30 เม.ย. 2022 เวลา 11:10 • สุขภาพ
เป็นมะเร็งยังมีหวัง-การรักษาแบบมุ่งเป้า”(Targeted therapy)มาฟังเรื่องคุณป้าบ้านใกล้..ค่ะ
👉Targeted therapy คือการรักษามะเร็งแนวใหม่ ยืดอายุและเพิ่มโอกาสในการหายของคนไข้โรคมะเร็ง
❕คุณป้าใกล้บ้านเพิ่งตรวจพบเจอมะเร็งของลำไส้ใหญ่ เดินมาปรึกษาป้าด้วยใบหน้าเศร้าหมอง
คุณป้าบอกว่าไม่อยากทำคีโมกลัวจะตายจากคีโม เพราะเห็นตัวอย่างมาหลายคนแล้ว
ป้าจึงอธิบายการรักษามะเร็งโดยทั่วไป แถมท้ายด้วยการรักษาแนวใหม่ที่เรียกว่า Targeted Therapy หรือ “การรักษามะเร็งโดยใช้ยาแบบมุ่งเป้า” ให้คุณป้าฟัง
โดยทั่วไปการรักษามะเร็งแบบเดิมที่เรารู้จักมี2-3วิธี คือ
1. การผ่าตัดเอาเจ้ามะเร็งออกไปให้มากที่สุด เท่าที่ผ่าตัดออกได้
2.ใช้ยาไปฆ่าเซลล์มะเร็ง จริง ๆ ก็คือยาพิษต่อเซลล์นั่นแหละ ที่เราเรียกกันว่าใช้คีโม หรือคือเคมีบำบัด (Chemptherapy)
ร่วมกับ
3. การฉายแสงหรือที่เรียกกันว่า รังสีร่วมรักษา (Radiotharapy)
เพื่อให้ยาเคมีและอานุภาพของรังสี เข้าไปทำลายการแบ่งเซลล์มะเร็งในร่างกาย หลังจากการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกไปก่อนแล้ว
การรักษาด้วยเคมีบำบัดและรังสีรักษานั้นให้ผลดีต่อการฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่มันมีผลข้างเคียงเยอะเพราะมันไปทำลายเซลปกติด้วย
คนไข้มักมีอาการอ่อนเพลีย ผมร่วง อาเจียน เบื่ออาหาร.. ร้อยแปดนานาประการ
โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคของคนไข้ก็พลอยโดนยาเคมีบำบัดและรังสีรักษานี้จัดการจนตายไปด้วย
คนไข้จึงโดนแทรกด้วยเชื้อโรคได้ง่ายมาก เชื้อกระจอกงอกง่อยก็ติดเชื้อได้ บางรายนำให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตจากการติดเชื้อโรคเหล่านี้ได้เลยค่ะ
📍การรักษาแบบใหม่ ที่เรียกว่า
"การรักษาโดยใช้ยาแบบมุ่งเป้า"
หมอรักษามะเร็งและพยาธิแพทย์จะนำตัวอย่างเซลล์มะเร็งของคนไข้มาวิเคราะห์ระดับโมเลกุล เพื่อตรวจหาโปรตีน และความผิดปกติของยีน แล้วออกแบบตัวยาที่เข้ากันกับคนไข้นั้น ๆ
เนื่องจากวิทยาการ-การแพทย์ระดับโมเลกุล ที่ก้าวหน้าขึ้นมามากแล้วตอนนี้เราพอจะบอกได้ว่ามะเร็งชนิดอะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ซึ่งปัจจุบันเราพบยีนต้นเหตุ เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง ที่เรียกว่า oncogenic gene แล้วหลายตัว
ยีนเหล่านี้กำกับการสร้างและการโปรแกรมให้เซลล์หยุดสร้าง หรือตายไปของเซลล์ทั้งหลายในตัวมนุษย์มันกลายพันธุ์ไป ไม่ทำงาน หรือทำงานมากเกินไป
ยีนกลุ่มที่ว่าเช่น ยีนกำกับโปรตีนที่ชื่อ P53, BCL2, BCL6, HER2..มีอีกมากมายค่ะ
เครดิตภาพ https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/types/targeted-therapies
Gene therapy หรือการรักษาด้วยการบำบัดระดับยีน
เมื่อเรารู้ว่ายีนตัวไหนของมะเร็ง
นั้น ๆ มีการกลายพันธุ์ แพทย์ก็จะออกแบบยาเฉพาะที่มาแก้ไขหรือหยุดยั้งเจ้ายีนนั้นได้โดยตรง
👉ตัวยาจะเข้าไปหยุดการเกิดมะเร็งตั้งแต่เซลล์ที่ตั้งต้น หยุดตั้งแต่กระบวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง หยุดการเคลื่อนที่ลุกลาม และทำให้เซลล์มะเร็งไม่ตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นอีกต่อไป
📌 เป็นการรักษามะเร็งที่ต้นเหตุของการเกิดมะเร็ง
📌 เป็นการรักษาให้ตรงจุด
ด้วยยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า
นั่นเอง
รักษาแบบมุ่งเป้า คือการตรวจหายีนที่เป็นต้นเหตุว่ามีหรือไม่ แล้วรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์ระดับยีนค่ะ
🥰ป้าฝากไว้
- targeted therapy ยังไม่สามารถใช้ได้กับมะเร็งทุกโรค ยังรองานวิจัยเพิ่มเติมอีกค่ะ
1
- การจะตรวจจนพบว่า เซลล์มะเร็งนั้นมีความเพี้ยนที่ยีนใดนั้นยุ่งยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย(แพง)
- เมื่อได้ผลแล้วก็ต้องเลือกยาใช้ให้ตรงกัน ยาเองก็ราคาแพงมาก
*การตรวจว่าจะมี ยีนเฉพาะหรือเปล่า ค่าตรวจแพง
และเมื่อตรวจพบเจอแล้ว มียารักษา>>ราคายาก็ยังแพงมากอีก
- ป้าพายินดีมาก ถ้าผู้อ่านช่วยอัพเดตความรู้ให้บทความป้าด้วย
1
อ้างอิง
1. Chemotherapy, Immunotherapy, Targeted Therapy. What’s the difference?
1
ปล.
คุณป้าบ้านใกล้ผ่าตัดเรียบร้อย ตรวจแล้วเป็นระยะต้น(1-2)
ไม่แพร่ไปที่ต่อมน้ำเหลือง
และไม่พบยีนกลายพันธุ์
จึงไม่ต้องคีโมและไม่ต้องใช้ targeted therapy ค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา