14 พ.ค. 2022 เวลา 09:23 • ไลฟ์สไตล์
หากอยากมีเงินเก็บมากขึ้น ต้องจัดการสิ่งนี้
1
"16 ความผิดพลาดในการวางงบการใช้จ่าย"
การจัดสรรงบประมาณการใช้จ่ายไม่ใช่การจำกัดการซื้อของที่คุณอยากได้ ไม่ให้เกินกำลังซื้อ แต่การวางงบประมาณที่ดี จะทำให้คุณสามารถมีอำนาจการใช้จ่ายตามความพึงพอใจของคุณได้
หลายคนล้มเลิกการทำงบการเงินของตัวเอง เพราะรู้สึกอึดอัดที่จะทำตามงบที่ตั้งไว้
16 ข้อผิดพลาดนี้ หากสามารถจัดการได้ เราจะจัดสรรงบการใช้จ่ายได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้นเลยทีเดียว
ชมคลิป https://youtu.be/ymDQjAI75As
1.คาดการณ์ว่าคุณต้องใช้เงินเดือนละเท่าไหร่
คุณต้องบันทึกการใช้จ่ายที่แท้จริง ก่อนลงมือวาง budget อย่างน้อย 1-2 เดือน คุณต้องรู้ว่าคุณใช้เงินในแต่ละวันไปกับเรื่องอะไรบ้าง ค่าอะไรบ้าง มันต้องเป็นการใช้ชีวิตจริงๆของคุณ ไม่ใช่ การตั้ง budget จากการคาดเดา เพราะหากมันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง คุณก็ไม่ทำตามอยู่ดี เพราะมันใช้ไม่พอ
1
2. เก็บออมแบบไม่มีแผน
การทำงบการใช้จ่าย จะช่วยให้เรามองเห็นช่องทางในการเก็บออมมากขึ้น ถ้าออมแบบเหลือก็ออม ไม่เหลือก็ไม่ออม ก็แทบจะไม่ได้ออมเลย การทำงบใช้จ่ายจะทำให้เราเห็นค่าใช้จ่ายคงที่ และ ค่าใช้จ่ายแปรผัน ในแต่ละเดือน ค่าใช้จ่ายแปรผัน จะเป็นตัวกำหนดเงินออมได้ หากเราควบคุมได้ ด้วยการทำงบประมาณ
การโหลดแอพมาใช้ เพื่อเก็บบิลต่าง สำหรับรวมยอดค่าใช้จ่ายแปรผัน เช่น ค่ากาแฟทุกๆวัน ค่าซื้อของจิปาถะในแต่ละวัน แม้เป็นยอดเงินเล็กน้อย แต่เกิดขึ้นซ้ำๆบ่อยๆ รวมแล้วก็เป็นเงินก้อนใหญ่ ที่จะผันกลับมาเป็นเงินออมได้เช่นกัน
1
3. ตั้งความคาดหวังเกินจริง
พอเริ่มทำงบการใช้จ่าย ทุกคนก็จะคาดหวังการปรับปรุงฐานะการเงิน เช่น มีเงินออมให้มากขึ้น หรือสามารถเคลียร์ปิดหนี้บัตรเครดิตให้หมดในเร็ววัน
แต่ควรสำรวจพฤติกรรมการใช้เงินอย่างเคยชินที่ผ่านมาของคุณด้วย เช่นคุณออกไปทานข้าวกลางวันนอกออฟฟิศทุกวัน แล้วคุณคิดจากประหยัดเงินส่วนนั้นกลับมาเป็นเงินออม โดยเปลี่ยนเป็น ทำข้าวกล่องมาทานที่สำนักงาน
แน่นอนว่า คุณจะเปลี่ยนพฤติกรรมทันที มันเป็นไปไม่ได้ คุณต้องเริ่มจาก การทำข้าวกล่องมาทาน 1-2 วันต่อสัปดาห์ ปรับตัวไปเรื่อยๆ จนเหลือ ออกไปทานข้างนอกสัปดาห์ละครั ง ดังนั้นการทำ budget ช่วงแรกๆ คุณไม่ควรคาดหวังสูงเกินไป ที่จะทำตามได้ ค่อยๆลดค่าใช้จ่าย โดยตัวคุณเองต้องไม่อึดอัดมากไป จนเลิกทำตามแผน
1
4. วางงบการใช้เงินหลังหักค่าใช้จ่ายพื้นฐานแล้ว
รายได้ที่เราได้รับ ไม่ใช่รายได้ net แต่ต้องหักภาษี, ประกันสังคม, security fund, provident fund และเบี้ยประกันชีวิต ดังนั้น การวาง budget ใช้จ่าย ต้องเป็นรายได้ที่เหลือรับเข้ากระเป๋าจริงๆ (take home pay) ถึงจะถูกต้อง
5. ไม่ได้มองหาทางเลือกที่ถูกกว่า
การลดปริมาณการใช้จ่ายไม่ใช่ทางออกสำหรับการใช้จ่ายให้อยู่ใน budget เสมอไป แต่การหาวิธีการจ่ายน้อยลงเป็นตัวช่วยอย่างหนี่ง เช่น สำรวจบิลค่าใช้จ่ายประจำว่ามีอะไรบ้าง สามารถหาส่วนลด หาโปรโมชั่น เช่น จากบัตรเครดิต หรือ บางอย่างที่เราต้องซื้อประจำ มีแบบสมัครสมาชิกได้ไหม แล้วได้ส่วนลดเพิ่ม
1
หรือวัสดุสิ้นเปลืองของใช้ในบ้าน เช่น น้ำยาต่างๆ กระดาษทิชชู่ มีของคุณภาพคล้ายกันที่ราคาถูกกว่า หรือมีโปรโมชั่นการสั่งซื้อบ้างไหม
6. มีบัตรเครดิตหลายใบ
ทำให้คุณไม่สามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปจริงๆได้ เพราะไม่มีเวลาดู statement หลายๆใบ ทำให้ไม่ได้ควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ใน budget ได้
ดิวจ่ายที่ไม่ตรงกันอาจจะพลาดจ่ายล่าช้าเสีย ดอกเบี้ยได้ ค่าธรรมเนียมรายปี ที่เรียกเก็บในบัตรบางใบหากใช้ยอดต่อปีไม่ถึง ก็จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปี ตอนสมัครบัตรก็ดึงดูดใจด้วยของแถม แต่พอถือบัตรไว้พร้อมกันหลายใบ กลับกลายเป็นรอยรั่วทางการเงินอย่างหนึ่งเลยทีเดียว
7. มีบ้านหลังใหญ่เกินไป
เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณหลายคนไม่สามารถตัดใจจากบ้านในฝันหลังใหญ่ที่ตัวเองสร้างมาได้ แต่เมื่อลูกๆเติบโต ย้ายไปอยู่ข้างนอกกันหมดแล้ว บ้านหลังใหญ่เกินไปจึงเป็นภาระในการดูแลของคนวัยเกษียณ และเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ในการบำรุงรักษา เมื่อถึงวัยทำงานช่วงท้าย อาจจะต้องปรับลดขนาดที่อยู่อาศัยให้เล็กลงดูแลง่ายตั้งแต่ก่อนวัยเกษียณจริงๆ เพื่อปรับตัวให้ได้ตั้งแต่ยังแข็งแรงอยู่
8. วางเป้าหมายการเงินไว้มากไป สร้างความกดดันให้ตัวเอง
การวางเป้าหมายค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่คนทั่วไปเตรียม คือ เงินชำระหนี้ประจำเช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เงินเก็บเผื่อฉุกเฉินสัก 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เงินเก็บเพื่อการท่องเที่ยว หรือ เก็บเพื่อซื้อของชิ้นใหญ่สักชิ้น
แต่การวางเป้าหมายพร้อมๆกันหลายรายการ เป็นเรื่องยาก จะกดดันการใช้เงินของเรามากเกินไป ทางที่ดี ควรดูกำลังของตัวเองด้วยว่าสามารถสร้างรายรับได้แค่ไหน จะได้ไม่เหนื่อยไปกับการทำงานหาเงินมากเกินไป
9. ไม่ได้ปรับค่าใช้จ่ายพิเศษที่ใช้แค่บางช่วงออก
บางช่วงเวลาเราอาจจะมีการใช้เงินมากกว่าปกติ เช่น ช้อปปิ้ง ท่องเที่ยว ซึ่งหากไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป พฤติกรรมเปลี่ยนไป ควรปรับลดค่าใช้จ่ายแปรผันในส่วนนี้ด้วย
10. ไปหยิบเงินมาจากกองเงินออมกองอื่น
ตัวอย่างเช่น คุณใช้งบช้อปปิ้งในเดือนนี้หมดแล้ว แต่เห็นรายการ sale พิเศษ ก็ไม่ควรไปหยิบเงินจากกองค่าอาหาร เงินสำรองซ่อมบำรุงรถยนต์มาใช้อีก
11. ไม่เคย update budget
ในแต่ละปี รายรับโดยรวม และ รายจ่ายตามไลฟ์ไตล์ที่เปลี่ยนไป ไม่ได้เป็นตัวเลขคงที่อยู่แล้ว สำคัญที่หากคุณมีรายได้เพิ่มขึ้น คุณต้องเพิ่มจำนวนเงินเก็บขึ้นด้วย หรือหากอายุมากขึ้น ภาระลดลง ก็ควรมี % การเก็บเงินต่อรายรับ ในอัตราเพิ่มขึ้นด้วย
12. คบหากับเพื่อนที่ใช้เงินแบบมีเหตุผล
เราอยู่ใกล้ใครแนวโน้มเราจะคล้ายกับคนนั้น หากเพื่อนเรามีพฤติกรรรมใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้เงินเกินตัว เราก็มีแนวโน้มจะเก็บเงินไม่อยู่เช่นกัน
13. ตั้ง budget การใช้จ่ายในครอบครัว ในแบบเห็นด้วยทั้งคู่
การวางงบใช้จ่าย ในการใช้ชีวิตร่วมกันกับครอบครัว ควรเป็นสิ่งที่ทั้งคู่เห็นพ้องกัน ไม่ใช่ใครกำหนดฝ่ายเดียว ควรปรึกษากันให้ดีก่อน การวาง budget ถึงจะทำได้จริง
14. ต้องไม่ลืมค่าใช้จ่ายแปรผันก้อนใหญ่ เช่น ของขวัญ, ค่าซ่อมรถ,ค่าใส่ซอง
ให้ประมาณการณ์รวมเป็นก้อนรายปีไว้เลย ว่าปีละเท่าไหร่ แล้วนำมาหารเฉลี่ยเป็นรายเดือน จะได้กันเงินไว้ทุกเดือนๆ ให้เพียงพอ เมื่อต้องจ่ายจะได้ไม่หนัก หรือกระทันหันจนกระทบเงิน budget ที่เตรียมไว้เรื่องอื่น
15. ให้รางวัลตัวเองบ้าง อย่าซีเรียสมากไป
ถ้ารู้สึกอึดอัด การวาง budget จะไม่ถูกนำมาปฏิบัติ ควรจัดสรรตามกำลังของตัวเอง ว่าแบบไหนถึงจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
16. คิดว่าการทำ budget ไม่จำเป็น
1
ถ้าไม่เคยบันทึกการใช้จ่ายเลย ไม่มีทางยกระดับฐานะการเงินได้
ข้อดีที่สุดของการทำ budget คือ ทำให้เราไม่ใช้จ่ายเกินตัว เพราะจะรู้ว่ารายรับทั้งหมดเรามีเท่าไหร่ สามารถใช้ได้เท่าไหร่ ควรเก็บเงินเผื่ออนาคตเท่าไหร่
เมื่อนำค่าใช้จ่ายมาเรียงกัน จะมองเห็นได้ง่ายว่า
ค่าใช้จ่ายรายการไหนมีลำดับความสำคัญมากที่สุด
ค่าใช้จ่ายรายการไหนควรตัดออก ควรลด
ค่าใช้จ่ายรายการไหน ที่สามารถจ่ายในทางเลือกที่ถูกกว่าได้
การมีเงินเหลือมาออมและลงทุน ไม่ได้เกิดจากความประหยัดเพียงอย่างเดียว แต่มันคือการเลือกที่จะใช้เงินให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์
เลือกใช้เงินไปกับเรื่องที่ทำให้เรามีความสุขมากที่สุด เรื่องไหนไม่ได้มีผลกับตัวเรามาก เราจะได้ควบคุมไม่จ่ายไปกับเรื่องนั้น
3
การทำ budget จะได้ผล ถ้ามันสามารถปฏิบัติได้จริง และจะช่วยทำให้ฐานะการเงินของคุณมั่นคง มั่งคั่งยิ่งขึ้น
โฆษณา