31 มี.ค. 2022 เวลา 01:35 • สุขภาพ
"บรูซ วิลลิส" ตรวจพบอาการผิดปกติทางสมอง อะฟาเซีย (Aphasia) ขอยุติบทบาทนักแสดง
5
อะฟาเซีย (Aphasia) คือโรคอะไร อันตรายแค่ไหนมาทำความรู้จักกัน
9
วันนี้ (31 มี.ค.2565) อินสตาแกรมของครอบครัวได้โพสต์ภาพของ "บรูซ วิลลิส" พร้อมข้อความเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของพระเอกดังวัย 67 ปี ว่า "สำหรับแฟน ๆ ของ บรูซ เราในฐานะครอบครัวอยากจะแจ้งข่าวว่าขณะนี้ บรูซ กำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพ และเพิ่งจะตรวจพบว่าเขามีภาวะอะเฟเซีย ซึ่งจะมีผลต่อกลไกทางการรับรู้"
1
ด้วยผลของโรค บรูซได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ว่าเขาจำเป็นต้องยุติบทบาทอาชีพนักแสดง ซึ่งมีความหมายต่อเขามากเหลือเกิน"
อะเฟเซีย (Aphasia) เป็นอาการผิดปกติของการพูด ความเข้าใจภาษา พบมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่า "อัมพฤกษ์" หรือ "อัมพาต"
2
นอกจากจะมีปัญหาการอ่อนแรงของขาและแขนแล้ว อาจจะพบความผิดปกติของการพูด การออกเสียงพูด หรือความเข้าใจภาษาโดย มีลักษณะอาการ เช่น พูดไม่ได้ หรือพูดได้แต่ไม่สามารถเข้าใจภาษา
1
นอกจากโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากภาวะอุดตันจากลิ่มเลือด เส้นเลือดตีบ เส้นเลือดแตกจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอะเฟเซียเรายังพบอาการนี้ได้ ผู้ป่วยอุบัติเหตุทางสมอง (Head injury) เนื้องอกที่สมอง(1) ซึ่งบทความนี้จะอธิบายถึงบริเวณของสมองที่เกี่ยวข้องกับการพูดและการเข้าใจในภาษา และประเภทของอะเฟเซีย (Aphasia)
3
มาทำความเข้าใจการทำงานของสมองแต่ละซีก
สมองซีกซ้าย (Left dominant hemisphere)เป็นสมองซีกที่ควบคุมเกี่ยวกับภาษาและทักษะต่างๆของผู้ที่ถนัดข้างขวา แต่ไม่จำเป็นว่าผู้ที่ถนัดมือซ้ายจะมีสมองซีกขวาที่เด่นกว่าซีกซ้าย ส่วนใหญ่คนถนัดมือซ้ายมักจะมีสมองซีกซ้ายหรือทั้งสองข้างเด่น ถ้าผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพอยู่บริเวณสมองซีกซ้ายมักทำให้เกิดอาการผิดปกติในการใช้ภาษา (aphasia)(2,3)
2
สมองซีกขวา (Right non-dominant hemisphere) เป็นสมองซีกที่ควบคุมและเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวกับข้อมูลการรับรู้ในทิศทางต่างๆ (visual-spatial analysis) แสดงพฤติกรรมทางอารมณ์ ถ้าสมองซีกนี้ได้รับบาดเจ็บจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการจำตำแหน่งทิศทางไม่ได้ ไม่สนใจร่างกายด้านตรงข้าม (neglect)(2)
1
บริเวณสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพูดและการเข้าใจภาษา
2
Wernicke’sarea
สมองส่วนนี้อยู่บริเวณเหนือกกหูด้ายซ้าย หรือมีชื่อเรียกขอบเขตบนเปลือกสมองนี้ว่า Brodmann’s area 22 (ตามรูปที่ 1) บริเวณนี้ถูกค้นพบโดยนักประสาทวิทยาและจิตแพทย์ชาวเยอรมันที่ชื่อว่าคาร์ล เวอร์นิเก ซึ่งค้นพบว่าเมื่อบริเวณนี้ถูกทำลายจะทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) มีความบกพร่องของความเข้าใจภาษาและการพูด โดยผู้ป่วยได้ยินสิ่งที่คนอื่นพูดแต่ไม่สามารถเข้าใจความหมาย ผู้ป่วยพูดได้แต่คำที่พูดเป็นคำที่ไม่มีความหมาย (4,5)
Broca’s area
อยู่บริเวณ Brodmann’s area 44 และ 45 (ตามรูปที่ 1) ถูกค้นพบโดยนายแพทย์ชาวฝรั่งเศส ปอล โบรกา ถ้าบริเวณนี้ถูกทำลายจะทำให้สูญเสียการสื่อสารที่ออกมาเป็นคำพูด จะพูดได้ลำบาก พูดทวนคำไม่ได้ บอกชื่อสิ่งของไม่ได้ แต่ยังสามารถเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสารได้(4,5)
ประเภทของความผิดปกติของอะเฟเซีย มี 4 ประเภท ใหญ่ๆ
  • 1.
    มีปัญหาเรื่องการรับรู้เข้าใจในภาษา (Wernicke’s Aphasia)
  • 2.
    มีปัญหาเรื่องการแสดงออกทางภาษา แต่มีความเข้าใจในภาษาที่ปกติ (Broca’s Aphasia)
  • 3.
    มีปัญหาเรื่องการนึกคำพูด (Nominal Aphasia)
  • 4.
    มีปัญหาทั้งเรื่องการแสดงออกทางภาษาและความเข้าใจในภาษา (Global Aphasia)
2
1. มีปัญหาเรื่องการรับรู้เข้าใจในภาษา (Wernicke’s Aphasia)
ผู้ป่วยจะสามารถพูดได้คล่อง ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ไม่สามารถเข้าใจคำพูดนั้นๆได้ ยิ่งถ้าเป็นประโยคที่ซับซ้อนจะไม่เข้าใจมาก ไม่สามารถพูดตามได้เนื่องจากไม่เข้าใจในสิ่งที่พูดตาม ไม่สามารถเขียนหนังสือตามคำบอกได้ ในบางรายที่มีอาการน้อยสามารถอ่านได้แต่มีตกหล่นบางคำและถ้ามีอาการมากจะไม่สามารถอ่านหนังสือได้เลย(1)จะพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่เส้นเลือด Middle cerebral artery ที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองบริเวณ left superior temporal lobe
2
2. มีปัญหาเรื่องการแสดงออกทางภาษา แต่มีความเข้าใจในภาษาที่ปกติ (Broca’s Aphasia)
ผู้ป่วยสามารเข้าใจคำพูดของผู้อื่นได้ แต่พูดไม่ชัดและไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนที่ควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ทำให้ผู้ป่วยพูดไม่คล่อง(1)จะพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่เส้นเลือด Middle cerebral artery อยู่ในบริเวณสมองส่วนหน้าทางซีกซ้าย (left frontal lobe)(4)
1
3. มีปัญหาเรื่องการนึกคำพูด (Nominal Aphasia)
ผู้ป่วยนึกคิดคำศัพท์ที่จะพูดได้ยากลำบาก(Word finding difficulty)มักจะพูดอ้อม หรืออธิบายโดยใช้คำศัพท์อื่นแทนสิ่งที่พูด เช่น พูดว่า “อันที่ไว้ใส่ข้าว” แทนคำว่า “จาน” แต่ผู้ป่วยจะพูดคล่อง ชัดเจน ถูกหลักไวยากรณ์(1)มักพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่จุดเชื่อมระหว่างสมองส่วน temporal และ parietal area (4)(ตามรูปที่ 1)
1
4. มีปัญหาทั้งเรื่องการแสดงออกทางภาษาและความเข้าใจในภาษา (Global Aphasia)
ผู้ป่วยมีปัญหาทั้งเรื่องการพูดและการเข้าใจในภาษาในระดับที่ใกล้เคียงกัน โดยพบในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทั้งบริเวณ Wernicke’s area และ Broca’s area
เขาอาจจะใช้คำอื่นมาทดแทน คำที่นึกไม่ออก ซึ่งเรียกว่า Paraphasias โดยใช้คำที่คล้ายคลึงกันเพื่อเรียกแทน เช่น เรียกว่าขนมปังแทนข้าว หรือใช้คำว่าแมลงแทนกำลังแพง เพราะมีเสียงคล้ายกัน หรืออาจจะผสมคำขึ้นใหม่เองโดยไม่มีใครเข้าใจในบางครั้ง ภาวะเสียการสื่อความนี้อาจแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
1
1) Fluent หรือ Receptive aphasia ซึ่งอาจจะสามารถสื่อสารได้ในระดับหนึ่งแต่ใช้คำที่ไม่มีความหมาย คิดศัพท์ขึ้นมาเองโดยไม่สามารถเข้าใจได้ รวมถึงไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสารมาได้ แน่นอนว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้ไม่รู้ตัวว่าสื่อสารอะไรผิดออกไป
1
2) Non-Fluent หรือ Expressive aphasia ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะสามารถเข้าใจสิ่งที่สื่อสารได้ดี แต่ไม่สามารถเลือกคำที่มีในหัวเพื่อใช้สื่อสารได้ อาจจะสลับคำต่าง ๆ ในประโยค แต่ยังพอเดาความหมายได้ และแม้ว่าเราส่วนใหญ่จะเคยรู้สึกถึงอาการคล้าย ๆ กันนี้ เช่น อาการนึกคำศัพท์ที่จะพูดหรือใช้เรียกไม่ออก เรียกว่า ติดอยู่ที่ปาก (on the tip of a tongue) กับคำที่ไม่ค่อยได้ใช้บ่อย หรือลืมชื่อเพื่อนที่ห่างหายกันไปนานแล้วมาเจอโดยบังเอิญ แต่สำหรับผู้ป่วยภาวะเสียการสื่อความนั้น คำง่าย ๆ อย่างข้าวผัด ห้องน้ำ กลับเป็นเรื่องยากกว่าที่คุณคิด
ประเมินกันว่าแค่ในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวก็มีคนประสบภาวะนี้อยู่กว่า 1 ล้านคนและมีคนเป็นเพิ่มขึ้น 80,000 คนในทุก ๆ ปี แน่นอนว่าความผิดปกติที่เกิดกับสมองนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด แต่มักจะเกิดขึ้นตามหลังโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมอง โดย 2 ใน 3 ส่วนของคนที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตก (Stroke) จะประสบกับภาวะเสียการสื่อความนี้ มันจึงกลับมาที่พื้นฐานอีกครั้งว่า การรักษาตัวให้ไกลจากโรคเป็นลาภอันประเสริฐ เพราะแม้ว่าคุณจะรอดจากเส้นเลือดในสมองแตกได้ แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการหนักขนาดเป็นอัมพาตตลอดชีวิต คุณก็อาจจพูดกับใครไม่รู้เรื่องเนื่องจากเป็นอะฟาเซีย (Aphasia) ได้อยู่ดี และปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตสูงจนนำไปสู่เส้นเลือดแตกในสมองก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้คุณอาจจะประสบกับปัญหานี้ได้มากกว่าโรคจากพันธุกรรมอย่างพาร์กินสันด้วยซ้ำ
อีกกรณีหนึ่งที่ทำให้เกิด Aphasia ได้เช่นกัน โดยเป็น Aphasia ชนิด PPA หรือ Primary Progressive Aphasia ก็คือการเกิดความผิดปกติในระยะแรกเริ่มของโรคสมองเสื่อม (Dementia) ซึ่งจะมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับความสามารถในการจำหรือความสามารถทางความคิดลดลง โดย PPA จะเป็นสัญญาณแรกของภาวะความผิดปกตินี้
การรักษาภาวะเสียการสื่อความสามารถทำได้โดยอิงความสามารถของสมองซึ่งจะพัฒนาขึ้นมาทำงานทดแทนส่วนที่เสียไป สำหรับ Aphasia ซึ่งมักจะเกิดจากสมองส่วนโบรคา (Broca's area) และเวอร์นิเก (Wernicke's area) ผิดปกติ การฝึกหัดสื่อสารใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นอย่าง Speech Therapy จะสามารถกระตุ้นให้สมองส่วนอื่นเข้ามารับผิดชอบการสื่อสารและสื่อความอันเกี่ยวข้องกับภาษาได้ และเป็นการตอกย้ำให้คนส่วนใหญ่ที่ไม่เป็นภาวะนี้ได้เข้าใจว่า อาการเหล่านี้สามารถรักษาหรือทำให้ดีขึ้นได้ด้วยการสื่อสารอย่างเข้าใจ ไม่ใช่ทอดทิ้ง เพราะคนส่วนใหญ่ที่มีอาการเหล่านี้มักรู้สึกโดดเดี่ยวที่ไม่มีใครเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อ
ด้านครอบครัวของพระเอกชื่อดังยังเขียนข้อความอีกว่า "หลังจากนี้พวกเราคงต้องเจอเรื่องท้าทายอีกมากมาย และพวกเราต่างได้รับทราบถึงความรักความหวังดีและกำลังใจจากทุกคน
เราจะก้าวไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งพร้อมกันเป็นครอบครัว และอยากจะให้แฟน ๆ ของเขาได้รับทราบเรื่องนี้ด้วย เรารู้ดีว่าทุกคนมีความหมายกับเขามาก อย่างที่บรูซมักจะพูดว่า "มีความสุขไปด้วยกันเถิด" เสมอ"
ข้อความทั้งหมดเป็นแถลงการณ์ร่วมของทั้ง รูเมอร์, ทาลูลาห์, มาเบิล และ เอเวลิน วิลสิส ลูกสาวของเขา รวมถึง เอมมา เฮมมิง วิลลิส ภรรยาคนปัจจุบัน นอกจากนั้นอดีตภรรยา เดมี มัวร์ ก็ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ในฐานะหนึ่งในสมาชิกครอบครัวของเขาด้วย
1
โฆษณา