26 มี.ค. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ผลของสงครามต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองและเศรษฐกิจโลก
5
หลายคนกำลังหวั่นเกรงว่า สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโครงสร้างการเมืองและเศรษฐกิจโลกอย่างมีนัยยะสำคัญ
1
แต่แท้จริงแล้ว เมื่อมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ การที่สงครามส่งผลให้สังคมโลกเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดมาในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษย์
1
📌 ผลกระทบ 3 ประการจากสงครามในอดีต
โดยจากการศึกษาผลของสงครามที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้เห็นว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีอย่างน้อย 3 ประเด็นหลัก คือ ผลกระทบต่อการเปลี่ยนมือของมหาอำนาจโลก ผลกระทบต่อวิทยาการ และ ผลกระทบต่อระบอบเศรษฐกิจและแนวคิดการผลิต
3
ประเด็นแรก เป็นสิ่งที่น่าจะอยู่ในความนึกคิดของคนทั่วไปอยู่แล้ว นั่นคือ สงครามก่อให้เกิดการเปลี่ยนมือของมหาอำนาจโลก
3
ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา จักรวรรดิที่เรืองอำนาจครอบครองพื้นที่หรือมีอิทธิพลต่อดินแดนอย่างมีมาก มักจะเป็นประเทศที่ได้รับอานิสงค์จากการทำสงคราม
1
ทั้งอาณาจักรโรมัน (625 BC - AD 476เปอร์เซียโบราณ (550 BC – AD 651) มองโกล (AD 1206 – 1638) หรือ ) ออตโตมัน (AD 1300 – 1922) ล้วนมีช่วงเวลาแห่งกองทัพที่เกรียงไกร จนสามารถแพร่ขยายอาณาเขตไปได้อย่างไพศาล จนอาณาจักรเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในรากฐานและวัฒนธรรมของหลายพื้นที่ทั่วโลก
1
สหรัฐอเมริกาที่เป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกยุคปัจจุบันเอง ก็ได้รับประโยชน์จากสงครามเช่นกัน เนื่องจากตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาบอบช้ำจากสงครามน้อยกว่า ประเทศพันธมิตรในยุโรปและเอเชียอย่างมาก
1
จนมีส่วนสำคัญทำให้พวกเขาสามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกอย่างเต็มตัว แซงหน้าจักรวรรดิอังกฤษ
1
พร้อมกันนี้เงินดอลลาร์สหรัฐ ยังก้าวขึ้นมาเป็นเงินสกุลอันดับหนึ่งอย่างเต็มตัว เบียดเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษลงไปได้ หลังจากที่มีการตกลงผูกค่าเงินจากหลายประเทศเข้ากับสหรัฐฯ ที่เมือง Bretton Wood ในปี 1944
1
📌 ประเด็นที่สอง สงครามเป็นช่วงเวลาการเติบโตของวิทยาการ
มีสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของมนุษย์จำนวนมาก ถูกรังสรรค์ขึ้นมาด้วยเจตนาแห่งคุณงามความดีตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ก็มีสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอีกไม่น้อยที่เกิดขึ้นมาเบื้องหลังความขัดแย้งและซากปรักหักพังของสงคราม
3
นวัตกรรมอย่างคอมพิวเตอร์ เรดาห์ เครื่องบินเจ็ท ยาเพนนิซิลิน ดาวเทียม เป็นตัวอย่างของสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นมาจากความขัดแย้งของสงครามยุคใหม่
ยิ่งถ้าดูข้อมูลของสหรัฐฯ อ้างอิงตาม NBER จะยิ่งเห็นว่า สถิติการจดสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีของประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ในเวลา 30 ปี หลังจากมีการตั้งหน่วยงานเพื่อการวิจัยทางการทหารตอนสงครามโลกครั้งที่ 2
