Stretch-Shortening Cycle (SSC) โดยกล้ามเนื้อจะมีการยืดยาวออก (Eccentric) แล้วตามด้วยการหดตัวสั้นเข้า (Concentric) อย่างทันที ซึ่งทำให้เกิดกำลังของกล้ามเนื้อ (Muscle power)
2. กำลังของกล้ามเนื้อ (Muscle power) คือ ความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดแรงมากที่สุดในระยะเวลาอันสั้น ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ
2.1 กำลังสูงสุด (Maximum power) เป็นการออกแรงหดตัวสูงสุดด้วยความรวดเร็วเพียงครั้งเดียว พบได้ในกีฬาประเภททุ่มน้ำหนัก / พุ่งแหลน / ขว้างจักร / ยกน้ำหนัก
2.2 กำลังความเร็ว (Power speed) เป็นการออกแรงหดตัวเกือบสูงสุดด้วยความเร็วสูงสุด พบได้ในกีฬาที่จะต้องเริ่มต้นออกตัวในการวิ่ง
2.3 กำลังความอดทน (Power endurance) เป็นการออกแรงหดตัวปานกลางถึงมากอย่างต่อเนื่องด้วยความเร็ว และมีการทำซ้ำบ่อยครั้ง พบได้ในกีฬาที่ต้องกระโดด / ตบบอล / เสิร์ฟบอล
3. ประโยชน์ของการฝึกแบบ Plyometrics
3.1 เพิ่มประสิทธิภาพกำลังความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการกระโดดในแนวดิ่ง (Vertical jump) มีความสำคัญกับกีฬาประเภทวอลเลย์บอล / บาสเกตบอล / ฟุตบอล / กระโดดสูง
3.3 เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา
3.4 เพิ่มอัตราเร่งความเร็วในการวิ่ง มีความสำคัญกับกีฬาประเภทฟุตบอล / บาสเกตบอล
3.5 เพิ่มความเร็วในการเคลื่อนที่
4. รูปแบบการฝึกแบบ Plyometrics ได้แก่
4.1 กระโดดบนพื้น
4.2 กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง
4.3 กระโดดขึ้นลงกล่องหรือม้ากระโดดที่มีความสูง
4.4 กระโดดข้ามรั่วที่มีความสูง
4.5 การใช้ลูก medicine ball เพื่อฝึกร่างกายส่วนบน
5. การฝึก Plyometrics “ไม่เหมาะ” กับการนำไปใช้กับนักกีฬาดังต่อไปนี้
5.1 นักกีฬาที่ยังไม่มีประสบการณ์และไม่เคยฝึกความแข็งแรงมาก่อน
5.2 นักกีฬาที่ยังไม่มีพื้นฐานความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
5.3 นักกีฬาที่ยังปฏิบัติท่าทางหรือเทคนิคในการฝึกได้ไม่ถูกต้อง
5.4 นักกีฬาที่กลับมาจากการพักฟื้นหลังจากได้รับบาดเจ็บ
แฟจเพจท่านใดสนใจอยากเริ่มต้นศึกษากายภาพบำบัด แอดมินอยากแนะนำหนังสือชื่อ "ปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ การบำบัดรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู" ซึ่งแอดมินกำลังเปิดสั่งจองอยู่นะครับ
https://www.facebook.com/sahavate/photos/a.902459086509367/4958146587607243/
กายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การกีฬาโดย Sahavate
Facebook: Sahavate (
https://www.facebook.com/sahavate
)
Facebook group:
https://www.facebook.com/groups/sahavatefc
Line OpenChat: Sahavate (
https://bit.ly/3jQG5Eb
)
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย