23 มี.ค. 2022 เวลา 14:15 • ข่าวรอบโลก
รวมสิบอุบัติเหตุเครื่องบินตกสะท้านโลก
การเดินทางทางอากาศด้วยเครื่องบินโดยสารเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดถ้าเทียบกับการโดยสารรถยนต์ในระยะทางที่เท่ากัน เที่ยวบินพาณิชย์จะมีความปลอดภัยมากกว่าถึง 25 เท่า
1
การศึกษาสถิติการบินในสหรัฐอเมริกาพบว่า โดยเฉลี่ยผู้โดยสารต้องเดินทางด้วยเครื่องบินมากถึง 5.3 ล้านครั้ง ถึงจะประสบอุบัติเหตุสักครั้ง แม้แต่ผู้โดยสารที่บินบ่อยที่สุดก็แทบจะไม่มีใครบินได้เกินกว่า 20,000 เที่ยวบิน สถิติการเกิดอุบัติเหตุนั้นต่ำจนถึงขนาดที่ว่า คุณต้องนั่งเครื่องบินนาน 14,000 ปี กว่าจะเจอเข้ากับอุบัติเหตุ
สายการบิน และบริษัทผู้ผลิตอากาศยานโดยสารบอกตรงกันว่า บนเครื่องบินนั้นปลอดภัยเท่ากันทุกที่ แต่จากการวิเคราะห์โดยนิตยสาร Popular Mechanics พบว่า ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุนั้น ที่นั่งท้ายเครื่องจะปลอดภัยมากที่สุด
ในปี ค.ศ.2007 นิตยสารดังกล่าวได้ศึกษาอุบัติเหตุเครื่องบินตกในสหรัฐอเมริกาทุกเหตุการณ์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1971 เป็นต้นมา โดยได้ข้อสรุปว่า ผู้โดยสารที่นั่งในตำแหน่งท้ายเครื่อง มีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด นั่นก็คือร้อยละ 69 ขณะที่ผู้โดยสารที่นั่งใกล้กับปีกของเครื่องบิน มีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 56 ส่วนผู้โดยสารที่นั่งแถวหน้ามีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 49
การเดินทางทางอากาศด้วยเครื่องบินโดยสาร นับเป็นวิธีการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด แต่ในความเป็นจริงตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกและกลายเป็นอุบัติภัยครั้งใหญ่หลายครั้งที่เกี่ยวข้องกับเที่ยวบินพาณิชย์ นับตั้งแต่การเดินทางทางอากาศถือกำเนิดขึ้น
เมื่อการเดินทางโดยเครื่องบินขยายตัว และความสามารถในการรองรับเที่ยวบินเพิ่มขึ้น ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน อุบัติเหตุร้ายแรงทางอากาศในแต่ละครั้งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
นำไปสู่การพัฒนาเทคนิคและมาตรฐานใหม่ด้านความปลอดภัยและเทคโนโลยีในการบิน ต่อไปนี้คืออุบัติเหตุที่กลายเป็นภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุดทางการบิน ไม่ว่าจะเกิดจากความล้มเหลวของกลไก ความผิดพลาดของมนุษย์ หรือสภาพภูมิอากาศ นำมาซึ่งความสูญเสียที่ไม่อาจกลับคืนมาได้
◆ Tenerife Airport Disaster (1977)
หนึ่งในภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งโชคร้าย จากการชนกันของเครื่องบินโดยสารขนาดยักษ์โบอิ้ง 747 จนระเบิดสนั่นกลางรันเวย์ในสนามบิน Gran Canaria ประเทศสเปน
1
เนื่องจากสาเหตุหมอกลงหนาทึบและนักบินของเครื่อง KLM Flight 4805 ซึ่งไม่ยอมรอฟังคำสั่งของหอบังคับการบินระหว่างการเตรียมบินขึ้นท่ามกลางสภาพอากาศที่เลวร้าย การชนกันอย่างรุนแรงของเครื่องบินโบอิ้ง 747 ทั้งสองลำ
ส่งผลให้เที่ยวบินจำนวนมากต้องเปลี่ยนเส้นทางไปยังสนามบินเตเนริเฟ ความโชคร้ายที่ก่อให้เกิดหายนะในครั้งนี้ เนื่องจาก KLM Flight 4805 กำลังแทกซี่ออกไปตั้งลำแล้วทะยานขึ้นจากรันเวย์
1
โดยเครื่อง 747 Pan Am Flight 1736 ที่ร่อนลงจอดแล้ว กำลังวิ่งอยู่ใกล้กับช่องทางแยกบนรันเวย์หมายเลข C4 และขวางทางวิ่ง ในขณะที่เครื่อง KLM กำลังทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าด้วยความเร็วกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จำนวนผู้โดยสารที่เสียชีวิตบนเครื่องทั้งสองลำมากถึง 583 คน มีเพียง 61 คน ในเครื่อง 747 Pan Am เท่านั้นที่รอดชีวิต
◆ Japan Airlines Flight 123 (1985)
12 สิงหาคม ปี ค.ศ.1985 เครื่องบินโดยสาร Boeing 747-100 SR-46 (B747 SR-46) Flight 123 ซึ่งเป็นเครื่อง 747 รุ่นลำตัวสั้นแบบพิเศษของสายการบิน Japan Airline สำหรับบินเดินทางภายในประเทศโดยเฉพาะ (ตัวเครื่องถูกออกแบบให้มีที่นั่ง 510 ที่นั่ง) JAL Flight 123 บินขึ้นจากสนามบินฮาเนดะโตเกียวเพื่อมุ่งตรงไปยังท่าอากาศยานโอซากา เวลา 18.24 น.
หลังจากบินขึ้นจากสนามบินฮาเนดะไปได้แค่เพียง 12 นาที และตัวเครื่องกำลังไต่ระดับอยู่ที่ความสูง 23,900 ฟุต ที่ความเร็วกว่า 300 นอตต่อชั่วโมง หรือ 555.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ขณะที่เครื่อง Boeing 747 SR-46 ลำนี้กำลังไต่ระดับขึ้นสู่ความสูงของเพดานบินเดินทางไปที่ 38,000 ฟุต ซึ่งเป็นเพดานบินปกติของเครื่องบินโดยสารทั่วไป เกิดการฉีกขาดของแพนหางดิ่ง ซึ่งเกิดจากรอยครูดใต้ท้องในส่วนของใต้แพนหางดิ่งจากการร่อนลงด้วยมุมที่ผิดปกติ การซ่อมแซมที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้เมื่อใช้งานเครื่องบินต่อไปเรื่อยๆ
4
บริเวณที่เคยเสียหายเกิดแรงเครียดอย่างต่อเนื่องจากแรงดันของระบบปรับแรงดันอัตโนมัติ การฉีกขาดที่รุนแรงได้ตัดท่อของระบบไฮดรอลิกที่ใช้สำหรับบังคับทิศทางการบินส่วนหาง เครื่อง Boeing 747-100 SR46 สูญเสียการควบคุมขณะบินอยู่เหนือพื้น ที่ระยะสูง 7.5 กิโลเมตร!
SR46 บินด้วยลักษณะและอาการที่ผิดปกติอย่างร้ายแรง ตัวเครื่องส่ายไปมาด้วยมุมบินที่ผิดปกติหรือ Dutch Roll ตามมาด้วยการเสียระยะความสูง หรือการร่วงหล่นอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่กัปตันและนักบินที่สองพยายามประคองเครื่องอย่างสุดความสามารถ เครื่องบิน 747 Japan Airline ไฟลต์ 123 ลำยักษ์พยายามเชิดหัวขึ้น แล้วปักหัวลงด้วยมุมที่ชันอย่างผิดปกติหลายครั้ง จากความพยายามในการแก้สถานการณ์ฉุกเฉินของนักบินทั้งสองนาย ซึ่งได้กลายเป็นความสิ้นหวังในเวลาต่อมา Boeing 747 มีระบบไฮดรอลิก 4 ระบบ ทำงานเป็นอิสระแยกจากกัน หากมีระบบใดระบบหนึ่งเกิดความผิดพลาดหรือล้มเหลว นักบินจะยังสามารถควบคุมเครื่องบินต่อไปได้
2
โดยปกติระบบไฮดรอลิกของเครื่องจะไม่ติดตั้งอยู่รวมกัน แต่เนื่องจากส่วนหางของเครื่อง 747 มีพื้นที่จำกัด ทั้ง 4 ระบบ จึงมารวมกันหลังแผงกั้นปรับความดันอากาศท้าย ใกล้จุดที่แพนหางดิ่งเชื่อมติดกับส่วนท้ายของลำตัว
การระเบิดจากแผงกั้นแรงดันที่เสียหายส่งผลให้แพนหางดิ่งหลุดปลิวไปในอากาศ ท่อไอดรอลิกทั้ง 4 ท่อถูกแรงกระชากจนฉีกขาดออกจากกันทั้งหมด น้ำมันไฮดรอลิกไหลออกมาจากแรงดันของปั๊ม เมื่อของเหลวหล่อลื่น หรือน้ำมันไฮดรอลิกรั่วออกมาจนหมด
นักบินก็ไม่สามารถขยับปีกเล็กแก้อาการเอียงบนปีกเครื่องบินได้ ทางเลือกที่เหลืออยู่แค่ทางเดียวก็คือ ใช้การควบคุมแรงขับดันจากเครื่องยนต์ เพื่อทำให้เครื่องสามารถบินอยู่ในอากาศได้ เครื่องบินสั่นสะท้านอย่างต่อเนื่อง จนลดระดับลงมาที่ความสูง 6,600 ฟุต ความเร็วลดลงเหลือเพียง 108 นอตต่อชั่วโมง
นักบินทั้งสองนายรวมถึงวิศวกรการบินอีก 1 นาย พยายามควบคุมเครื่องบินโดยใช้กำลังของเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนทั้ง 4 ตัว จนสามารถไต่ระดับความสูงไปที่ 13,400 ฟุต ด้วยมุมปะทะ หรือ Angle Of Attack มากถึง 39 องศา
1