1
(ซึ่งหลายคนก็บอกว่า ตัวเลขนี้เมื่อมองอีกด้านแล้ว เป็นตัวเลขที่น่าเศร้า เพราะว่า เงินที่มาใช้กับการทหารสามารถนำไปใช้ วิจัยด้านอื่นได้เช่นกัน แต่ถ้าคิดในแง่ดีขึ้นมาหน่อย ก็เพราะว่า สงครามเป็นเรื่องเร่งด่วน จึงทำให้รัฐสนใจงานวิจัยมากขึ้น ถ้าเป็นภาวะปกติอาจจะไม่มีงบวิจัยเลยก็ได้)
📌 ประเด็นที่สาม คือ ผลของสงครามต่อการเปลี่ยนแปลงของระบอบเศรษฐกิจ
เหตุการณ์สงครามสำคัญครั้งหนึ่ง ที่หลายคนไม่ทราบว่า มีผลต่อวิถีการผลิตสินค้าและเศรษฐกิจของมนุษย์อย่างมาก คือ สงครามครูเสด (ปีค.ศ. 1095 – 1291)
2
เพราะว่า สงครามครั้งนี้ มีบทบาทสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงจากระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (feudalism) จนมาสู่การปกครองที่มีความเป็นรัฐชาติยุคใหม่
ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ มีลักษณะของการที่เจ้าผู้ครองที่ดิน อย่างขุนนางหรืออัศวิน จะอนุญาตให้ชาวบ้าน หรือบางที่จะเรียกว่า ข้าติดที่ดิน (Serf) เข้ามาอยู่อาศัย แต่ก็ต้องทำงานคอยตอบแทน
ซึ่งระบบนี้ ทำให้ยุโรปในสมัยนั้นมีระบบการผลิตแบบกึ่งยังชีพ แยกกันอยู่ และก็ผลิตกันอย่างพอใช้ในพื้นที่ของเจ้าที่ดินแต่ละคนเท่านั้นเป็นส่วนมาก
แต่หลังจากเกิดสงครามครูเสด เจ้าที่ดินจำนวนมากเสียชีวิตในสงคราม และสงครามก็ยังทำให้เกิดการค้าขายสินค้าระหว่างตะวันตกและตะวันออกมากขึ้น
มีความต้องการสินค้าอย่าง “ขนแกะ” ที่กระตุ้นให้เจ้าที่ดินที่เหลืออยู่ เริ่มทำการไล่ชาวบ้านออกไป เพราะ การเลี้ยงแกะนั้นกินพื้นที่อย่างมหาศาล ทำให้มีการเคลื่อนย้ายของชาวบ้านเข้าสู่เมืองใหญ่
เริ่มเปิดโลกแห่งการเดินเรือเพื่อไปสู่ตะวันออกโดยไม่ต้องผ่านพื้นที่ขัดแย้งกับอาณาจักรที่มีปัญหา และการเปลี่ยนโครงสร้างเหล่านี้ ก็เป็นพื้นฐานต่อมาสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมด้วย
📌 เทียบเคียงสงครามยูเครน-รัสเซีย ในสามประเด็นด้านบน
ในสงครามระหว่างยูเครน-รัสเซียครั้งนี้ ก็มีโอกาสเช่นกันที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในประเด็นข้างต้น
ในประเด็นแรกอย่างเรื่องการส่งผ่านของมหาอำนาจ แม้เราจะยังไม่เห็นว่า สหรัฐอเมริกาจะบอบช้ำจากสงครามครั้งนี้โดยตรงอย่างหนัก แต่ก็มีความพยายามมากขึ้นในการจะลดบทบาทของสหรัฐฯ ลงมา
โดยประเด็นสำคัญที่เกิดการถกเถียงกันในหลายวันที่ผ่านมา คือ การลดบทบาทของเงินดอลลาร์สหรัฐ ในเวทีการค้าโลกลง
ทั้งข่าวการตกลงกันระหว่างซาอุฯ - จีน ที่จะใช้เงินหยวนซื้อน้ำมัน หรือ รัสเซีย-อินเดีย ที่จะใช้เงินรูเบิล-รูปีซื้อขายกัน ล้วนทำให้เห็นว่า ประเทศเหล่านี้อยากลดบทบาทการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ
1
ซึ่งถ้าทำได้จริง จะเป็นการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ เพราะ ในโลกยุคปัจจุบัน สหรัฐฯ ไม่ได้ปกครองหรือแพร่อิทธิพลไปสู่ประเทศอื่นด้วยกองกำลังอาวุธเพียงอย่างเดียว เหมือนที่หลายอาณาจักรในอดีตเคยทำแล้ว
แต่บทบาทของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ก็เป็นอาวุธที่สำคัญยิ่งในการรักษาอำนาจของสหรัฐฯ ไว้คงเดิม
