Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บ้านเขาเมืองเรา
•
ติดตาม
20 เม.ย. 2022 เวลา 10:45 • ข่าวรอบโลก
สงครามรัสเซียกับยูเครน กับการหักดิบด้านพลังงานของยุโรป
มานั่งนึกเรื่อง #ยูเครน กับ #รัสเซีย ใน 2 มิติคือ เรื่องการเมือง ความมั่นคง กับ เรื่องเศรษฐกิจ และพลังงาน แล้ว มันมีอะไรที่ดูแปลกๆ ที่มันเกิดขึ้น และลุกลามจนเป็นสงครามแบบทุกวันนี้
อันที่จริงความขัดแย้งครั้งนี้ เริ่มมาจากเรื่องการเมือง และความมั่นคงของประเทศ ของ 2 ประเทศ ที่ใกล้ชิดกัน และเคยเป็นประเทศเดียวกันมาก่อน แต่ด้วยความที่ ยูเครน ต้องการออกจากอิธิพลของประเทศเพื่อนบ้านอย่างรัสเซีย โดยหวังจะใช้อิธิพลของคนไกลบ้าน อย่างสหรัฐ และนาโต้ มาปกป้องอำนาจอธิปไตยของตัวเอง ทีรั้วอยู่ติดกัน โดยหวังว่าเมื่อ ซบอก นาโต้แล้ว รัสเซีย จะไม่กล้าทำอะไรตัวเอง จะได้รับการสนับสนุนทางการเงินและอาวุธจากนาโต้ด้วย
ภาษา และ ผู้คนในยูเครน จำนวนมากใช้ภาษารัสเซีย และในหลายภูมิภาคเป็นคนรัสเซีย
ดูเหมือนจะดี แต่ลืมไปว่ามันคือการบ่อนทำลายความมั่นคงของรัสเซียอย่างเต็มๆจนรัสเซียเองก็ยอมไม่ได้ เพราะเดิมรัสเซียมีเบรารูส กับยูเครนเป็นรัฐกันชนที่ทำไม่รัสเซียไม่ต้องมีพรมแดนติดกับอิธิพลของยุโรป (โดยเฉพาะทางการทหาร) หากยูเครนไปเข้ากับยุโรป รัสเซียซึ่งมีชายแดนติดกับยูเครนยาวมาก และหากดูจากแผนที่ จะเห็นชัดว่าเขตประเทศยูเครนนั้นมีพื้นที่เว้าเข้าไปใกล้เมืองสำคัญๆ ของรัสเซีย โดยเฉพาะมอสโก ทำให้ยากต่อการป้องกันหากต้องรบกัน และยังสุ่มเสี่ยงต่อการถูกจรวดของนาโต้ถล่มเมืองหลวง อย่างมอสโกได้ง่ายๆ
นอกจากนั้นยังมีเรื่องความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติในยูเครนเอง เพราะในยูเครนก็มีคนที่ใช้ภาษารัสเซีย (ไม่ใช่เชื้อสายยูเครนแท้ๆ) อยู่กว่า 20-30% และยังมีคนยูเครนที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นหลักอีกไม่น้อย ซึ่งคนกลุ่มนี้บางส่วนเห็นต่างจารัฐบาลยูเครน ที่จะไปเข้ากับตะวันตก จนขอแยกตัวเองในการปกครองมาแล้ว อย่างสาธารณรัฐ โดเน็ตสต์ กับ ลูฮันส์ และมีการสู้รบกันอยู่ตลอดเวลา หลายปีที่ผ่านมา มีความสูญเสียเกิดขึ้น จนขอให้รัฐบาลรัสเซียเข้าไปช่วย ซึ่งรัสเซียก็ทำอยู่เบื้องหลัง ไม่ออกหน้ามากนัก จนความขัดแย้งเริ่มบานปลาย
รัสเซียจึงเดินหน้าอีกครั้งเริ่มจาก ไครเมียร์ ที่คนส่วนใหญ่ที่นั่นคือคนเชื้อสายรัสเซียแทบทั้งหมดอยู่แล้ว ที่รัสเซียเข้าไปยึดและให้โหวตว่าชาวไครเมียร์ จะอยู่กับใคร ผลก็คือ ชาวไครเมียร์ เลือกจะอยู่กับรัสเซีย เรียบร้อยโรงเรียนรัสเซียไปก่อนแล้ว โดยไม่มีใครช่วยยูเครนทำอะไร ก็ได้แค่คว่ำบาตรกันไป แต่ยุโรปก็ยังต้องซื้อขาย ทำการค้ากับรัสเซียอยู่ แม้แต่ท่อก๊าซเส้นใหม่ที่ต่อตรงจากรัสเซียผ่านทะเลบอลติด ขึ้นที่เยอรมัน ก็ยังสร้างต่อแม้รัสเซียเข้าไปยึดไครเมียร์เรียร้อยแล้ว เพราะเยอรมันพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียมากพอสมควร 20-40% ของก๊าซที่ใช้ในเยอรมันมาจากรัสเซีย (แต่ตอนนี้ น่าจะตายสนิทไปแล้ว เพราะวิกฤติล่าสุด EU รวมถึงเยอรมันเลือกข้างสหรัฐ คว่ำบาตรรัสเซียเต็มตัวทุกด้าน ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน)
ไม่เฉพาะเยอรมัน ประเทศในยุโรปอีกหลายประเทศพึ่งพาก๊าซราคาถูกจากรัสเซีย เราอาจแบ่งกลุ่มได้คร่าวๆคือ
1. พึ่งพาก๊าซจากรัสเซีย 100% : ฟินแลนด์ บัลแกเรีย ลิทัวเนีย ลัธเวีย เอสโตเนีย กลุ่มนี้ใช้ก๊าซจากรัสเซียเพียงแหล่งเดียว หากรัสเซียหยุดขาย คงลำบาก
2. พึ่งพาก๊าซจากรัสเซียมาก คือใช้ก๊าซจากรัสเซียประมาณครึ่งหนึ่งของความต้องการในประเทศ : โปแลนด์ เช็ค สโลวาเกีย สโลเวเนีย ออสเตรีย และ กรีซ
3. พึ่งพาก๊าซจากรัสเซียปานกลาง คือ 20-40% : เยอรมนี ฮังการี โครเอเชีย ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม
4. เพิ่งพาก๊าซจากรัสเซียน้อยกว่า 20 %: ฝรั่งเศส อิตาลี โรมาเนีย
โครงข่ายท่อก๊าซของรัสเซียที่ต้องส่งผ่านยูเครน ย่อมทำให้ยูเครนมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์พลังงานอย่างยิ่ง ก่อนจะสร้างท่อใหม่ผ่านทะเลบอลติกทางตอนเหนือเพื่อส่งให้เยอรมันโดยไม่ผ่านยูเครน
หากจะดูรูปโครงข่ายท่อก๊าซที่เชื่อมกันระหว่างรัสเซียไปยุโรป ก็จะพอมองเห็นภาพความสัมพันธ์ทางพลังงานที่ค่อนข้างแนบแน่น และท่อก๊าซเส้นหลักที่เชื่อมต่อระหว่างรัสเซียกับยุโรปนั้น ผ่านยูเครนเป็นหลัก รองลงมาคือ เบรารูส เพราะตอนสร้างท่อเหล่านี้ ยังเป็นประเทศในเครือเดียวกัน จะเห็นได้ชัดว่าท่อบางเส้นที่สร้าง เพื่อเชื่อมโครงข่ายท่อส่วนเหนือลงใต้ของรัสเซีย ยังมีป่านเข้าไปในประเทศยูเครน ก่อนวกเข้ามาในรัสเซีย วนลงไป ออกทะเลดำ