หลังจากนั้นตัวเครื่องได้ลดระดับความสูงเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อเวลา 18.56 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่อง Boeing 747 SR-46 ตกกระแทกหุบเขา และไถลไปกับเนินเขาจนระเบิดลุกเป็นไฟ ผู้โดยสารและลูกเรือรวม 519 คนเสียชีวิตทันที
การบินแบบไร้ทิศทางสิ้นสุดลงที่ภูเขาโอสึตากะ ตัวเครื่องได้พุ่งเข้าชนเนินเขาอย่างรุนแรงจนแตกกระจัดกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และคร่าชีวิตของคนบนเครื่องเกือบทั้งหมด เหตุการณ์สุดสลดดังกล่าวนั้นมีผู้รอดชีวิตราวปาฏิหาริย์เพียงแค่ 4 คนเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในผู้ที่รอดชีวิตก็คือ แอร์โฮสเตสสาวชื่อ ยูมิ โอชิอาอิ การตกกระแทกเข้ากับภูเขาด้วยความเร็วสูง ทำให้โครงสร้างของเครื่อง 747 ทั้งลำแหลกยับ ชิ้นส่วนของเครื่องกระจัดกระจายไปทั่วเนินเขาโอสึตากะ
◆ Charkhi Dadri Mid-Air Collision (1996)
Charkhi Dadri เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ทางตะวันตกของกรุงนิวเดลี ซึ่งกลายเป็นสถานที่เกิดอุบัติเหตุทางอากาศครั้งร้ายแรง เนื่องจากการชนกันกลางอากาศระหว่างเครื่องบินโดยสารของสายการบิน Saudi Arabian Airlines Flight 763 และ Kazakhstan Airlines Flight 1907 ยังคงเป็นหายนะภัยชนกันกลางอากาศที่เลวร้ายที่สุดในปัจจุบัน
การชนกันเกิดขึ้นไม่นาน หลังจากที่เที่ยวบิน 763 ของซาอุดีอาระเบีย บินขึ้นจากสนามบินนานาชาตินิวเดลี ในขณะที่เที่ยวบิน 1907 ของคาซัคสถานก็พร้อมสำหรับร่อนลงจอด
อุบัติเหตุร้างแรงดังกล่าวเป็นผลมาจากทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ไม่ดีของนักบินคาซัคสถานและการไม่มีเรดาร์ตรวจการณ์รองรับที่สนามบินนานาชาติอินทิราคานธี เส้นทางการบินของเครื่องบินทั้งสองลำจึงตัดกันอย่างไม่ได้จงใจ และเนื่องจากความเร็วและเมฆที่ค่อนข้างหนาทึบ ทำให้นักบินบนเครื่องทั้งสองลำไม่สามารถบินหลบหลีกเพื่อป้องกันการชนกันได้ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 349 คน
2
◆ Turkish Airlines Flight 981 (1974)
เครื่องบินโดยสาร McDonnell Douglas DC-10 เที่ยวบินที่ 981 ของสายการบินเตอร์กิชแอร์ไลน์เกิดอุบัติเหตุตกนอกกรุงปารีส เหตุร้ายดังกล่าวเกิดจากข้อบกพร่องในการออกแบบเครื่องบินและความล้มเหลวของผู้จัดการสัมภาระในสนามบินโมร็อกโก การอ่านและทำความเข้าใจคำแนะนำที่ให้ไว้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาตุรกีอย่างไม่ถูกต้อง
1
ระหว่างการล็อกตำแหน่งฝาปิดห้องเก็บสัมภาระของ DC-10 ที่ทำให้เกิดความผิดพลาดร้ายแรง เป็นผลให้สลักของช่องเก็บของด้านหลังหลุดและเปิดออกระหว่างการบินที่ระดับความสูง การหลุดออกของฝาปิดห้องเก็บสัมภาระ ทำให้แรงดันอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันที เกิดการบีบอัดอย่างรวดเร็วจนทำให้สายเคเบิลที่ใช้บังคับทิศทางการบินขาดออกจากกัน
1
ส่งผลให้นักบินไม่สามารถควบคุมทิศทางของเครื่องบินได้ McDonnell Douglas DC-10 ตกจากท้องฟ้าลงสู่ป่าใน Ermonville นอกกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คร่าชีวิตลูกเรือและผู้โดยสารหมดทั้งลำรวม 346 คน
◆ American Airlines Flight 191 (1979)
อุบัติเหตุจากการบินขึ้น หรือ Take-off ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ.1979 เครื่องบินโดยสาร McDonnell Douglas DC-10-10 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 191 ขณะทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติชิคาโก เพื่อมุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานลอสแอนเจลิส
ในระหว่างการยกตัวขึ้นจากรัยเวย์ เครื่องยนต์หมายเลข 1 และชิ้นส่วนไพลอน ได้หลุดออกจากจุดยึดบริเวณใต้ปีกที่ระดับความสูง 300 ฟุตเหนือพื้นรันเวย์ เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนดังกล่าวตกใส่รันเวย์
ส่วนเครื่อง DC-10 ได้เลี้ยวไปทางซ้ายในลักษณะมุมบินที่ตั้งฉากกับพื้นดิน และหมุนตัวจนปีกทำมุมที่ผิดปกติ หลังจากนั้นจึงตกกระแทกกับพื้นดินที่ระยะทาง 1,435 เมตร จากปลายทางวิ่ง ผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่อง McDonnell Douglas DC-10 จำนวน 271 คน เสียชีวิตทั้งหมด อุบัติเหตุร้ายแรงดังกล่าวยังทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับจุดตกของเครื่องบินเสียชีวิตไปอีก 2 คน
◆ Air India Flight 855 (1978)
ในวันขึ้นปีใหม่ที่ 1 มกราคม ปี ค.ศ.1978 เครื่องบิน Boeing 747 ของสายการบินแอร์อินเดีย เที่ยวบินที่ 855 ออกเดินทางจากอินเดียสู่ดูไบ โดยขึ้นบินจากสนามบินเมืองซานตาครูซในมุมไบ เครื่อง 747 ที่ใช้เดินทางขนส่งผู้โดยสารสำหรับเที่ยวบินนี้ อันที่จริงแล้วเป็นเครื่องบิน Boeing 747 ลำแรกที่ซื้อโดยสายการบินแอร์อินเดียในปี 1971
น่าเศร้าที่เที่ยวบินดังกล่าวไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง 747 Air India Flight 855 ตกในทะเลอาหรับ นอกชายฝั่งของเมืองมุมไบ เพียงไม่กี่นาทีหลังจากทะยานขึ้นจากรันเวย์
ภัยพิบัติดังกล่าวเกิดขึ้นจากการทำงานผิดพลาดของอุปกรณ์ทางการบินและความล้มเหลวของนักบินในการตอบสนองอย่างเร่งด่วนและเหมาะสม เป็นผลมาจากการบิดเบือนเชิงพื้นที่ และไม่สามารถตรวจสอบการอ่านเครื่องมือ AI ด้วยขอบฟ้าเสมือนจริง เนื่องจากความมืดเหนือท้องทะเล (นักบิน บินหลงฟ้า) ผู้โดยสารทั้งหมด 213 คนเสียชีวิตในอุบัติเหตุการบินครั้งใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศอินเดีย
◆ Air India Express Flight 812 (2010)
1
เครื่องบิน Boeing 737-800 ของสายการบิน Air India Express Flight 812 เป็นอุบัติเหตุการบินที่ร้ายแรงที่สุดติดอันดับสาม เกิดขึ้นบนแผ่นดินของประเทศอินเดีย
1
เมื่อเครื่องบิน Boeing 737-800 ของ Air India Express กำลังบินเดินทางจากดูไบไปยังท่าอากาศยานในมังกาลอร์ สนามบินมังกาลอร์เป็นเพียงหนึ่งในสามของสนามบินในประเทศที่มีทางวิ่งบนรันเวย์ค่อนข้างจำกัด ซึ่งหมายความว่าความยาวของรันเวย์มีไม่มากเท่าที่ควร
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งเป็นเนินเขาสูงชันล้อมรอบ โดยมีทางลาดลงอย่างกะทันหัน หรือช่องเขาที่ปลายด้านหนึ่งของรันเวย์ การนำทางลงจอดต้องใช้ความแม่นยำอย่างมาก
ในกรณีนี้ นักบินของเครื่องบิน Boeing 737-800 คำนวณระยะทางการร่อนลงจอดผิดพลาด และลงจอดเกินจุดทัชดาว์นที่ปลอดภัย ในขณะที่ทำการบินร่อนลงบนรันเวย์ระยะสั้นที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เครื่องบินพุ่งผ่านรันเวย์ และตกจากหน้าผาลงสู่พื้นดินด้านล่าง ทำให้เครื่องบินเสียหายอย่างยับเยินและเกิดไฟไหม้ตามมา อุบัติเหตุในครั้งนี้ทำให้ชีวิต 158 คนบนเครื่องต้องสูญเสียไป โดยมีผู้รอดชีวิตเพียง 8 คนเท่านั้น
◆American Airlines Flight 587 (2001)
ช่วงเช้าของวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.2001 เครื่อง Airbus A300 ของสายการบิน American Airlines พร้อมผู้โดยสาร 251 คน และลูกเรืออีก 9 คน ทะยานขึ้นจากสนามบินนานาชาติเคนเนดี นครนิวยอร์ก มุ่งหน้าสู่สาธารณรัฐโดมินิกัน
1
หลังพ้นจากพื้นดินมาชั่วครู่ เครื่องก็แตกออกและตกลงสู่พื้น คร่าชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด พร้อมอีก 5 ชีวิตบนพื้นดิน นับเป็นอุบัติทางอากาศซึ่งร้ายแรงเป็นอันดับสองของสหรัฐฯ
เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน เพียงไม่นาน หลายคนจึงสงสัยว่าเป็นการก่อเหตุวินาศภัย แต่ไม่นาน ผู้เชี่ยวชาญก็เบนเข็มไปเพ่งเล็งยังเหตุอันน่าสงสัยยิ่งกว่า นั่นคือแนวภาวะอากาศปั่นป่วน จากเครื่องบินที่ใช้เส้นทางการบินเดียวกันก่อนหน้านี้
1
การตกของ American Airlines Flight 587 เป็นอุบัติเหตุทางการบินที่เลวร้ายที่สุดเป็นอันดับสองที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา Flight 587 เป็นเที่ยวบินที่บินเป็นประจำ ระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี นครนิวยอร์ก และท่าอากาศยานนานาชาติลาส อเมริการิกัส ซานโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สองสามเดือนหลังเหตุการณ์ 9/11 ทำให้เกิดความสงสัยในด้านการก่อการร้าย
แต่จากการสอบสวนพบว่า อุบัติเหตุร้ายแรงทางอากาศดังกล่าวเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของนักบิน แพนหางดิ่งและแพนหางระดับ ถูกใช้มากเกินไปเพื่อตอบสนองต่อความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นจากเที่ยวบินที่ออกเดินทางก่อนหน้านี้ไม่นาน
ผลจากการใช้หางเสือมากจนเกินไป ตัวกันโคลงแนวตั้งได้หลุดออกจากจุดยึด ทำให้เครื่องบินสูญเสียการบังคับควบคุม เครื่องยนต์หลุดออกจากจุดยึดที่ปีก ก่อนที่จะตกลงสู่พื้นในบริเวณชุมชน เครื่องบิน Airbus A300 ตกในย่านควีนส์ นิวยอร์ก คร่าชีวิตผู้คนบนเครื่องทั้งหมด 260 คน และอีก 5 คนที่อยู่บนพื้นดิน
◆ Malaysia Airlines Flight 370 (2014)
การหายสาบสูญไปอย่างลึกลับของ Boeing 777 เที่ยวบิน MH370 ของสายการบินมาเลย์เซีย แอร์ไลน์ กลายเป็นประเด็นพาดหัวข่าวในปี 2557 เนื่องจากเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ได้หายอย่างไร้ร่องรอยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2557 เที่ยวบินดังกล่าวอยู่ระหว่างเส้นทางการบินจากกัวลาลัมเปอร์ไปปักกิ่ง
