12 เม.ย. 2022 เวลา 08:18 • ธุรกิจ
บทความ: ส่วนผสมที่ลงตัว ระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่ และวิถีการทำนาแบบดั้งเดิม
3
ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าว อันดับต้นๆของโลก (และอันที่จริง ในอดีต เคยเป็นอันดับหนึ่งมายาวนานหลายปี) แต่ถ้าพิจารณาจากผลผลิตต่อไร่ (หรือ หน่วยวัดสากล เมตริกตัน ต่อเฮคเตอร์) ตามตาราง จะเห็นว่า ประเทศไทย มีผลผลิตต่อไร่ ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งเช่น เวียตนาม และอินเดีย อย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าว ของไทย พลอยสูงกว่าคู่แข่งไปด้วย
3
Shanlax International Journal of Economics, March 2019
สาเหตุหลักๆ ที่ผลผลิตต่อไร่ของไทย ต่ำมากเช่นนี้ (อ้างอิงจากบทวิเคราะห์ ของสถาบันของไทย และต่างประเทศ) เนื่องจาก:
2
- ชาวนาไทย ครอบครองพื้นที่นา ขนาดเล็กมาก และในหลายกรณี ไม่มีที่นาเป็นของตัวเอง ได้เพียงแค่รับจ้างทำนา ในขณะที่ ประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างประเทศพัฒนาแล้ว ชาวนาครอบครองพื้นที่ขนาดใหญ่หลายร้อย หลายพันไร่ ใช้ระบบการเกษตรเชิงอุตสาหกรรม (Plantation)
2
- ต่อเนื่องจากประเด็นข้างต้น การทำนาในประเทศไทย จึงยังคงใช้ระบบแรงงาน ผสานกับอุปกรณ์การเกษตรขนาดเล็ก ไม่สามารถลงทุนเครื่องจักรการเกษตรขนาดใหญ่ได้
1
- การทำนาในประเทศไทย ยังต้องพึ่งพาธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ ถึงแม้ว่าจะมีระบบการชลประทาน ก็ยังไม่เพียงพอ สังเกตุได้ว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ยังต้องทำนาปี คือทำนาได้ปีละหน ในขณะที่ประเทศคู่แข่ง สามารถทำนาได้ปีละหลายรอบ
4
- ในแง่ซัพพลายเชนส์ พ่อค้าคนกลาง และโรงสี ยังกุมอำนาจต่อรอง ชาวนารายย่อย ไม่ค่อยมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ ส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน อยู่ในวงจรหนี้สิน
1
Science News, Cornell University
สถานที่: นาเฮียใช้ สุพรรณบุรี
ในบทความนี้ ขอยกตัวอย่าง “นาเฮียใช้” จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งพัฒนาระบบการทำนา ที่สามารถประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่ ผสานกับวิถีการทำนาแบบดั้งเดิม ได้อย่างเหมาะสมลงตัว ช่วยเพิ่มประสิทธภาพการผลิต ลดต้นทุน ภายใต้งบประมาณที่ไม่สูงจนเกินไป เหมาะกับระบบนาแปลงย่อย แบบประเทศไทย
4
ภาพนาข้าว ที่มีกองเปลือกข้าวอยู่ด้านหลัง
ขอให้พิจารณาภาพประกอบ (ให้ภาพเล่าเรื่อง) “นาเฮียใช้” มีการเลือกเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้ ในขั้นตอนสำคัญ เช่นการเพาะต้นกล้า, ระบบการชลประทาน, ระบบการสีข้าว, การบรรจุภัณฑ์
4
ในขณะเดียวกัน ก็มีการพัฒนา และอนุรักษ์วิธีการดั้งเดิม ได้แก่ การทำเกษตร ไร่นาสวนผสม, การกสิกรรม ขนาดเล็ก, การทำปุ๋ยหมัก เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่ครบวงจร พึ่งพาตนเองได้ และในปัจจุบัน นาเฮียใช้ ได้เป็นศูนย์การเรียนรู้ วิถีชีวิตชาวนาไทย อีกด้วย
อย่างไรก็แล้วแต่ การที่จะนำผลสำเร็จของ “นาเฮียใช้” ไปขยายผลในทางปฎิบัติ ชาวนารายย่อย จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน ในด้านต่างๆ อาทิเช่น
3
- นโยบายทางการเกษตร ซึ่งรวมถึงการพัฒนาพันธ์ข้าว และการจัดสรรทรัพยากรน้ำ ในระยะกลาง และระยะยาวที่ชัดเจน
2
- การเสริมสร้างความเข้มแข็ง และประสิทธภาพของระบบสหกรณ์ชาวนา กล่าวคือในระบบนาแปลงย่อยแบบเมืองไทย ระบบสหกรณ์จะช่วยสร้าง Economy of scale ให้การลงทุนต่างๆทำได้ง่ายขึ้น
2
- วางระบบการศึกษา ให้ลูกหลานชาวนา ได้มีความรู้ในการเกษตร และมีแรงจูงใจ ในการกลับไปประกอบอาชีพทำนา ต่อจากพ่อแม่ แทนที่จะมุ่งสู่การเป็นลูกจ้าง
1
- ภาครัฐ และภาคเอกชน ต้องช่วยสร้างสมดุลย์ในซัพพลายเชนส์ ให้กลุ่มชาวนา ในฐานะผู้ผลิต ได้มีอำนาจต่อรองมากขึ้น
2
ขอบคุณภาพ: Research Cafe
บทสรุป ถึงแม้ว่าไทยจะเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับต้นๆของโลก แต่ประสิทธิภาพในการผลิตต่อไร่ ยังต่ำมาก และต้นทุนการผลิต มีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศคู่แข่ง มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาพันธ์ข้าวใหม่ๆ อย่างเป็นระบบ
2
ดังนั้น ชาวนา ในฐานะผู้ผลิต จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน อย่างเป็นระบบ และ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ
3

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา