27 เม.ย. 2022 เวลา 06:43 • ความคิดเห็น
วิเคราะห์ "ล็อกดาวน์-ใช้มาตรการโควิด-19 เป็นศูนย์ ได้ผลอย่างไร กับ มหานครเซี่ยงไฮ้ ในการระบาดระลอกใหม่ ที่สื่อจีนถึงกับกล่าวว่า ศึกที่ใหญ่ที่สุดของจีน "
8
ภาพจาก Weibo: 北京晚报
เมื่อ 24 เมษายน 2565 ทางผู้บริหารคณะกรรมการสุขภาพมหานครเซี่ยงไฮ้ แถลงอัปเดตเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในมหานครเซี่ยงไฮ้
โดยระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ของเซี่ยงไฮ้ได้แตะระดับสูงสุดแล้ว โดยมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละวันที่ผันผวนและยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น
2
ซึ่งวันเสาร์ 23 เมษายน ที่ผ่านมา มียอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในพื้นที่เซี่ยงไฮ้ รายใหม่ 39 ราย มากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในวันศุกร์ (22 เมษายน) ถึง 3 เท่า
เซี่ยงไฮ้ มีการเปิดเผยว่า ผู้เสียชีวิตในเซี่ยงไฮ้ ทั้ง 39 ราย ที่ระบุไปข้างต้น มีอายุเฉลี่ยที่ 78.7 ปี โดยมีโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและความดันโลหิตสูง อีกทั้งยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 อีกด้วย
สื่อจีน ได้รายงานข่าว โดยพาดหัวว่า “เซี่ยงไฮ้กำลังต่อสู้กับการระบาดโควิด-19 ครั้งใหญ่ที่สุดของจีน” สอดรับกับที่เซี่ยงไฮ้บอกว่าถึงจุดพีคแล้ว เมื่อ 24 เมษายน 2555
1
ทางคณะกรรมการสุขภาพมหานครเซี่ยงไฮ้ ได้กระตุ้นและเรียกร้องให้ผู้สูงอายุที่มีสิทธิ์รับวัคซีนโควิด-19 ไปรับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด พร้อมระบุว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนักเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
2
อย่างไรก็ตาม ผู้คนทั้งในจีนเองและนอกจีน ต่างยังคงกังวลว่า สถานการณ์แพร่ระบาดในจีน อย่างยิ่งที่เซี่ยงไฮ้ มหานครสำคัญของจีน บ้านของประชากรกว่า 25 ล้านคน จะเป็นอย่างไร?
เพราะแม้ล่าสุด วันนี้ 27 เมษายน ตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่มีอาการจะลดฮวบเกือบเท่าตัว เหลือเพียงหมื่นต้นๆ คือ 11,956 ราย โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อแบบมีอาการอยู่ที่ 1,606 ราย ลดจากวันก่อนหน้าหลักสิบราย แต่มีการเปลี่ยนจากไม่มีอาการเป็นมีอาการ เกิน 300 ราย
ว่ากันตามตรง "สิ่งที่ผู้คนกังวลและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อมีการระบาดโควิด-19 คือ"
4
การล็อกดาวน์และจำกัดการใช้ชีวิต
1
โดยมาตรการที่ทางการจีนนำมาใช้ป้องกันและควบคุมโควิด-19 ทั้งเซี่ยงไฮ้และทั่วจีน ก็ยังคงอยู่ภายใต้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ หรือ zero covid อย่างการล็อกดาวน์ จำกัดการใช้ชีวิต จำกัดการเดินทาง และระดมตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั่วทั้งเมือง
2
ภายใต้คำถามจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะสื่อจากโลกตะวันตก ว่า
นโยบาย "โควิดเป็นศูนย์" ได้ผลจริงๆหรือ?
เพราะสถานการณ์ก็ยังคงรุนแรง มีเคสผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่สัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบต่อธุรกิจของมหานครเซี่ยงไฮ้ ในฐานะศูนย์กลางการเงินและการค้าที่สำคัญของจีน ก็มีให้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเซี่ยงไฮ้ ลดลงมากถึง 10.9% ในเดือนมีนาคม 2565 ทั้งที่เพิ่งจะเห็นตัวเลขเพิ่มขึ้น 11.9% ในช่วงสองเดือนแรกของ 2565
ตามตัวเลขที่รายงานออกมาโดยสำนักงานสถิติมหานครเซี่ยงไฮ้
2
ในมหานครเซี่ยงไฮ้ ในช่วงโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ บังคับใช้มาตรการเข้มงวดตามนโยบายโควิดเป็นศูนย์ อย่างล็อกดาวน์ เราก็ได้เห็นการลดลงอย่างหนักของยอดการค้าปลีก
1
ยอดค้าปลีก ลดลง 18.9% ในเดือนมีนาคมเพียงเดือนเดียว ทั้งที่เพิ่งจะมีข่าวดีเล็กๆ ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 3.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในช่วงสองเดือนแรกของ 2565
2
สื่อจีนเริ่มนำเสนอภาพการออกไปใช้ชีวิตประจำวันและซื้อสินค้าที่จำเป็นของผู้คนในเซี่ยงไฮ้ โดยก่อนหน้านี้ มีกระแสเชิงลบออกมาว่า การล็อกดาวน์ส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่ยากลำบาก ขาดสินค้าประจำวันในการดำรงชีวิต / ภาพจาก CGTN.com โดยทาง CGTN นำจาก CFP มาอีกทีครับ
หลายวันมานี้ ทางสื่อจีนและตัวเจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญในจีนพากันชี้แจง "เหตุผลที่จีนยังต้องใช้มาตรการเข้มงวด ภายใต้นโยบาย โควิดเป็นศูนย์" เพื่อชี้แจงข้อสงสัยของต่างชาติและสื่อตะวันตก และก็ต้องยอมรับว่าลดทอนกระแสเชิงลบที่ทางสื่อต่างชาติได้เผยแพร่เมื่อช่วงสัปดาห์ก่อนเกี่ยวกับ "การประท้วงของคนเซี่ยงไฮ้แบะคนจีนในโลกโซเชียลจีน ซึ่งแน่นอนว่าทางจีนก็พยายามเซ็นเซอร์ออกไปโดยไว"
2
อย่างเช่น เมื่อเร็วๆนี้ เหลียง ว่านเหนียน หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญรับมือโควิด-19 ของ คณะกรรมการสาธารณะสุขแห่งชาติจีน ระบุว่า
2
จีนยังต้องเข้มงวดและใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์แบบไดนามิก เพื่อต้องหาแหล่งต้นตอของการระบาดโควิด-19 ในแต่ละครั้งที่เจอยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่
และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ วัคซีน หากจีนมีวัคซีนและยาที่มีประสิทธิภาพปกป้องกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มอ่อนแออย่างเช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ได้ดีขึ้น รวมทั้งมีอัตราการฉีดวัคซีนในกลุ่มนี้มากขึ้น ก็จะสามารถผ่อนคลายนโยบายได้
เหลียง ว่านเหนียน หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญรับมือโควิด-19 ของ คณะกรรมการสาธารณะสุขแห่งชาติจีน
เมื่อมีการพูดถึงเรื่องวัคซีน ที่ทางการเซี่ยงไฮ้และทางจีนกระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกมาฉีดวัคซีนให้มากขึ้นและโดยเร็วที่สุด
1
ผู้สูงอายุในมหานครเซี่ยงไฮ้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ภาพจาก globaltimes.cn
ผมขอเล่าเพิ่มเติมนะครับว่า ปัจจุบัน จีนยังไม่มีการอนุมัติใช้วัคซีนโควิด-19 แบบ mRNA ที่ผลิตโดยต่างประเทศ มีแต่อนุมัติในการทดลองทางคลินิกสำหรับวัคซีน mRNA ที่ผลิตโดยบริษัทและหน่วยงานจีนเท่านั้นครับ
2
หมายความว่า วัคซีนที่จีนใช้เป็นหลักก็ยังเป็นตัวเดิม และแม้มีการฉีดเข็มกระตุ้นก็กระตุ้นด้วยวัคซีนเทคโนโลยีเดียวกันกับ เข็มหนึ่งเข็มสองนั่นเอง ทำให้ต่างชาติเองก็วิจารณ์ประเด็นนี้เช่นกัน
1
จากการวิเคราะห์นะครับ จีนยึดหลัก
"ตามแบบฉบับจีนและควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะเป็นเรื่องของประชาชนตนเองด้วยแล้ว จีนจึงยังเน้นที่ผลิตในจีนเป็น First Priority ความสำคัญลำดับแรก"
ถ้าทุกคนจำกันได้ เมื่อปีที่ผ่านมา สี จิ้นผิง ก็ยกการพัฒนาวัคซีนของจีนเป็นสินค้าสาธารณะเพื่อโลก มุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน เฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาวัคซีน
โดยตอนนี้ทาง Sinovac และ Sinopharm ได้กำลังพัฒนาและทดลองทางคลินิกวัคซีนสำหรับโควิดสายพันธุ์ Omicron โดยเฉพาะแล้วครับ
1
สรุปแล้ว ผมมองว่า ไม่ว่าใครจะวิพากษ์วิจารณ์แนวทางของจีนอย่างไร ทางการจีนภายใต้การนำของสี จิ้นผิง ก็จะดำเนินตามแนวทางอันมีเอกลักษณ์เฉพาะของจีนเอง เหมือนกับที่เขาแสดงจุดยืนในประเด็นทางการเมือง ทางการต่างประเทศว่า
"การที่แต่ละประเทศจะดำเนินไปในทิศทางไหน ก็ต้องดูบริบทและเป้าประสงค์ของประเทศนั้น ในเรื่องนี้จีนเองก็เป็นเช่นนั้นครับ"
เราก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า สถานการณ์โควิด-19 ในจีนดำเนินไปในทิศทางไหนต่อ แต่ที่แน่ๆ ผมฟันธงว่าคงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน แต่แบบค่อยเป็นค่อยไป ดังเช่นที่จีนเริ่มปรับมาตรการโควิดเป็นศูนย์มาใช้คำว่า ไดนามิกนำหน้า สื่อถึงการยืดหยุ่นขึ้น เริ่มอนุญาตให้ประชาชนหาซื้อ atk ตรวจได้เอง ไม่ต้อง rt-pcr เสมอไป เมื่อต้นปี 2565 เป็นต้น
2
อ้ายจงเล่าเรื่องจาก
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #เซี่ยงไฮ้
โฆษณา