26 มี.ค. 2022 เวลา 08:18 • สุขภาพ
โพแทสเซียม(Potassium) : K แร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อชีวิตของทุกคน
เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย
  • 1.
    ช่วยเรื่องสมดุลน้ำในร่างกาย (balances fluids)
  • 2.
    ช่วยเรื่องการทำงานของเซลล์ ระบบประสาท กล้ามเนื้อ
  • 3.
    ช่วยเรื่องการเต้นของหัวใจ
ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) พลังงาน 2,000 กิโลแคลลอรี่ = โพแทสเซียม 3,500 มิลลิกรัม
ค่าโพแทสเซียมในร่างกายปกติ 3.5-5 mEq/L (ผู้ใหญ่)
แหล่งอาหารที่พบโพแทสเซียมส่วนใหญ่จะเป็นผักและผลไม้
ผักและผลไม้ใน 1 ส่วนที่พบโพแทสเซียมในปริมาณสูง ( >200 mg.) ได้แก่ มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวสุก บรอกโคลีสุก ฟักทองสุก แครอท มะเขือเปราะสุก กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ทุเรียน ขนุน ลูกเกด ฝรั่ง ลูกพรุนแห้ง อะโวคาโด ถั่วเมล็ดแห้ง
ผักและผลไม้ใน 1 ส่วนที่พบโพแทสเซียมในปริมาณปานกลาง ( 100-200 mg.) ได้แก่ กะหล่ำปลีสุก ข้าวโพดอ่อนสุก คะน้าสุก ผักบุ้งสุก น้อยหน่า ชมพู่ ส้มโอ ละมุด ลิ้นจี่ องุ่น
ผักและผลไม้ใน 1 ส่วนที่พบโพแทสเซียมในปริมาณต่ำ ( <100 mg.) ได้แก่ ผักกาดขาวสุก บวบสุก ตำลึงสุก หัวไชเท้าสุก เงาะ แอ๊ปเปิ้ล สาลี่ มะม่วง สับปะรด มังคุด
การรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมอาจต้องระมัดระวังในผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น
ภาวะโพแทสเซียมผิดปกติ
  • Hypokalemia (K < 3.5 mEq/L) สาเหตุ ท้องเสีย, ไตขับออกมากเกินไป, พร่องแมกนีเซียม, renal losses ยา(insulin* caffeine ), alkalosis (เลือดด่าง), Hyperthyroidism อาการ เกี่ยวกับหัวใจ arrhythmias-หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ความดันเลือด, กล้ามเนื้ออัมพาต, Coma, เลือดด่าง
  • Hyperkalemia (K > 5 mEq/L) สาเหตุ มีปัญหาการขับออกจากร่างกาย, ยา( potassium sparing diuretics) acidosis-เลือดเป็นกรด, insulin deficiency, ไตวายเฉียบพลัน อาการ หัวใจเต้นเร็วแรง, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, อัมพฤกษ์ อัมพาต เลือดเป็นกรด
*insulin ช่วยรักษาและควบคุมระดับโพแทสเซียม ดึงโพแทสเซียมเข้าเซลล์ ในเลือด-นอกเซลล์โพแทสเซียมต่ำ
โฆษณา