1 เม.ย. 2022 เวลา 02:15 • ปรัชญา
#รวม ตรรกะวิบัติและอคติที่ควรสอนตั้งแต่เด็ก (ตอน3)
(เรียบเรียงโดย สัมโมทิก สวิชญาน)
เวลาอธิบายปรากฏการณ์การใช้เหตุผลเพี้ยนๆ ของคนในสังคม มักจะต้องพูดถึง ข้อผิดพลาดในการใช้ตรรกะ และ ความบิดเบี้ยวของระบบการคิดและวิจารณญาณ
อันที่จริง การคิดเหล่านี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และเมื่อไม่นานมานี้เอง อีลอน มัสก์ ก็ทวิตว่าเรื่องพวกนี้ควรมีสอนกันตั้งแต่เด็กๆเพื่อให้เป็นการรู้เท่าทันจิตใจของเราเอง (และของคนอื่น) มาดูกันดีกว่าว่าความลำเอียงทางความคิดและตรรกะวิบัติเหล่านี้มีอะไรบ้าง (แบบสั้นๆ)
1
Placebo Effect
บางอย่างที่ไม่น่าจะมีผลอะไร แต่เรารู้สึกไปเองว่ามีผล เช่น ปกติแล้วสมชายต้องพึ่งพายาแก้สมาธิสั้น และสมชายรู้สึกสมองแล่นทันทีหลังจากกินยา ทั้งที่จริงๆแล้วยายังไม่ออกฤทธิ์ด้วยซ้ำ
ที่มา : Wikipedia
Survivorship Bias
ตัดสินบางอย่างโดยลืมมองคนที่ล้มเหลว เช่น สมชายอยากขายครีมบ้างเพราะเห็นว่าแม่ค้าขายครีมมีแต่รวยๆ แต่ลืมนึกไปว่า คนที่ขายแล้วเจ๊งก็อาจจะมีเยอะก็ได้ แต่ไม่ได้มาออกสื่อให้เห็น
2
Tachypsychia
รู้สึกว่าเวลาเดินช้าลง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นหรือสะเทือนขวัญ หรือเวลากินยาบางอย่างที่มีฤทธิ์กระตุ้นสมอง ซึ่งแน่นอนว่าเวลาไม่ได้ช้าลงจริงๆ แต่แค่สติสัมปชัญญะอาจจะตื่นตัวมากกว่าปกติในช่วงเวลานั้น
2
Law of Triviality
มักมัวแต่ไปเสียเวลากับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนทำให้ไม่ได้จัดการเรื่องใหญ่ๆ เช่น สมชายเรียกประเทืองมาประชุมเพื่อเตรียมทำกันรายงาน แต่มัวแต่นั่งเลือกสีเลือกฟอนต์จนหมดวัน
2
Zeigarnik Effect
ปรากฏการณ์ที่งานอะไรที่ถ้ายังค้างคาจะมักแว้บเข้ามาในหัวเรื่อยๆ ข้อเสียคือ อาจจะทำให้รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรไม่เสร็จสักอย่าง (ทั้งที่จริงๆ คือ แค่ไม่ได้มานั่งนับนั่งนึกว่าทำอะไรเสร็จไปแล้วบ้าง) ข้อดีคือ ถ้าใครชอบผัดวันประกันพรุ่งอาจจะแก้โดยรีบๆ เริ่มทำค้างๆ ไว้ก่อนสักนิด แล้วสมองก็จะคอยเตือนตลอดจนหันมารีบทำให้เสร็จเพราะรำคาญ
2
IKEA  ที่มา : Wikipedia
IKEA Effect
รู้สึกว่าการทำอะไรเองแล้วของสิ่งนั้นจะดีมากกว่าปกติ ซึ่งฟังเผินๆ เหมือนจะไม่มีโทษอะไร แต่จริงๆ แล้วคือ เราอาจจะมองข้ามสิ่งเดียวกันที่คนอื่นทำ ซึ่งอาจจะดีเท่าเทียมกันหรือดีกว่าก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาปัจจัยด้านทรัพยากรที่เราต้องเสียไปเองด้วย (เช่น เวลาและเงิน) ดังนั้น ถ้าไม่นับเรื่องคุณค่าทางใจ ให้ประเมินสิ่งที่จะทำเอง ว่าคุ้มจริงๆ หรือเปล่า หรือเอามาจากแหล่งอื่นดีกว่า
Ben Franklin Effect
ปรากฏการณ์ที่ ยิ่งถ้าได้ช่วยเหลือใคร ก็ยิ่งมีแนวโน้มอยากช่วยเหลือเขาอีก และมองว่าเขาเป็นมิตรมากขึ้น (ในระดับที่เปลี่ยนศัตรูเป็นมิตรได้เลยทีเดียว) ข้อนี้น่ากลัวตรงที่ เวลามีใครมาขอความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ จากเรา เราไม่รู้แน่ว่าเขาต้องการสิ่งนั้นจริงๆ หรือแค่สานความสัมพันธ์กับเราไว้เผื่อแสวงหาผลประโยชน์ต่อในอนาคต ถ้ารู้เท่าทันจิตใจตนเองในข้อนี้ ก็จะได้ตัดสินใจได้อย่างเป็นกลางมากขึ้น
Bystander Effect
เวลาเกิดเหตุการณ์ไม่ดีขึ้นกับเหยื่อสักคน แล้วมีคนอยู่ในเหตุการณ์ด้วยมากๆ แต่กลับกลายเป็นว่าไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือเหยื่อสักคน (อาจจะเพราะ ทุกคนจะคิดว่าต้องมีใครสักคนช่วย ไม่ต้องช่วยเอง แต่พอทุกคนคิดอย่างนี้ก็กลายเป็นว่าไม่มีใครช่วยเลย) ดังนั้น เวลาบังเอิญเราไปอยู่ในเหตุการณ์ที่มีเหยื่อต้องการความช่วยเหลือ ถ้าเรารู้เท่าทันจิตใจตัวเองในข้อนี้ อาจจะพยายามเข้าไปช่วยเลย ถ้าอยู่ในวิสัยที่กระทำได้
2
Suggestibility
คือการบิดเบือนความทรงจำของตนเอง หรือเรื่องที่จะบอกเล่า โดยได้รับอิทธิพลจากคนที่คุยด้วย เช่น พอครูถามชี้เป้าว่า ได้ข่าวว่าเด็กยกพวกตีกันรุนแรงมาก สมชายที่อยู่ในเหตุการณ์ก็เล่าประหนึ่งมีการชักมีดมารุมกัน ทั้งที่เหตุการณ์จริงอาจจะแค่ชกต่อยกันอย่างเดียว
ที่มา : Wikipedia
False Memory
คือการจำผิดว่าอะไรบางอย่างเกิดขึ้น แล้วก็มั่นใจว่าเกิดขึ้นแน่ๆ แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เกิดขึ้น ซึ่งบางทีจะเกิดขึ้นเวลาเราจำอะไรบางอย่างไม่ได้ทั้งหมด แล้วก็ต้องอนุมานเติมช่องว่างไปเอง พอเวลาผ่านไปนานๆ เข้า ก็เผลอไผลจำไปเลยว่า ช่องว่างที่ทึกทักเติมเข้าไปเอง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
1
Cryptomnesia
ไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่จินตนาการออกมา ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ แต่เกิดจากสิ่งที่เคยรู้มาก่อนในอดีต ปรากฏนี้มักใช้ในบริบทของงานสร้างสรรค์ เช่น สมชายแต่งนิยายขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวว่า พล็อตเรื่องไปเหมือนกับนิทานเรื่องหนึ่งที่เคยอ่านสมัยวัยรุ่น
Clustering Illusion
หลงผิดว่ามีแพตเทิร์นหรือความสัมพันธ์ระหว่างอะไรบางอย่าง ทั้งที่ไม่ได้มีอยู่จริงๆ เช่น พอมีเพื่อนมาบอกสมชายหลายๆ คนว่า ไปฉีดยาหลังจากกินข้าวเที่ยงแล้วปวดหัว สมชายก็เชื่อว่า ถ้าฉีดยาตอนท้องอิ่มจะปวดหัว (ทั้งที่จริงๆ สิ่งที่เกิดขึ้นกับเพื่อนเป็นแค่เรื่องบังเอิญ)
2
Pessimism Bias
ตรงตัวเลยก็คือ มักมองโลกในแง่ร้าย ทั้งที่จริงๆ ต้องพยายามมองอย่างเป็นเหตุเป็นผล
1
Optimism Bias: ตรงตัวเลยก็คือ มักมองโลกในแง่ดี ทั้งที่จริงๆ ต้องพยายามมองอย่างเป็นเหตุเป็นผล
แก้วใบนี้ “เหลือน้ำแค่ครึ่งแก้ว” หรือ “เหลือน้ำตั้งครึ่งแก้ว” ทฤษฎีน้ำครึ่งแก้วมักใช้อธิบายการมองโลกในแง่ดี/ร้าย ที่มา : Wikipedia
Blind Spot Bias: มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีความบิดเบือนทางความคิดบางข้อที่เล่ามาทั้งหมดนี้! หรือแบบอื่นๆ อีกร้อยแปดพันเก้า
1
(จบ)
ย้อนกลับไปอ่านตอน 1 ได้ที่
1
ย้อนกลับไปอ่านตอน 2 ได้ที่
โฆษณา