15 เม.ย. 2022 เวลา 10:57 • การศึกษา
โรงเรียนที่ซิดนีย์มีห้องคิงส์ ห้องควีนมั้ย??
1
ถึงแม้ว่าที่ประเทศนี้เราจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระบบมากเท่าประเทศไทย เด็ก ๆ ที่นี่สามารถเลือกเรียนอะไรก็ได้ที่ตัวเองถนัด โรงเรียนทางเลือกเรามีเยอะแยะ
1
มีลูกคนไทยบ้านนึงก็ชอบเตะบอลก็อยากจะเข้าโรงเรียนมัธยมที่เป็นของนักเตะ แล้วก็เอาดีด้านนี้ไปเลย ซึ่งพ่อแม่ก็สนับสนุน พาไปซ้อมบอลหลังเลิกเรียนแล้วก็เสาร์อาทิตย์ด้วย
ลูกอีกบ้านแม่ก็เข็นจนสุดจะเข็น อยากให้เรียนโรงเรียนปกติ เอาดีด้านวิชาการนี่แหละ แต่เมื่อเห็นว่าไม่ไหวจริงๆ พอจบ ป.6 ก็ต้องพาไปสมัครเข้าโรงเรียนที่สอนแต่คอม โปรแกรมมิ่ง เกมมิ่ง อะไรก็ว่าไป
1
เด็กๆ ที่นี่ไม่เข้ามหาลัยและเรียนโรงเรียนวิชาชีพกันเป็นเรื่องปกติมากค่ะ
1
(ว่าแล้วก็คิดได้ตอนเราเรียน ม. 6 ที่นิวซีแลนด์ เด็กไทยกับเด็กฮ่องกง อย่างเรากับเพื่อนเอาจริงเอาจังอยากจะเข้ามหาลัยดีๆ กัน ลูกโฮสโน่นนนนค่ะ จิบเบียร์ ชิมไวน์ ปั่นค็อกเทล เตรียมเข้าสาย hospitality ตั้งแต่ ม. 5 เลยค่ะ)
2
ลูกพี่อีกคนที่ตอนนี้เรียนปี 1 อยู่ ก็เล่าว่ามีเพื่อนเค้าที่ทำ TikTok จนซื้อบ้านได้แล้ว ก็เลยเลิกเรียนไปเฉยๆ เพราะไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม น้องเรียนคณะดนตรีค่ะ จริงๆ ก็คงมีความเป็นศิลปินกันอยู่แล้วแหละ ถ้าโอกาสจะมาก่อนเรียนจบ เด็กสมัยนี้เค้าก็ไม่มายด์ที่จะคว้าไว้
3
Credit : domain.com.au
จะว่าไป เราก็ไม่แน่ใจว่าที่เล่ามานี่มันเป็นความแตกต่างระหว่างการศึกษาที่ไทย หรือเป็นที่ยุคสมัยกันแน่
..
..
