20 มี.ค. 2022 เวลา 15:09 • ท่องเที่ยว
เที่ยวอุบล ชมผ้าค่ะ …..
พิพิธภัณฑ์​คำปุน
เป็นพิพิธภัณฑ์​ส่วนตัว จัดเก็บผ้าไทยประจำตระกูลของคุณยายคำปุน หลานสาวเจ้าเมืองยโสธร เป็นเจ้านายชั้นสูงในเมืองอุบลราชธานี สืบทอดฝีมือทอผ้ากันมาถึง 4 ชั่วอายุคน ขณะนี้ เป็นทายาทรุ่นที่ 3 ที่เข้ามาดูแล คือ
คุณมีชัย แต้สุจริยา ซึ่งเป็นผู้สร้างพิพิธภัณฑ์
คำปุน และเป็นผู้คิดค้นการสร้างผ้ากาบบัวขึ้นมาเมื่อปี 2543 อันเป็นการผสมผสานเทคนิกต่างในผ้าหนึ่งผืนที่มีลักษณะจำเพาะ มีลักษณะพิเศษ 4 อย่างในผ้าผืนเดียวจึงจะเรียกผ้ากาบบัว คือ
1.ไหมเส้นยืนมีสองสีเป็นอย่างน้อย
2.เป็นผ้ามัดหมี่
3.มีการทอยกไข่ปลา และ
4.มีไหมหางกระรอกทอในผืน....
การสืบสานงานผ้าทอโบราณ เริ่มมาจากการซึมซับงานทอผ้ามาตั้งแต่วัยเยาว์ งานทอผ้าบ้านคำปุนที่สืบสานมากว่า 4 ชั่วอายุคน มุมมองของคุณมีชัยที่มองว่าอยากปรับผ้าที่ท่านเห็นและคุ้นเคยมาตั้งแต่ในวัยเด็ก นำมาปรับให้เข้ากับยุคสมัย ให้เข้ากับความนิยมของตลาด เพราะเทรนด์ของแฟชั่นเปลี่ยนตลอดเวลา และการทอผ้าไม่ได้มีเทคนิคเดียว มีทั้งผ้าปูมหรือมัดหมี่ ผ้าซิ่นทิวมุก ซึ่งยกทางเส้นยืน ถือเป็นผ้าโบราณของเจ้านายชั้นสูงแห่งเมืองอุบลราชธานี ผ้าทอบ้านคำปูน จะมีโครงสร้างของผ้า สี และจังหวะของลวดลายผ้าที่มีควมงามเฉพาะ โดยเฉพาะผ้ากาบบัว ที่มีความสัญทางจิตใจ มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เป็นผ้าทอที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒยธรรมของชาติในปี พ.ศ.2557
น้องที่พาชมพิพิธภัณฑ์​สอนให้ดูจนดูออก 😀...
ตอนนี้งานทอผ้าไหมแบบไทยโบราณ ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การเตรียมเส้นใยไหม การย้อมเส้นใยไหมแบบธรรมชาติ เช่น สีเหลืองจากไม้เข หรือจากแก่นขนุน สีแดงอมม่วงจากครั่ง สีดำมะเกลือ ขั้นตอนการทำ ทำด้วยมือทั้งหมดตั้งแต่เขียนลาย แกะลาย มัด ย้อม ทอด้วนเทคนิคที่ซับซ้อนมากมาย ในพิพิธภัณฑ์จะได้ชมผ้ามัดหมี่โบราณที่เป็นมรดกมาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณแม่ของคุณยายคำปุน ทั้งผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าตีนจก ผ้ายกไหมเงิน ไหมทอง
ตอนนี้งานเหล่านี้ หาผู้สืบต่อยากเต็มที การสืบสานต้องใช้ทั้งใจรัก และอดทน
ผ้ากาบบัวหนึ่งผืนใช้เวลาหนึ่งเดือนในการทอ ผ้าบางประเภท ทั้งปีจะทอได้แค่ 4 ผืน ผ้ายกไหมเงินหนึ่งผืนใช้เวลาทอสามเดือนครึ่ง ผ้าบางผืนใช้เวลาทอ 3 ปี 5 ปี ทอได้ผ้าผืนเดียว
...เส้นไหมดิ้นทอง จะใช้ทองคำเปลวรีดแล้วดึงเข้ากับเส้นไหม
ราคาผ้า จึงหลากหลาย ตั้งแต่หลักครึ่งหมื่น ไปจนถึงหลักแสน และหลายแสน....ผ้าแทบทุกชิ้นคือผืนเดียว ไม่มีซ้ำ เพราะแม้การย้อม ถ้าย้อมต่างเวลา สีอาจได้ต่างกัน สีดำมะเหลือ ถ้าแดดแรงได้สีดำเข้ม ถ้าแดดอ่อนได้สีน้ำตาล.... แม้แต่การย้อมเพื่อให้ได้ผ้ามีสีที่เสมอกันทั้งผืนก็ไม่ง่ายเลย
คนทอเป็นเหลือน้อยเต็มทีและไม่มีใครมาสืบทอดวิชาต่อ ช่างฝีมือทอผ้าหายากขึ้น ทายาทของคุณยายที่สืบทอดงานผ้าในตอนนี้ก็ไม่มีทายาทมาสืบต่อ
ตอนนี้เท่าที่สอบถามจากน้องๆที่ทำงานอยู่ ช่างฝีมือทอผ้าเหลือน้อยลง เทคนิกการย้อม การมัดย้อม การทอ เป็นฝีมือช่างชั้นครูที่หาผู้สืบต่อยากมาก เปิดสอนฟรีก็ยังไม่มีคนมาเรียน ทายาทที่จะสืบสานงานผ้าต่อผ่านสายโลหิตก็ไม่มี ตอนนี้ผู้ที่จะสืบทอดสมบัติแผ่นดินในศาสสตร์ศิลปะผ้าไทยโบราณแขนงนี้ไว้ก็มองเห็นยากเต็มทีค่ะ ....
โดยส่วนตัว ตอนเด็กๆจำภาพของยายปลูกหม่อน เลี้ยงไหมได้ ปลูกหม่อนเอง เลี้ยงไหมเอง สาวไหม มัดหมี่ ย้อม ไปจนถึงทอผ้าใช้เองในครอบครัว นี่คือวัฒนธรรมท้องถิ่นของคนอีสานค่ะ ตอนเด็กต้องไปเก็บใบหม่อนมาให้ยาย เอาไปเลี้ยงตัวไหม นั่งดูยายสาวไหม ทุกขั้นตอนไปจนถึงการทอผ้ามาเป็นผืน เพื่อใช้สอย และใช้เป็นของขวัญในเวลาสำคัญ เช่นการรับไหว้วันแต่งงานตามธรรมเนียม จะมอบผ้าไหมเป็นของกำนัลให้ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้หญิงอีสานสมัยกาอน ทอผ้า ทอเสื่อใช้เองเป็น เราเองตอนเด็กๆก็ได้เห็นแม่ทอผ้า ทอเสื่อใช้สอยในบ้าน....
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน ธรรมเนียมปฏิบัติหรือความนิยมบางอย่างก็ปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน.. ลูกสาวแม่เลยทอผ้าทอเสื่อไม่เป็น 😅... ได้แค่คุ้ยเคยกว่าคนที่ไม่เคยเห็นแค่นั้นเอง
1
ผ้ากาบบัว ผืนนี้จากบ้านคำปุน….ของแท้แน่นอน…เพิ่งรู้จัก ผืนนี้ ผืนแรกในชีวิตค่ะ
ผ้าไหมมัดหมี่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา