25 เม.ย. 2022 เวลา 00:00 • ไลฟ์สไตล์
ภาษาประจำบ้าน
อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าในแต่ละประเทศ ชนเผ่า ชนชั้น กลุ่มคน ทุกเพศทุกวัยต่างๆ ก็มีภาษาที่แตกต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ และในบางครั้งแม้แต่ในครอบครัวของเราเองก็มีภาษาเฉพาะของบ้านตัวเองเช่นกัน
ผมเชื่อว่าทุกคนจะมีโมเมนต์เวลาที่มีคำแปลกๆ ที่สื่อสารกันกับคนที่สนิท และผมเองก็มีครับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อสารกับครอบครัวผมเอง เพราะผมจะสนิทกับครอบครัวมากกว่าเพื่อนอยู่แล้วครับ และในแต่ละวันก็มันจะมีคำใหม่ๆ ตลอด หรือในบางครั้งก็เกิดตามอารมณ์เวลาพูดก็มีบ้างครับ
โดยเริ่มตั้งแต่สมัยเด็ก เริ่มที่คำว่า “กุ๊กปาก” ทุกคนว่ามันคืออะไรครับ .... มันคือการบ้วนปากนั่นเอง 5555 แล้วผมก็ใช้คำนี้มาตลอดจนผมอยู่มัธยมต้น จนกระทั่งผมใช้คำนี้กับเพื่อน ก็ทำให้รู้ว่า เฮ้ย คำนี้คนอื่นเขาไม่ใช้กันครับ ผมนี่งงเลย ทำไมไม่เข้าใจสักที 5555 และอีกคำที่มาในเวลาไล่เลี่ยกันเลยคือ “กรัง” และคำว่า “ไน่” คำว่า กรัง ก็คือ คราบเศษอาหารที่ติดกับจานหลังรับประทานอาหารครับ ส่วน ไน่ คือ การทำให้เปื่อยยุ่ย เพื่อให้สามารถกำจัดออกไปได้ง่าย ซึ่งที่รู้ก็เพราะหลังบ้วนปากเสร็จก็จะเริ่มล้างจาน ผมก็บอกเพื่อนว่า “วางแช่ให้หายกรังก่อนมั้ย ให้มันไน่ก่อน” เพื่อนผมนี่งงเป็นไก่ตาแตกเลยครับ เอาล่ะ นี่เราใช้คำแปลกไปอีกแล้วสิ
ต่อมาจะเป็นคำว่า “กะปุ๋ย” คำนี้จะเป็นคำสร้อย เอาไว้ต่อคำทั่วไปเลยครับ เอาไว้แสดงอารมณ์ต่างๆ เช่น น่ารักกะปุ๋ย เซ็งกะปุ๋ย แต่จริงๆแล้วก็เป็นคำที่ทำให้มันดูน่ารัก เอาไว้อ้อนเท่านั้นเองครับ 5555
นอกจากนี้ก็ยังมีคำภาษาถิ่นอีกครับ ก็เป็นภาษาที่พูดมาตั้งแต่ยังเด็กจนไม่คิดว่ามันแปลก แต่พอมาพูดกับคนที่พูดภาษากลางแล้วมันดันแปลกครับ เช่นคำว่า ปลาเห็ด หรือ ทอดมัน , เสื้อทับใน (เสื้อซับใน) , หยำข้าว (คลุกข้าว) , กระเต๋ง (กระป๋องน้ำ) ก็มีประมาณนี้ครับ
ก็จบไปแล้วครับกับเรื่อง “ภาษาประจำบ้าน” ใครมีคำแปลกที่ใช้กับคนสนิทก็สามารถมาแบ่งปันกันที่ใต้คอมเมนต์กันได้นะครับ ขอบคุณผู้ที่เข้ามาอ่านจนจบ หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ หากท่านชอบบทความนี้ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
By Mii-Kun
โฆษณา