16 เม.ย. 2022 เวลา 04:57 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Recession กำลังรอเราอยู่ข้างหน้า? Winter is coming ...
ก่อนวันหยุดสงกรานต์ เราเห็นการปรับฐานในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งทำให้แรงขายตามมาทั้งในยุโรป และเอเชีย ด้วยเหตุผลหลักๆ มาจาก 2 ปัจจัย คือ
1
1. รายงานการประชุมรอบล่าสุดเดือนมี.ค. ที่ออกมา แสดงให้เห็นว่า เฟดจะลดขนาดงลดุลทันทีในการประชุมครั้งหน้า (เดือน พ.ค.) ซึ่งเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และขนาดของการลดวงเงินก็ถือว่า ไม่น้อยทีเดียว อยู่ที่เดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งย้อนกลับไปตอนเฟดประกาศ QE Unlimited เมื่อเดือนมี.ค. 2020 ตอนนั้น ขนาดวงเงินต่อเดือนอยู่ที่ 1.2 แสนล้านดอลล่าร์ ก่อนจะเริ่มลดการเข้าซื้อ QE Tapering ในเดือนพ.ย. 2021 เหลือ 1.05 แสนล้านดอลล่าร์ และลดเหลือ 9 หมื่นล้านดอลลาร์ ในเดือน ม.ค.
1
Fed Balance Sheet
2. สงครามยูเครน-รัสเซีย ที่หวังว่าจะมีเจรจาหยุดยิง ก็มีอันต้องจบการเจรจาไป การถอยออกจากรอบกรุงเคียฟของทหารรัสเซีย เป็นเพียงการปรับกระบวนทัพเท่านั้น ปูตินไม่ได้ส่งสัญญาณใด ๆ ที่ทำให้เขามองว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีเลย ขณะที่เห็นได้ชัดว่ารัสเซียเตรียมความพร้อมที่จะบุกทางตะวันออกของยูเครนเอาไว้แล้ว ซึ่งเป็นคำบอกจาก นายกรัฐมนตรีคาร์ล เนฮัมเมอร์ ของออสเตรีย ที่เดินทางเยือนรัสเซีย เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมา
2 เรื่องข้างต้น มีผลต่อเศรษฐกิจโลก และบรรยากาศการลงทุนไปในทางเดียวกัน ก็คือ ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวสูงขึ้น ถึงขั้นบางสำนักได้มีการเพิ่มโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2023 ไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย
2
Goldman Sachs sees a 38% chance of recession in the next 24 months
JPMorgan CEO warns of ‘powerful forces’ threatening U.S. economy into a recession
เรื่องแรก เฟด กำลังตัดสินใจทำ QT และขึ้นดอกเบี้ยรวดเดียว 0.50% ในการประชุดครั้งหน้าเลย โพลสำรวจจาก Reuters ชี้ว่า CPI เฉลี่ยปีนี้ของสหรัฐฯ จะอยู่ที่ 6.8% และกว่าจะเห็นต่ำกว่า 2% ต้องรอโน้นเลยปี 2024 แสดงให้เห็นว่า เฟดเริ่มเอาเงินเฟ้อไม่อยู่แล้ว
ซึ่งความกังวลเงินเฟ้อ แท้จริงมาจากประเด็นที่ 2 และกลายเป็นสงครามยืดเยื้อ ที่ทำให้ ถึงแม้ราคาน้ำมันจะร่วงแรงหลังจากนี้ ก็ไม่ทันที่จะดึงเงินเฟ้อลงมาแล้ว
เนื่องจากเกิดปรากฎการณ์ Ripple Effect ราคาสินค้าพุ่งขึ้นแทบจะในทุกหมวด ซึ่งปัญหาหลักมาจาก Supply Shortage ที่ยากมากจะรับมือด้วยการขึ้นดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว
มันเกี่ยวอะไรกับค่าเงินดอลล่าร์ ที่กลับแข็งเป๊กแบบนี้?
เฟดซื้อสินทรัพย์เข้าไปจนถึงตอนนี้ขนาดโตเกือบๆ 9 ล้านล้านดอลล่าร์ แล้วบอกว่า ไม่ซื้อแล้วนะ แถมจะขายของที่มีออกมาด้วย แปลว่า เฟดกำลังดูดสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจ
ซึ่งการขายนี้ เฟดจะขายที่ส่วนลดด้วย กล่าวคือ น่าจะยอมขายถูกให้คนมาซื้อ ก็เลยทำให้นักลงทุนที่ถือ US Treasury อยู่ เร่งขายออกจากพอร์ตก่อน เราเลยเห็นราคาตราสารหนี้ต่ำลง (Yield ในตลาดปรับตัวสูงขึ้น) US Treasury ตัวยาว Yield ดีดกันหมด ตอนนี้ 10Y Yield อยู่ที่ 2.82% สูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2018
1
US Treasury Yield 10 Year
ขาย US Treasury ก็ต้องกลับมาถือ USD ไว้ก่อน นี่คือ สาเหตุที่ Dollar Index แข็งเป๊กอย่างที่เราเห็น
แล้วดอลล่าร์จะแข็งค่าไปอีกนานแค่ไหน?