และในเมื่อสงครามครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในสมรภูมิทหาร แต่เกิดมาเกิดขึ้นในสมรภูมิการเงินแบบที่เป็นอยู่ ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะ ประเทศที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองไม่พ้องไปกับสหรัฐฯ ก็เลยต้องพยายามลดอำนาจของอาวุธนี้ของสหรัฐฯ ลง
1
นอกจากนี้ สงครามครั้งนี้ ก็จะเป็นตัวกระตุ้นวิทยาการที่จะมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสงคราม โดยเฉพาะ ปัญหาทางด้านพลังงานและปัญหาทางด้านระบบการเงิน
ในส่วนของปัญหาด้านพลังงาน วิกฤติสงครามยูเครนทำให้หลายชาติเริ่มหันมาเอาจริงเอาจริงกับพลังงานทางเลือก เช่น ประธานคณะกรรมมาธิการยุโรป (EC) กล่าวเอาไว้เมื่อไม่นานมานี้ มีใจความสำคัญว่า “พวกเขาต้องเป็นอิสระจากการพึ่งพาปิโตรเลียมจากรัสเซีย จึงจะเป็นอิสระอย่างแท้จริง และก็ต้องเร่งผ่านไปใช้พลังงานสะอาด”
ในส่วนของเทคโนโลยีระบบการเงิน เราก็เริ่มได้เห็นการพุ่งขึ้นมาของคริปโทเคอร์เรนซีและบล็อคเชน ที่ในตอนแรกเป้าหมายของมัน ก็คือ การขึ้นมาเป็นทางเลือกของระบอบการเงินแบบเก่าอยู่แล้ว
1
ซึ่งสงครามครั้งนี้ก็เป็นจุดสำคัญหนึ่งที่จะทดสอบเลยว่า เทคโนโลยีทางการเงินนี้ จะเติบโตขึ้นมาตีคู่หรือตีคู่มากับระบบการเงินแบบเก่าได้มากแค่ไหน
และในประเด็นสุดท้าย ในเรื่องของระบบเศรษฐกิจ เรื่องหนึ่งที่มีการพูดถึงกันในตอนนี้ คือ แนวคิดของโลกาภิวัตน์และการค้า ที่กำลังเข้าสู่ช่วงเสื่อมถอยหรือเปล่า?
1
และหลายคนก็เปรียบเทียบไปว่า ครั้งนี้เป็นการงัดข้อกันระหว่างสองขั้วอำนาจแนวคิดการปกครอง คือ ฝ่ายหนึ่งเชื่อในเรื่องการรวมศูนย์อำนาจมากกว่า และอีกฝ่ายเป็นขั้วฝั่งประชาธิปไตย ซึ่งก็เหมือนเป็น “สงครามเย็นครั้งที่ 2”
1
แต่ที่เปลี่ยนไปจากสงครามเย็นครั้งแรก คือ รอบนี้ฝั่งที่เชื่อเรื่องการรวมศูนย์อำนาจ มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและการค้ามากขึ้นกว่าครั้งก่อนมาก เป็นโรงงานแรงงานราคาประหยัดของโลก และก็มีการเติบโตของเศรษฐกิจรวดเร็วขึ้นมาต่อเนื่อง ทำให้ทางตะวันตกจะจัดการอะไร ก็ต้องคิดให้มากขึ้นกว่าครั้งก่อนมาก
1
และในสงครามครั้งนี้ ความระแวงระหว่างกันก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก ทำให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มกลับมาพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ จีนที่เริ่มกระบวนการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศมาสักพักแล้ว ก็น่าจะยิ่งเร่งการพึ่งพาตัวเองให้เร็วขึ้นอีก และก็สร้าง “ความรุ่งโรจน์ร่วมกัน” อย่างที่ประกาศออกมาก่อนหน้า
1
เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ หากใครมาบอกว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างที่เราพูดกันในตอนนี้ ก็อาจจะถูกว่าเป็นคนเพ้อเจ้อเป็นแน่ เพราะรถไฟของเศรษฐกิจโลกไม่กี่ปีก่อนยังดูจะเคลื่อนไปในทิศอื่นอยู่เลย
2
แต่ในตอนนี้เมื่อรางขบวนรถไฟเศรษฐกิจของโลกขบวนนี้ แสดงการปรับทิศทางแล้ว เราในฐานะสมาชิกของขบวนรถไฟนี้ ก็ต้องเตรียมรับมือและของจำเป็นเพื่อไปในทิศใหม่ด้วย ไม่งั้นแม้จะไม่ได้ตกขบวนลงมา ก็คงจะอาศัยในโครงสร้างแบบใหม่ที่อย่างยากลำบากด้วย…
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
เครดิตภาพ : John Trumbull via Architect of the Capitol

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา