19 เม.ย. 2022 เวลา 05:15 • สุขภาพ
เผย 4 สาเหตุความเป็นไปได้ กระตุ้นให้เกิดอาการ ภาวะ "ลองโควิด"
สสส. เผยตอนนี้เริ่มมีผู้ป่วยที่มีอาการ "ลองโควิด" มากขึ้น พร้อมชี้ข้อมูลความเป็นไปได้จาก 4 สาเหตุ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ
1
เฟซบุ๊ก Social Marketing Thaihealth by สสส. โพสต์ข้อความเรื่อง "ภาวะลองโควิด" โดยระบุว่า ตอนนี้เริ่มมีผู้ป่วยโควิดที่มีอาการลองโควิด (Long Covid) มากขึ้น วันนี้เลยชวนมาทำความรู้จักลองโควิด อันตรายแค่ไหน สาเหตุมาจากอะไรกันแน่
ภาวะลองโควิด คือการที่ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการต่อเนื่องนานกว่า 3 เดือนหลังติดเชื้อ ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงตั้งแต่ต้น
มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ระยะเวลาของอาการมีตั้งแต่หลายเดือนจนถึงเป็นปี หลายอาการรักษาได้ แต่หลายอาการต้องรักษาระยะยาว และอาจมีผลต่อร่างกายถาวร
1
สำหรับข้อมูลปัจจุบัน พบว่ามีความเป็นไปได้ 4 สาเหตุ ดังนี้
1
1. มีเชื้อไวรัสหลงเหลือในอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื่อง
2. การอักเสบในหลายอวัยวะ ทำให้อวัยวะผิดปกติแบบถาวรส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว
3. ผลกระทบจากการรักษาและนอนโรงพยาบาลในระยะเวลานาน
1
4. ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ภายหลังการติดเชื้อ
ทางด้าน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ผู้ป่วยลองโควิด-19 ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตนเองอยู่เสมอ ด้วยการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย
1
เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และหากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ หลายๆ มื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย
รวมทั้งควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนยแข็ง ถั่วต่างๆ เต้าหู้ และบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว
โดยควรเลือกชนิดที่มีน้ำตาลน้อย กินร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์สุขภาพ และยังช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
1
ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภท Junk Food อาทิ อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่าง ของทอด ของมัน หรืออาหารรสจัด ย่อยยาก รวมทั้งควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาหารเหล่านี้มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง.
3
ขอบคุณเฟซบุ๊ก Social Marketing Thaihealth by สสส.
โฆษณา