เมื่อการควบคุมการจราจรทางอากาศขาดการติดต่อโดยไม่มีสัญญาณ หรือการแจ้งเตือนใดๆ หรือมีการบ่งชี้ปัญหาใดๆ ของเครื่อง Boeing 777 เที่ยวบิน MH370 แม้ว่าจะมีการค้นหาอย่างกว้างขวางโดยประเทศต่างๆ ทั่วมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ แต่ก็ไม่พบร่องรอยของเครื่องบินดังกล่าว
จนกระทั่งมีเศษซากของเครื่อง 777 ที่ปรากฏขึ้นบนชายหาดของเกาะเรอูนียง ซึ่งอยู่ห่างจากไซต์ค้นหาหลักไกลถึง 3,700 กม. ในเดือนกรกฎาคม 2015 มีการดำเนินการค้นหาอย่างกว้างขวาง ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเที่ยวบิน MH370 เปลี่ยนเส้นทางโดยไม่ทราบสาเหตุ และบินต่อไปจนน้ำมันหมด สันนิษฐานว่าทั้ง 239 คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมด
◆ China Airlines Flight 140 (1994)
วันที่ 26 เมษายน 1994 China Airline เที่ยวบินที่ 140 เดินทางจากสนามบินเจียงไคเชกสู่สนามบินนาโกยาประเทศญี่ปุ่น ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ
โดยเครื่องที่ใช้บินคือ Airbus A300B4-600R ซึ้งพัฒนาเทคโนโลยีมาจากรุ่นเดิมให้ทันสมัยขึ้นทำให้สามารถใช้นักบินแค่ 2 คน จากปกติต้องใช้ 3 หรือ 4 นาย เครื่อง Airbus A300B4-600R ได้เข้าสู่การเดินทางขั้นสุดท้าย ระหว่างนั้นเครื่องได้เจอสภาพอากาศแปรปรวนเล็กน้อย ก่อนลงจอดกัปตันปลด Auto pilot เพื่อให้นักบินที่ 2 ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการร่อนลงจอด
แต่เมื่อเครื่องลดระดับลง หัวเครื่องกลับเชิดขึ้นและไม่สามารถกดหัวกลับลงมาได้ ทำให้ Airbus A300 สูญเสียแรงยก กัปตันกลับมาควบคุมและตัดสินใจบินวน โดยทำการเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ แต่แทนที่จะบินวน เครื่อง Airbus A300 China Airlines Flight 140 กลับเชิดหัวขึ้นในมุมที่ชันมากจนเกินไป ตามมาด้วยอาการร่วงหล่น เครื่อง Airbus A300 กระแทกกับรันเวย์อย่างรุนแรง จนระเบิดลุกเป็นลูกไฟยักษ์ ผู้โดยสารและลูกเรือ 254 คนเสียชีวิต มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นจากผู้รอดชีวิตทั้งหมด 7 คน รวมทั้งเด็กชายอายุ 6 ขวบ และน้องชายอายุ 3 ขวบ
3
ความคืบหน้าเหตุเครื่องบินตกในจีน ทีมปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย พบเศษซากชิ้นส่วนเครื่องบินหลายชิ้นในวันนี้ (23 มีนาคม 2565) การปฏิบัติการค้นหาตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา เพื่อค้นหากล่องดำที่บันทึกข้อมูลการบิน
สื่อมวลชนในจีนรายงานโดยอ้างเจ้าหน้าที่กู้ภัยว่า เครื่องบินแตกเป็นเสี่ยงๆ และทำให้เกิดไฟไหม้ป่าไผ่ สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลจีน CCVT รายงานว่า ไม่พบผู้รอดชีวิตในอุบัติเหตุร้ายแรงทางอากาศดังกล่าว
บ่ายวันที่ 21 มีนาคม 2565 เครื่องบิน Boeing 737-800 ของสายการบิน ไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ เที่ยวบินในประเทศที่ MU5735 มีผู้โดยสาร 123 คน และลูกเรือ 9 คน รวม 132 คน ประสบอุบัติเหตุตกลงบนเทือกเขาสูง ในอำเภอเถิง มณฑลกว่างซี ทางใต้ของจีน
1
โดยตกจากเพดานบินในระดับสูงอย่างรวดเร็ว ระหว่างเดินทางออกจากเมืองคุนหมิง ในมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เมื่อเวลา 12.11 น. วันที่ 21 มีนาคม 2565 เพื่อไปยังเมืองกว่างโจ ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งอยู่ติดกับฮ่องกง
โดยมีกำหนดจะลงจอดที่ท่าอากาศยานกว่างโจในเวลา 14.05 น. เครื่องบินพุ่งดิ่งปักหัวลงด้วยความเร็วที่สูงมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดปกติอย่างร้ายแรง เหตุร้ายดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร ลองมาดูการสันนิษฐานความเป็นไปได้จากเพจอยากเป็นนักบิน https://www.facebook.com/thaipilotwannabe/
➽ “Airplane upset” การสูญเสียท่าทางการบิน
โดยปกติแล้ว เครื่องบินเป็นอากาศยานที่มีเสถียรภาพในการบินที่ดีมาก ถึงแม้ว่าเครื่องยนต์จะดับทั้งหมด
ก็จะยังสามารถร่อนต่อไปได้ จากแรงยกที่ยังคงมีอยู่จากปีกและความสูง (พลังงานศักย์) ที่เปลี่ยนเป็นความเร็ว (พลังงานจลน์) (ลองนึกภาพเวลาปล่อยเครื่องบินกระดาษลงมาจากที่สูงครับ เหมือนกันเลย ต่อให้เราปักหัวทิ่มลงแล้วปล่อย มันก็จะยังคงบินได้) ไม่ใช่ว่าพอไม่มีเครื่องยนต์แล้ว จะหล่นตุ้บเป็นก้อนหิน
ทีนี้อยู่ที่ว่าความสูงที่มีนั้นจะเปลี่ยนเป็นความเร็วให้สามารถร่อนไปได้ไกลแค่ไหน และจะสามารถประคองไปจนถึงสนามบิน หรือบริเวณที่ปลอดภัยจะลงจอดได้หรือไม่
การที่เครื่องบินจะดิ่งหัวทิ้งดิ่งลงมาเป็นดินสอได้นั้น น่าจะมีได้แค่เพียง 2 กรณีคือ
1.ปีกหลุดไปทั้งสองข้าง (อาจเกิดจากการระเบิด หรือมีแรง G ที่สูงมากๆ กระทำกับปีก ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ในเครื่องบินโดยสาร) ทำให้ไม่มีแรงยก และตกลงมาทั้งแบบนั้น
2.แพนบังคับทิศทาง (control surface) บังคับให้เครื่องบินอยู่ในท่าทางนั้น ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบเครื่องบิน หรือเกิดจากการบังคับของนักบิน ซึ่งโดยปกติแล้วนักบินจะได้รับการฝึกฝนการแก้ไขทางทางการบินที่ไม่ปกติ (Airplane upset recovery) กันอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว และจะไม่มีทางปล่อยให้เครื่องบินพุ่งลงมาแบบนั่นแน่นอน ยกเว้นจะจงใจ หรือระบบควบคุมการบินล็อกอยู่ในท่านั้น และไม่สามารถควบคุมได้จริงๆ
1
ซึ่งหากจะเทียบกับเคส 737Max ทั้งสองเคส ที่เกิดจากความผิดพลาดของระบบ MCAS ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานหลังจากเครื่องวิ่งขึ้น และท่าทางการตกไม่ได้พุ่งลงมาแบบนี้
อย่างไรก็ตาม เคสของ #MU5735 วันนี้นั้น ยังต้องอาศัยข้อมูลอีกหลายด้านเพื่อวิเคราะห์และสรุปถึงสาเหตุที่แท้จริงต่อไป ทางเพจอยากเป็นนักบิน ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับอุบัติเหตุในครั้งนี้ด้วยครับ.
4
โฆษณา