18 เม.ย. 2022 เวลา 11:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สื่อสารวิทยาศาสตร์ ≠ การเล่าวิทยาศาสตร์
ในชั้นเรียนมัธยมศึกษาที่เรานั่งเรียนวิทยาศาสตร์ เคยย้อนคิดกันไหมว่าทำไมเมื่อเรายังเด็กถึงสนใจวิทยาศาสตร์ เต็มไปด้วยความใคร่รู้แต่พอเรียนวิทยาศาสตร์ไปเรื่อยๆกลับรู้สึกเบื่อและไม่เข้าใจ ยิ่งเรียนก็ยิ่งรู้ แต่รู้แล้วเอาไปทำอะไร? ปัญหาดังกล่าวเกิดจากความบกพร่องของการสื่อสารวิทยาศาสตร์หรือการเล่าวิทยาศาสตร์?
สื่อสารวิทยาศาสตร์ ≠ การเล่าวิทยาศาสตร์
การสื่อสารและการเล่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่แตกต่างกันพอสมควร ขอเริ่มที่การเล่าวิทยาศาสตร์ก่อน เพราะเป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายกว่า อยู่แทบทุกหาทุกแห่งในโลกประจำวัน การเล่าวิทยาศาสตร์เริ่มต้นเมื่อคุณพูดอะไรออกจากปากแล้วลมที่ออกมาคือชุดข้อมูลที่เป็นความรู้ “สำเร็จรูป” ทางวิทยาศาสตร์
ไม่ว่าจะเป็นบทสนทนาของเด็กๆที่คุยในวงโต๊ะอาหารเพราะคาบเรียนต่อไปต้องเรียนเคมี หรือคนที่นั่งฟังคลิปยูทูปเรื่องเกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัมแล้วนั่งงงอยู่หน้าจอ และคิดว่าตัวเองเข้าใจแล้ว หรือแม้แต่ครูหน้าชั้นเรียนที่กำลังอธิบายการทำงานของร่างกายในวิชาชีววิทยา การเล่าวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องแสนง่ายที่ใครๆก็เล่าได้ เพียงอ่านหนังสือมากและจดจำข้อมูลสำเร็จรูป ส่งต่อสิ่งเหล่านี้ให้คนอื่น
บางครั้งคนเหล่านี้คิดว่า นี่ฉันเริ่มสื่อสารวิทยาศาสตร์แล้ว! ซึ่งในมุมมองผมนั้นเขาคิดผิดมหันต์ การป้อนเพียงข้อมูลที่ไม่ฝึกให้คนคิด วิเคราะห์ ตั้งคำถาม หรือเปิดมุมองแบบใหม่ที่จะเสริมสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้นั้นไม่ใช่การสื่อสารวิทยาศาสตร์ เพราะการสื่อสารต้องมีทั้งข้อมูลและกระบวนการคิด นักเล่าวิทยาศาสตร์จะยื่นการแฟลาเต้เพิ่มหวานให้ผู้ฟัง แต่นักสื่อสารจะยื่นเมล็ดกาแฟพร้อมเครื่องขั้ว ส่วนนำ้ร้อนคือหน้าที่ที่เราจะหามาเอง เหมือนผู้ฟังที่มีหน้าวิเคราะห์เพื่อตกผลึกความรู้ความเข้าใจ
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์เป็นนักเล่าวิทยาศาสตร์ได้ แต่นักเล่าวิทยาศาสตร์ต้องขัดเกลาแนวคิดของตน ผ่านการใช้หินลับมืดที่ตนชอบ ไม่ว่าจะเป็นปรัชญา (Philosophy) ซึ่งไม่ใช่คำสวยหรูในการดำเนินชีวิตแต่อย่างใด สิ่งที่เหล่านักเล่าวิทยาศาสตร์ขาดไปคือ การแฝงแนวคิดให้คนฟังได้ขบ ไม่ใช่เพียงแต่ขบคิดในตัวเนื้อหาแต่เป็นการขบคิดวิธีการ
ภาพ The School of Athens อ้างอิงhttps://en.wikipedia.org/wiki/The_School_of_Athens
การมีความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อการตระหนักถึงความสำคัญในชีวิตประจำวัน การแชร์ข่าววิทยาศาสตร์ประจำวันจะไร้ค่าถ้าไม่ได้สื่อสารอะไรไปให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านได้คิด การเล่าเนื้อหาวิทยาศาสตร์ยากๆให้ง่ายเเล้วคิดเพียงว่าคือการสื่อสารก็ไร้ค่า ถ้าคนคนนั้นฟังจบแล้วไม่ศึกษาต่อ การสื่อสารให้ประยุกต์องค์ความรู้นอกกรอบวิทยาศาสตร์มาหาความเชื่อมโยงด้วยเหตุผล สร้างองค์ความรู้ใหม่จึงเป็นการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่ให้อะไรกับสังคม จึงไม่แปลกอะไรที่เมื่อเราฟังเรื่องเล่าวิทยาศาสตร์แล้วเบื่อ เพราะเสิร์ฟอะไรเดิมๆ แต่การสื่อสารวิทยาศาสตร์มักมาพร้อมกับเรื่องเล่าที่ให้ได้ขบคิด สร้างความเร้าใจในการศึกษา
ที่นี้ผมควรวิจารณ์ตนเองในเรื่องนี้ (การส่องกระจกชะโงกดูเงาเป็นสิ่งสำคัญพอๆกับการขบคิดอะไร) มักมีคนบอกผมเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ แต่ผมคิดว่ามิตินั้นหลายคนไม่ค่อยเห็น ผมมักแสดงการสื่อสารวิทยาศาสตร์แบบที่แปลกๆในการเขียนบทความ ถ้าท่านใดอ่านหลายๆบทความของผม แทบไม่มีเนื้อหาวิทยาศาสตร์ แต่แท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้คือการเสนอวิธีคิด
ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์วิทยศาสตร์ ซึ่งผมเล่าไว้ในช่องยูทูปผ่านคลิปมากมาย แล้วเอาเรื่องที่เล่ามาสังเคราะห์เป็นข้อมูลผ่านงานเขียน ท่านผู้อ่านจะเรียกผมว่าอะไรก็ช่าง แต่ผมเป็นเพียงชายหนุ่มที่นั่งอยู่ร้านกาแฟ หาเมล็ดกาแฟที่กลมกว่าเมล็ดอื่น ในขณะที่ความจริงยังไม่เคยผุดออกมาจากหัวผมแม้แต่น้อย
โปรดติดตามช่อง The Projectile
โฆษณา