1 เม.ย. 2022 เวลา 16:32 • ปรัชญา
ทําได้ครับ โดยคนที่ฝึกสมาธิโดยการเจริญสติ อย่างต่อเนื่องจนชํานาญ จะสามารถควบคุมความคิดได้ ในสองลักษณะคือ ควบคุมไม่ให้คิดกับ คิดไปแล้วควบคุมไม่ให้คิดปรุงแต่ง โดยที่เราต้องเข้าใจกระบวนการทํางานของจิตมนุษย์เพียงเล็กน้อยเสียก่อน ดังนี้
การที่คนเราคิด เกิดจากธรรมชาติของจิตในตัวทํางานอยู่ จิตในตัวมนุษย์เป็นธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ ปรกติจิตจะอยู่ในภวังค์ คือยังไม่ออกมารับอารมณ์ เราก็จะไม่เกิดความคิดใดๆ แต่ พอตาเห็น จมูกได้กลิ่น ลิ้มรส หรือได้สัมผัส จิตจะออกจากภวังค์มารับรู้อารมณ์ภายนอก (Active mode) เพื่อรับรู้สิ่งต่างๆ (จิตออกจากภวังค์เรียกขึ้นวิถี, จิตรับรู้อารมณ์เรียกว่าวิญญาณ) เช่น เวลามองผู้หญิงจะเกิดจักขุวิญญาณขึ้นมา แต่การรับรู้หรือวิญญาณที่เกิดทางตา จะยังไม่เกิดความคิด จนกว่าเจตสิกตัวอื่นจะออก มาทํางานร่วมกับจิต จึงจะเกิดเป็นความคิดได้
เจตสิกคืออาการของจิตที่ปรุงแต่งจิต ทำให้เกิดความ รู้สึก นึก คิด ที่แตกต่างกันทั้งทางดีและไม่ดี เราเลยเรียกรวมๆว่าเป็นจิตและเจตสิก
เจตสิก สัญญาจะบอกว่าเป็นผู้หญิง, สังขารจะปรุงแต่งเป็น สวย ไม่สวย, เวทนาจะบอกว่าชอบ ไม่ชอบ จิตจะทํางานร่วมกับเจตสิกในรูปแบบของความคิด เกิดเป็น กุศล, อกุศล, กิริยาและวิบากจิต และเก็บไว้ในสัญญาเพื่อนํากลับมาใช้ในครั้งต่อไป หลังจากนั้นจิตจะกลับเข้าสู่ภวังค์อีกครั้ง ( Sleep mode)
จะเห็นว่าความคิดจะเกิดหลังจากทวารทั้ง4 (ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย) ถูกเปิดออก เพื่อให้วิญญาณทั้ง4 ทํางาน จะมีอีกทวารที่เปิดออกโดยอัตโนมัตินั่นคือ มโนทวาร ( จิตรับอารมณ์ทางความคิดเกิดเป็นมโนวิญญาณ) ทวารทั้งจึงมี 5 ทวาร นั่นคือ ตา, หู, จมูก,ลิ้น, กาย. ใจ เกิดเป็นวิญญาณทั้ง 5 ทํางานร่วมกันสลับไปมา เช่น จักขุวิญญาณ ทํางานร่วมกับมโนวิญญาณ ตอนมองแล้วคิดไปด้วย
แต่เวลาเรานอนหลับทวารทั้ง4 ถูกปิดแต่จิตก็ยังทํางานร่วมกับสัญญา สังขารเจตสิก และจะออกจากภวังค์มาขึ้นรับอารมณ์ทางความคิดเกิดเป็นความฝันขึ้นมา เพราะในส่วนมโนวิญญาณทํางาน ความคิดจึงเกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ แม้เราไม่ได้มอง, ไม่ได้ยินหรือสัมผัสอะไร หรือไม่ได้อยากจะคิด เพราะในส่วนของมโนวิญญาณทํางานขึ้นมาเอง เช่นกัน
การควบคุมความคิด จึงสามารถทําได้โดย
1. บังคับให้จิตอยู่แต่ในภวังค์ ไม่ออกมารับอารมณ์ โดยใช้สมาธิภาวนา ( สมถะภาวนา ) โดยมีวิตก วิจารณ์ ให้จิตอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งตลอด เช่น ใช้ลมหายใจเข้าออก, ภาวนาพุทโธ, เดินจงกลม จนจิตเกิดเป็นสมาธิและเข้าสู้ความสงบในฌาณ เป็นการบังคับไม่ให้ความคิดก่อตัว
2. ถ้าความคิดเกิดขึ้นแล้ว การเจริญสติและความรู้สึกตัว จะช่วยหยุดให้เจตสิกประกอบจิตตัวอื่นหยุดการทำงาน หรือหยุดปรุงแต่ง เหลือเฉพาะส่วนที่เป็นวิญญาณ, เวทนา, สติสัมปชัญญะเจตสิก นั่นคือรับรู้เฉยๆโดยที่ไม่ปรุงแต่ง เห็นก็สักว่าเห็น, ชอบก็รู้ว่าชอบ ไม่ชอบก็รู้ว่าไม่ชอบ ตัวสติสัมปชัญญะ เมื่อมันมีมากและตั้งมั่นเป็นสมาธิ จะหยุดการปรุงแต่งต่อของจิต หรือติดเบรคให้กับความคิด จิตที่เกิดจะเป็นกิริยาจิต ( ไม่มีกุศล, อกุศล, วิบากจิตเกิดร่วม )
โฆษณา