22 เม.ย. 2022 เวลา 08:26 • ประวัติศาสตร์
พระยาพิมพิสารราชา
๒๓๙๐ - ๒๔๒๙
เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ ๒๑
บันทึกในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔
กล่าวว่า
“...เมืองแพร่นั้น
เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์นั้น พระยาแสนซ้ายได้เป็นเจ้าเมือง
ครั้นถึงแก่กรรมแล้วโปรดเกล้าฯ
ตั้งพระเมืองใจบุตรพระยาแสนซ้าย
เป็นพระยาแพร่ๆ ถึงแก่กรรมแล้ว
โปรดเกล้าฯ ตั้งพระอินทวิไชยบุตรพระเมืองใจ
เป็นพระยาแพร่ ครั้นถึงแก่กรรมแล้ว
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ตั้ง ราชวงษ์พิมสารบุตร พระยาวังขวา
มารดาเป็นน้องพระยาแพร่แสนซ้ายเป็นพระยาแพร่...
เอกสารที่บันทึกถึงลำดับ
ราชวงศ์เจ้าหลวงนครแพร่โดยตรงของล้านนา
คือพับสาที่เก็บรักษาไว้วัดดอยจำค่า ระบุว่า
“จุลสักกราชได้ ๑๑๓๕ ตัว(พ.ศ.๒๓๑๖)
ปีกดสี
เจ้าหลวงลิ้นทองเสวยเมืองอยู่ได้ ๔๕ ปี
(พ.ศ.๒๓๑๖ – ๒๓๕๙)เถิงสวัรคต ว่าง ๑ ปี
(พ.ศ.๒๓๖๐) เจ้าหลวงอินทวิไชยผู้เปนลูก
ขึ้นแทนอยู่ได้ ๓๑ ปี(พ.ศ.๒๓๖๑ – ๒๓๙๒)
ว่าง ๑ ปี(พ.ศ.๒๓๙๓)
เจ้าหลวงพิมพิสารขึ้นแทนอยู่ได้ ๓๘ ปี
(พ.ศ.๒๓๙๔ – ๒๔๓๒)
ว่าง ๒ ปี(พ.ศ.๒๔๓๓ – ๒๔๓๔)
เจ้าหัวหน้าเทพวงส์ตนเปนลูก
ขึ้นแทนอยู่ได้ ๑๐ ปี(พ.ศ.๒๔๓๕ – ๒๔๔๕)
ปีเต่ายี จุลสักกราชได้ ๑๒๖๔ ตัว(พ.ศ.๒๔๔๕)
เดือน ๑๐ แรม ๖ ฅ่ำ วัน ๖
เงี้ยวปลุ้นหนีปีนั้นแล้วแล
รวมเจ้าหลวง ๔ ตนนี้กินเมือง ๑๒๙ ปี
ว่างอยู่ ๕ ปี”
ภาพจากDisapong Netlomwong
โฆษณา