1
ที่ Dollar Index 102 จุด คือ จุดสูงสุดตอน WHO ประกาศโควิด-19 เป็น Pandemic ในเดือนมี.ค. ก่อนเฟดจะงัด QE Unlimited มาใช้
1
ที่ Dollar Index 103.8 จุด คือ จุดสูงสุดตอนเดือนม.ค. 2017 คือ ช่วงที่อดีตปธน.ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่ง และเซ็น Executive Order ต่างๆเพื่อดึงการจ้างงานกลับอเมริกา
นี่คือ 2 แนวต้านที่ถ้าผ่านได้ ก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับ Fund Flow ของโลกนะครับ ให้จับตากันไว้
ไม่ใช่ไม่มีโอกาสนะ เพราะหลังจากชาติตะวันตกพยายามจะแบนรัสเซีย ก็เห็นจะเป็นสหรัฐฯนี่ละ ที่ได้ประโยชน์จากการจะเป็นที่ขายก๊าซธรรมชาติให้ยุโรปแทน ชดเชยปริมาณที่หายไปจากการตัดสัมพันธ์กับรัสเซีย
แถมปัญหา Supply Shortage ที่โลกเจออยู่ รวมถึงการล็อคดาว์นที่เซี้ยงไฮ้ของจีน ก็กระทบกับการขนส่งกระจายสินค้าทั้งโลก รวมถึงที่สหรัฐฯ
รายงานจาก Global Container Freight Markets ที่ S&P Global Commodity Insights พบว่า ผู้บริโภคชาวอเมริกันใช้จ่ายมากขึ้นในการซื้อของชำและสินค้าขายปลีกในเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา และการใช้จ่ายขายปลีกก็แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งแปลว่า ชาวอเมริกัน ควักกระเป๋าใช้จ่ายเยอะขึ้น ทำให้เงินเฟ้อยังน่าจะอยู่ระดับสูงแบบนี้ไปอีกซักระยะ และเฟดก็ต้องขึ้นดอกเบี้ย ไม่มีทางเลือกอื่น
ขึ้นดอกเบี้ยรัวๆ บอนด์ยิลดีดตัวสูง หุ้นโดนเทขาย แบบนี้ตลาดหุ้นโลกจะเข้าสู่ Bear Market ไหม?
Bloomberg มีการทำ Bear Market Score Card ไว้ น่าสนใจที่เดียว โดยบอกว่า เหตุผลที่ตลาดจะเข้าสู่ Bear Market มีอยู่ทั้งหมด 3 Factors ใหญ่ๆ คือ
  • 1.
    การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง
  • 2.
    การเกิด Inverted Yield Curve ของพันธบัตรสหรัฐฯ
  • 3.
    การเกิด Geopolitical Tension หรือ ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์
2
Bear Market Score Card (Bloomberg - CFRA Research)
ซึ่งจากการศึกษาย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 1946 จนถึงปัจจุบัน มีช่วงที่ 3 ปัจจัยเกิดพร้อมกันทั้งหมด 4 ครั้ง คือ ปี 1956 / 1974 / 1980 / 2000
ล่าสุด ณ จุดที่เรายืนอยู่นี้ ต้องยอมรับว่า ทั้ง 3 ปัจจัย เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว นั่นแปลว่า โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีก 12 เดือนข้างหน้า สูงมากทีเดียว
แต่ เราก็อาจยังมีเวลาปรับพอร์ตของเรา เพราะข้อมูลในอดีต การเกิด Inverted Yield Curve ถึงแม้เกิดแล้ว มันก็มี Lag Time ของมันก่อนที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยจริง
Inverted Yield Curve vs. US Real GDP Growth
Inverted Yield Curve เกิดขึ้นมานับตั้งแต่ปี 1978 ทั้งหมด 6 ครั้ง 12 เดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว 5 ครั้ง S&P 500 Index ยังบวกได้ต่อ จะมีก็ปี 2000 ที่ตลาดเข้าสู่ขาลงทันทีเพราะเจอวิกฤต dotcom bubble พอดี
Historical Inverted Yield Curve impact to S&P500 Index
โควิด-19 ยังไม่จบดี วิกฤตยูเครนก็มาซ้ำเติม เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นในรอบหลาย 10 ปี ความเสี่ยงเศรษฐกิจรออยู่ข้างหน้า แต่เครื่องมือกระตุ้นที่มีในมือ ถูกใช้ไปจนหมดแล้ว
เหตุผลเดียวที่หุ้นจะไม่ปรับฐานและมีแรงซื้อกลับเข้ามา คงเหลือแค่ว่า เพราะเราไม่รู้จะเอาเงินที่มีไปทำอะไรในสถานการณ์แบบนี้ ซึ่งมันก็จริงครับ ดังนั้น ถ้าตลาดปรับฐานลงมาลึกๆอีกรอบ เราต้องหาโอกาสให้เจอนะ
1
และแน่นอนว่า การกระจายความเสี่ยง จัด Asset Allocation ให้เหมาะสม ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือ ทางรอด สำหรับนักลงทุนทุกคน
You should have a strategic asset allocation mix that assumes that you don't know what the future is going to hold.
Ray Dalio
โฆษณา