2 เม.ย. 2022 เวลา 02:16 • ปรัชญา
จะรู้สึกเหมือนได้ แต่จริงๆคือไม่ได้
คนเราจะมีความเคยชินและมักสนใจใส่ใจอยู่กับความคิดตัวเอง อินเข้าไปในความคิดจนคิดว่าตัวเองคิด สิ่งที่ช่วยสนับสนุนว่ามันจริงคือ "ความรู้สึก"
แต่ถ้าแยกแยะส่วนต่างๆในตัวออกได้
จะเห็น "ความรู้สึก" เป็นอันนึง "ความคิด" เป็นอันนึง ยังมี "จิต" ที่เรายังรู้สึกว่าเป็นตัวเราด้วย เป็นอีกอันนึง
"จิต" เป็นผู้คิด นึก ปรุงแต่ง แต่ถึงที่สุด แม้แต่ "จิต" ก็ยังไม่ใช่เรา จิตที่เป็นผู้คิดยังไม่ใช่เรา แล้วเราจะไปคอนโทรลอะไร "ความคิด" ได้ เรายังคอนโทรลจิตก็ยั.งไม่ได้เลย
ทั้งหมดตกอยู่ใต้ "กฎไตรลักษณ์"
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
คนส่วนใหญ่คิดอะไรก็จะตรงกันข้ามเป็น
นิจจัง สุขขัง อัตตา
ตัวอย่างดาราที่หลับเสียชีวิตไป ก่อนนอนยังนัดเจอกับแม่ ว่าเจอกันตอนเช้า ไม่มีใครคิดว่าจะตายซะก่อน นี่คือ "นิจจัง" คิดว่าเช้าได้เจอแม่ ไม่มีใครคิดว่า "ไม่มีอะไรแน่นอน"(อนิจจัง) ไม่มีใครคิดว่าเดินออกจากบ้านไปจะได้กลับมารึป่าว ไม่มีใครคิดว่าคบกับแฟนจะเลิกกัน
ทุกคนคิดว่านี่คือตัวเรา เราควบคุมตนเองได้ ควบคุมความคิดได้ ควบคุมการกระทำได้ นี่คือ "อัตตา" แต่ความจริงคือ "อนัตตา" (ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ)ถ้าควบคุมได้ เราจะสั่งให้หยุดตอนไหนก็ได้
คนที่คิดลบๆ คงไม่ตั้งคำถามว่าทำยังไงให้เป็นคนคิดบวก
เพราะการคิดลบคิดบวก มันเกิดจากความเคยชิน ลองสังเกตดูแต่ละคน เคยชินจะคิดไปแนวทางไหนก็จะคิดแนวนั้นเสมอๆ จะเปลี่ยนความคิดคนยากมาก ก็เพราะมันบังคับไม่ได้ เราจะคิดแบบนี้ให้ทะเลาะกะแฟนทำไม ถ้าเค้าอยากให้เปลี่ยนก็เปลี่ยนเลยตอนอยู่กับแฟน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามใจไม่ต้องทะเลาะกะใคร
ส่วนสุขทุกข์ ทุกคนใช้ชีวิตก็พยามหาความสุขกัน สนุกสนานเพลิดเพลินสิ่งใดก็รู้สึกว่าสุขจังเลย ดีจังเลย ชอบจังเลย
แต่ผู้ที่ฝึกตนดีแล้วจะมองสิ่งเดียวกันนั้นว่า มันเป็นความหลงติด สุขไม่มีอยู่จริง
ถ้าสุขจริงทำไมได้มาแล้วถึงต้องหายไป
บางทีมันไม่ได้หายไป แต่มันไม่มีตั้งแต่แรก เป็นแค่คิดๆเอา ใช้ชีวิตไปนานๆก็จะรู้ มันจะรู้สึกเหมือนไม่เต็มซะที แล้วก็จะเหนื่อยกับการไขว่คว้าอยู่ตลอด
สุขใครจะอยากวาง ที่สุดของการจะปล่อยวางได้คือเห็นว่ามันคือ "ทุกข์"
โฆษณา