แต่กลับมาที่โรงเรียนสายวิชาการปกติกันบ้าง ออสเตรเลียก็ยังมีมหาลัยที่ติดอันดับต้นๆ ของโลกอยู่หลายมหาลัยเหมือนกันค่ะ พวก Sydney Uni, Melbourne Uni, UNSW, ANU อะไรพวกนี้
และในระดับรัฐ ระดับเมือง เราก็ยังมีมหาลัยดัง ๆ ของใครของมัน ที่ยังเป็นที่หมายปองของเด็กๆ (และพ่อแม่) หลายๆ บ้านอยู่
1
และแน่นอนว่า…. เด็กที่จะเข้ามหาลัยดัง ๆ พวกนี้ได้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กที่มาจากโรงเรียนมัธยมดัง ๆ ดี ๆ ประจำเขต/เมืองของตัวเอง แต่โรงเรียนดี ๆ ดัง ๆ พวกนี้ไม่ได้จัดระดับกันเองนะคะ รัฐบาลเค้ามีเกณฑ์วัดอยู่ และเรียกมันว่า “selective school” พูดง่ายๆ ก็คือโรงเรียนสำหรับเด็กเกรด A+ โดยเฉพาะนั่นเอง ที่รัฐบาลเค้าจะจัดตั้งแบบกระจาย ๆ เอาไว้ในหลาย ๆ พื้นที่เพื่อให้เด็กที่มีพรสวรรค์ทางวิชาการโดดเด่นได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม และมีสังคมที่เหมาะกับเด็กเรียน เด็กเนิร์ดอย่างพวกเขา
(ว่ากันว่าสังคมข้างใน selective school นั้นดีมาก ๆ จนคนที่นี่พูดกันว่า… ถ้าเราสามารถเข็นลูกจนเข้า selective school ได้ เราก็หมดห่วงได้แล้ว เพราะคนเราคือค่าเฉลี่ยของสังคมที่เราอยู่เนอะ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ผ่าน selective school มานี่รับประกันความสำเร็จในชีวิตไปแล้ว 99% - ทั้งหัวดี ได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม แถมยังมีแต่เพื่อนเก่ง ๆ ที่ส่งเสริมกันไปจนโต แล้วความสำเร็จจะไปไหนเสีย ประมาณนั้นค่ะ)
3
ย้อนกลับมาที่ประถม……. ในชั้น ป.5 - ป.6 ทุกโรงเรียนก็จะมีการแยกนักเรียนหัวกะทิของตัวเองเพื่อมาเรียนในห้องพิเศษที่เรียกว่า Opportunity Class เพื่อเตรียมนักเรียนสำหรับสอบเข้า Selective School นั่นเอง (นี่ก็เป็นนโยบายมาจากรัฐบาลเหมือนกันค่ะ - เค้าบอกว่าถ้าเอาเด็กเก่งไปเรียนรวมกับเด็กปกติ พวกเค้าจะเสียโอกาสและศักยภาพไปอย่างน่าเสียดาย) // เราว่าอันนี้น่าจะคล้าย ๆ ห้องคิง ห้องควีน ที่ไทยนะ แต่เค้าเรียนกันแค่ 2 ปีตอน ป.5 - ป.6 ค่ะ
2
Credit : domain.com.au
และแน่นอนว่าพ่อแม่ที่อยากจะให้ลูกเข้าห้อง Opportunity Class ได้ก็ต้องติวกันตั้งแต่โน่นนนนน… ป.3 ป.2 บางบ้านก็ ป.1 อนุบาลเลยก็มี !!
3
🌈 🌈 🌈 🌈 🌈
รวมๆ แล้วน่าจะสรุปว่าเราไปสุดทั้ง 2 ทางเลยค่ะ ทั้งเด็กที่เรียนเก่งแล้วก็เด็กที่เรียนไม่เก่ง
แล้วเด็กที่เรียนไม่เก่ง โรงเรียนมีวิธีการดูแลยังไงน่ะเหรอ??
ก็ดีงามไม้แพ้เด็กๆ หัวกะทิของเค้านี่แหละ
1
ว่าแล้วก็ขอฝากเล่มนี้ไว้หน่อยนะคะ เป็นประสบกาารณ์ตรงของเจ้าลูกชายเราเองแหละ
หนังสือ "ตอน ไมเคิลเรียนไม่เก่ง" โดย Tara Thow
👆 เมื่อเจ้าลูกชายคนโตเกือบจะสอบตก ป. 3 ความวุ่นวายเลยบังเกิด แต่สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ เราเชื่อว่าเรื่องของพวกเราจะเป็นประโยชน์กับแม่ๆ ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียนทุกคน ทั้งคนที่เรียนเก่งและคนที่เรียนไม่เก่ง 😊
💞 💞💞💞💞
ช่องทางในการติดตามเราจ้าา.. 😘
IG: tarathow
Blockdit 1: มนุษย์แม่ลูกสองจากเมืองซิดนีย์ By Tara Thow
Blockdit 2: จุด by Tara Thow
Tiktok: @tarathow
Line: @tarathow
โฆษณา