อย่างไรก็ตาม ด้วยเรื่องความขัดแย้งของรัสเซียกับยูเครนที่ผ่านมาในอดีต ทำให้รัสเซียต้องสร้างท่อก๊าซเพิ่ม ด้านเหนือคือ Nord Stream ผ่านละเลบอลติก ต่อตรงไปเยอรมัน โดยไม่ผ่านยูเครน และเบรารุส และด้านใต้ ผ่านทะเลดำ ต่อตรงไปตุรกี และจะไปบัลแกเรียด้วย เพื่อลดการต่อรองของยูเครน ที่ใช้ท่อก๊าซและการเรียกเก็บค่าหัวคิวผ่านท่อ ของก๊าซจากรัสเซีย (อันที่จริง ยูเครนก็ได้ผลประโยชน์จากจากการส่งต่อก๊าซรัสเซียจำนวนมหาศาลด้วยเช่นกัน น่าจะคุยกันได้นะ) จากภาพการเชื่อมโยงของโตรงข่ายท่อก๊าซ ทำให้เราพอมองเห็นแล้วว่า หาก EU และ สหรัฐ คว่ำบาตรรัสเซีย สิ่งที่จะเกิดคือ ก๊าซรัสเซียซึ่งเป็นแหลงพลังงานถึง 40% ของยุโรปอาจหายไป คนที่เดือดร้อนคือ รัสเซียที่ขายก๊าซไม่ได้ และคนยุโรป รวมถึงยูเครน จำนวนมากที่จะไม่มีก๊าซใช้
แต่ในอีกซีกทวีปด้านเอเชียของรัสเซีย ได้มีการต่อท่อก๊าซ และขายให้จีนมาตั้งแต่ปี 2019 ผ่านท่อก๊าซยาว 4,000 กม.ชื่อ Power of Siberia และจีนซื้อก๊าซจากรัสเซียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งผ่านท่อและผ่านเรือขน LNG โดยคาดว่าจีนใช้ก๊าซจากสัสเซียในปี 2021 มากถึง 16,500 ล้านคิวบิกเมตร และอนาคต ความต้องการจะสูงขึ้นถึง 38,000 ล้านคิวบิกเมตร ในปี 2025 ซึ่งทำให้มีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซเพิ่ม จากรัสเซียมาจีน โดยมีข่าวฮือฮากันเมื่อต้นเดือน ก.พ. 65 ที่ผ่านมาเมื่อจีนกับรัสเซียตกลงซื้อขายก๊าซธรรมชาติเพิ่ม อีก 10,000 ล้านคิวบิกเมตร และเป็นสัญญา 30 ปี โดยกำหนดซื้อขายเป็นเงินสกุล EURO ไม่ใช่ดอลล่า (ท่อเส้นนี้ไม่ได้เชื่อมต่อถึงท่อก๊าซที่ขายให้ยุโรป)
แนวท่อก๊าซ ระหว่างจีนกับรัสเซีย ที่จะเป็นตลาดใหม่และใหญ่ให้กับก๊าซรัสเซียในอนาคต
อ่านมาถึงตรงนี้ คงมองเห็นภาพรวมจากหลายมิติ ว่า ทำไมรัสเซียถึงยอมให้ยูเครนไปเข้ากับนาโต้ไม่ได้ มันมีทั้งเรื่องของพลังงานและเรื่องของความมั่นคงของชาติของรัสเซีย
ใครจะว่ารัสเซียผิดที่เลือกใช้ความรุนแรง (ซึ่งก็ผิดจริง) แต่ก็ต้องไปดูดีๆ ว่ารัสเซียได้เคยเตือนมาหลายรอบแล้ว แต่ทั้งนาโต้ และยูเครนก็เลือกเดินในทางที่รัสเซียเตือน ทั้งๆที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น ถ้านาโต้ประกาศว่าจะยังไม่รับยูเครนเข้านาโต้ในตอนนี้ (ตอนหน้ายังไม่รู้) เพื่อลดความตึงเครียดในขณะที่รู้อยู่แล้วว่ารัสเซียเคลื่นพลพร้อมบุกแล้ว แต่ก็ไม่ทำ
แต่กลับยั่วยุให้รัสเซียบุก โดยการบอกว่า เราจะสนับสนุนการตัดสินใจของยูเครน (แต่ก็ไม่ได้บอกว่าจะรับหรือไม่รับยูเครนเข้านาโต้) พอเริ่มรบกันแล้ว แทนที่จะมารวมหัวกันคว่ำบาตรทุกทาง ทำไมไม่ออกมาพูด ว่า เพื่อเห็นแก่ความสงบของภูมิภาค เราจะยังไม่พิจารณารับยูเครนเข้าสู่นาโต้ และอยากให้หยุดยิ่งและเริ่มเจรจาสันติภาพ (UN ก็ควรทำตรงนี้ด้วย ไม่ใช่บังคับให้โลต้องเลือกข้างออกมาประณามรัสเซียในเวทีโลก แต่ไม่ได้ประโยชน์อะไร ไม่ก่อให้เกิดสันติภาพ)
แต่กลับร่วมกันลงขัน ส่งเงินส่งอาวุธ ให้ยูเครน เพื่อต่อสู้กับรัสเซีย ในขณะเดียวกันก็เตะตัดขารัสเซีย ด้วยการตัดช่องทางการเงินทั้งหมด และกำลังจะคว่ำบาตรด้านพลังงานต่ออีก คำถามคือใครเดือดร้อนบ้าง? มีใครในยุโรปได้ประโยชน์จากความขัดแย้งนี้หรือไม่? หรือเบื้องหลังมีอะไร? มีแต่เสียกับเสีย เสียเงินดูแลผู้ลี้ภัย เสียเงินส่งให้รัฐบาลยูเครน เอามาซื้ออาวุธ เพื่อรบกันต่อไป? หรือว่าท่านขายอาวุธได้ด้วย ยิงก่อนเก็บที่หลังหรือไม่? แถมออกเงินกู้เร่งด่วนจากธนาคารโลกให้ยูเครน หลายหมื่นล้านบาท เอามาทำอะไรตอนนี้? ซื้ออาวุธ? แล้วยูเครนจะเอาเงินตรงไหนไปจ่ายคืนหนี้? มันควรจะทำให้จบสงครามก่อน แล้วค่อยให้เขากู้ไปพัฒราบ้านเมืองใช่หรือไม่? ที่น่าคิดคือถ้ากู้มาแล้วใช้หนี้ไม่ได้ ยูเครนจะโดนเจ้าหนี้ควบคุมอะไร อย่างไรบ้าง? นึกภาพถึงตอน IMF ให้ไทยเรากู้ขึ้นมาทันที สุดท้ายก็เป็นเมืองขึ้นทางการเงินการคลัง กับยุโรปไปอีก
เอ๊ะ แล้วใครได้ประโยชน์จากความขัดแย้งบ้าง นั่นแหละต้นกำเนิดของทุกสิ่งทุกวันนี้ มันเป็นแค่ผลของการจัดการผลประโยชน์ และการขยายอำนาจไม่หยุด ไม่พอ ผมเชื่อว่าในโลกยุคใหม่นี้ไม่มีใครอยากก่อสงคราม ถ้าไม่จำเป็น เพราะเมื่อเกิดแล้ว พอหลังสงคราม มุมมองระหว่างประเทศจะเปลี่ยนไป มีการแบ่งโลกเป็นสองขั้วที่ชัดเจนขึ้น สร้างความตึงเครียด สะสมอาวุธ (ใครได้ประโยชน์) และเข้าสู่สงครามเย็นรอบใหม่ได้ ถ้าไม่รีบเคลียร์ให้จบๆกันไปในพื้นที่จำกัด
ดร.เอกรินทร์ วาสนาส่ง
7 มี.ค. 2565
ยูเครน
พลังงาน
2 บันทึก
6
1
6
2
6
1
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย