Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณัฐมาคุย
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
3 เม.ย. 2022 เวลา 07:40 • ปรัชญา
The Life-Changing Science of Detecting Bullshit ตอนที่ 1
ต่อเนื่องจากโพสก่อนหน้า เรื่อง ยุคคนขี้โม้ วันนี้ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ แล้วเห็นว่าน่าสนใจ เลยอยากเอาเรื่องบางเรื่องในหนังสือเล่มนี้มาเล่าให้ฟัง
Bullshit เป็นคำที่แปลเป็นไท่ยได้ยากลำบากยิ่งนัก คงไม่มีคำไหนที่จะอธิบายคำนี้ได้อย่างครบถ้วน ภาษาอังกฤษเองยังไม่สามารถหาคำที่สุภาพกว่านี้มาทดแทนได้เลย หากแปลเป็นไทย อาจจะเป็นว่า พูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ โกหก หรือตอแหล แต่ก็ไม่ตรงเสียนักทีเดียว
ในหนังสือเล่มนี้ พยายามชี้ให้เห็นว่า Bullshit กับ Lie นั้นแตกต่างกัน และ Bullshit มีความอันตรายกว่า Lie อย่างมาก
Lie นั้นแปลตรงตัวว่า การโกหก ซึ่งหากเราสังเกตกันให้ดี เวลาที่เราจะโกหกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราจะรู้ว่าความจริงคืออะไร และเราจะพยายามที่จะปิดบังมันไว้
แต่ Bullshit เป็นการสื่อสารโดยไม่ได้สนใจว่าอะไรจริงไม่จริง เป็นการสื่อสารโดยมุ่งหวังผล โดยยกเรื่องอะไรมาก็ได้ เพื่อสนับสนุนความเชื่อของตัวเอง
และเหมือนอย่างที่ผมเล่าไปในตอนที่แล้ว เวลา Bullshit ไป ในโลกที่สื่อโซเซียลกำลังครองโลก เรื่องราวแบบนี้จะแพร่กระจายไปได้เร็วมาก โดยไม่ได้มีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเรื่องเหล่านี้ก็จะถูกเชื่อโดยคนจำนวนมากว่าจริง
พอคนจำนวนมากเชื่อไปแล้วว่าเป็นเรื่องจริง คนเหล่านั้นจะไม่ยอมเปลี่ยนใจว่าสิ่งนั้นไม่จริง โดยเฉพาะเวลาที่ตัวเองไปเชื่อว่าจริง แล้วเอาไปบอกต่อคนอื่น คน ๆ นั้นจะเผลอตัวพยายามรักษาความเชื่อนั้น เพราะความกลัวเสียหน้า ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามันไม่จริงในภายหลัง
ทำให้พละกำลังที่ต้องใช้ในการลบล้าง Bullshit นั้นมันยากเย็น เสียยิ่งกว่ากำลังที่ใช้ในการ Bullshit ซึ่งมีคนสังเกตปัญหานี้ และตั้งชื่อมันว่า Brandolini's law หรือ bullshit asymmetry principle ในปี 2013 หลังจากที่ Alberto Brandolini โปรแกรมเมอร์ชาวอิตาเลียนได้อ่านหนังสือ Thinking, Fast and Slow ของ Daniel Kahneman ซึ่งระบุว่า
The amount of energy needed to refute bullshit is an order of magnitude larger than is needed to produce it
หนึ่งในตัวอย่างที่หนังสือเล่มนี้หยิบยกขึ้นมา และให้รางวัลแมลงวัน 3 ตัว คือ เรื่องราวของ Andrew Wakefield ต้นกำเนิดของกระแสการต่อต้านวัคซีน
Andrew Jeremy Wakefield เป็นหมอชาวอังกฤษที่เดิมทีศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนอวัยวะเช่นลำไส้เล็ก และปัญหาเกี่ยวกับการปฏิเสธอวัยวะ
แต่ในปี 1993 เขาได้รับความสนใจจากการที่เขาตีพิมพ์ผลงานวิจัยว่าไวรัสโรคหัดอาจจะมีส่วนทำให้เกิด Crohn's disease และในภายหลังก็ได้ตีพิมพ์ผลงานใน The Lancet ว่า วัคซีนโรคหัดมีส่วนเกี่ยวข้องกับ Crohn's disease ซึ่งงานวิจัยนี้ภายหลังก็ได้มีการพยายามทำซ้ำ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ และไม่สอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในภายหลัง และมีการสรุปในปี 1998 โดยผู้เชี่ยวชาญว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
แต่ไม่ใช่แค่นั้น วันหนึ่ง Andrew Wakefield ได้พบกับเด็กที่มีอาการ Autism เขาจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจกับเรื่องนี้แทน และเริ่มไปพูดตามที่ต่าง ๆ และทำให้คนเชื่อว่า วัคซีน MMR วัคซีนที่ป้องกันโรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) ในเข็มเดียวกัน มีส่วนทำให้เกิด autistic enterocolitis สภาวะของโรคที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน ทำให้มีอาการผิดปกติในช่องท้อง และอาการ Autism โดยอาศัยข้อมูลจากคนไข้ 12 ราย
และการที่เขาแถลงข่าวผลการวิจัยนี้ ทำให้ข่าวแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่งานวิจัยนี้ยังเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอยู่ ทำให้หลาย ๆ โรงพยาบาลต้องยกเลิกการฉีดวัคซีน MMR หันเป็นฉีดวัคซีนแยกเข็ม รวมถึงทำให้เกิดกระแสกลัวการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก จนทำให้มีการระบาดของโรคเป็นระยะ และในปัจจุบัน ถึงแม้มีการพิสูจน์แล้วว่า เรื่องนี้ไม่จริง ก็ยังมีพ่อแม่เด็กจำนวนมากที่ไม่ยอมให้ลูกของตนฉีดวัคซีน รวมถึงแม้แต่กระแสการกลัวการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดอีกด้วย
ต่อมา ในปี 2004 หนังสือพิมพ์ Sunday Times ได้รายงานว่า พ่อแม่ของคนไข้ทั้ง 12 มีบางคนได้รับการว่าจ้างจากทนายซึ่งวางแผนที่จะฟ้องบริษัทผู้ผลิตวัคซีน MMR เพื่อเรียกร้องเงินจากผู้ผลิต ซึ่งหนังสือพิมพ์กล่าวหาว่าทนายได้ให้เงินกับ Andrew Wakefield มากกว่า 400,000 ปอนด์ เพื่อตีพิมพ์งานวิจัยดังกล่าว แถม Andrew Wakefield ก็โดนให้ถอดถอนงานวิจัยที่เป็นเท็จ และโดนถอดถอนไม่ให้เป็นหมออีกต่อไป แต่ก็ยังมีคนเชื่อเรื่องโกหกคำโตของเขาต่อไป
เรื่อง Bullshit เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่สร้างความเสียหายให้จำนวนมาก ทำให้เด็กหลายคนต้องเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงเหล่านี้โดยไม่จำเป็น
12 บันทึก
6
5
12
6
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย