Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
GEO-HIS | ภูมิประวัติศาสตร์
•
ติดตาม
4 พ.ค. 2022 เวลา 10:52 • ประวัติศาสตร์
สงครามอินเดีย-โปรตุเกส สงครามที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก สงครามที่ทำให้แผนที่คาบสมุทรอินเดียรวมเป็นหนึ่งภายใต้ประเทศอินเดีย
โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามาในอินเดียในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ได้ก่อตั้งสถานีการค้าไว้หลายแห่ง เช่น เมืองกัว (Goa) เมืองดามัน (Damão) นาการ์ฮาเวลี (Nagar Haveli) เมืองดีอู (Diu) และเมืองอื่นๆ แต่ที่เหลือเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในกลางศตวรรษที่ 19 คือเมืองที่กล่าวมา
เรียกรวมว่า อาณานิคมของโปรตุเกสในอินเดีย (Portuguese India)
โดยต่อไปนี้จะเรียกสั้นๆว่าเมืองกัว เพราะ นิยมใช้เรียกรวมเขตปกครองทั้งหมด และเมืองกัวถือเป็นเมืองหลวง มีพื้นที่ทั้งหมด 3,702ตร.กม. (ใหญ่กว่าสระบุรีเล็กน้อย)
แผนที่อาณานิคมของโปรตุเกสในอินเดีย (1 = เมืองกัว 2 = ดามันและนาการ์ฮาวาลี 3 = ดีอู)
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อาณานิคมของฝรั่งเศส คือ เขตปอนดิเชอรี (Pondicherry) หรือปุฑุเจรี ในปัจจุบัน นอกนั้นดินแดนอื่นๆในอินเดียเป็นของอังกฤษทั้งหมด
แผนที่เขตปอนดิเชอรี่ของฝรั่งเศส
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขบวนการเรียกร้องเอกราชในอาณานิคมต่างๆทั่วโลก โดยอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปีค.ศ. 1947
ขณะที่อาณานิคมของโปรตุเกสก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวในการประกาศเอกราช เช่น แองโกลา ซึ่งชาวพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ ได้จับอาวุธต่อสู้กับเจ้าอาณานิคม
ประเทศแองโกลา
รัฐบาลอินเดียเปิดการเจรจากับโปรตุเกส ในปีค.ศ. 1950 ถึงอนาคตของอาณานิคมเหล่านี้
ทางอินเดียมีความต้องการในการผนวกเมืองกัวให้เป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย ซึ่งได้รับการปฏิเสธจากโปรตุเกส
รัฐบาลโปรตุเกสยืนยันว่า เมืองกัวของโปรตุเกสไม่ใช่อาณานิคม แต่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศโปรตุเกส ในฐานะจังหวัดโพ้นทะเล
หลังการเจรจาที่ไม่เป็นผล ทั้งสองฝ่ายได้พยายามหาพรรคพวก ในปีค.ศ. 1954 อินเดียได้คว่ำบาตรโปรตุเกส ทั้งการจำกัดวิซ่าจากเมืองกัวไปอินเดีย การขนส่งทางทะเล และปิดพรมแดน
โปรตุเกสที่เป็นสมาชิกก่อตั้ง NATO ได้ขอความช่วยเหลือจากสมาชิกในการกดดันอินเดีย โดยเฉพาะจากอังกฤษ
แต่รัฐบาลอังกฤษกล่าวว่าพันธมิตร NATO ไม่สามารถขยายความช่วยเหลือไปสู่นอกภาคพื้นทวีปของโปรตุเกสได้
ด้านอินเดียพยายามใช้จุดยืนของตนในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง ขณะเดียวกันก็สนับสนุนนักเคลื่อนไหวในเมืองกัวที่มีแนวคิดรวมกัวเข้ากับอินเดีย ซึ่งก็ถูกโปรตุเกสปราบปรามตลอด
ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) เป็นการรวมกลุ่มประเทศที่ดำเนินนโยบายไม่ต่อต้าน หรือเป็นพันธมิตรกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในสงครามเย็น
ในปีค.ศ. 1956 นักเคลื่อนไหวชาวอินเดีย ราว3-5พันคน พยายามเข้าไปในเมืองกัว ซึ่งถูกตำรวจและทหารโปรตุเกสขับไล่อย่างรุนแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 21 - 30 คน
นักเคลื่อนไหวชาวอินเดียที่บุกเข้าไปในเมืองกัว และถูกตำรวจโปรตุเกสยิงบริเวณชายแดนปีค.ศ. 1955 ก่อนการบุกเข้าไปครั้งใหญ่ในปีค.ศ. 1956
หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างโปรตุเกสและอินเดียเลวร้ายลงไปอีก
รัฐบาลอินเดียกล่าวประณามการกระทำของโปรตุเกส พร้อมทั้งขู่ในการเข้าโจมตี และเสริมกำลังรอบเมืองกัวเป็นระยะ
24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1961 โปรตุเกสโจมตีเรือโดยสารสัญชาติอินเดียที่แล่นผ่านใกล้เมืองกัว เนื่องจากเข้าใจผิดว่าเป็นเรือยกพลขึ้นบกของอินเดีย
เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้สาธารณะชนอินเดียสนับสนุนรัฐบาลในการใช้ปฏิบัติการณ์ทางการทหารตอบโต้
18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 อินเดียเข้าโจมตีเมืองกัวและเมืองในการปกครองโปรตุเกส ทั้งการใช้ปืนใหญ่ระดมยิง การโจมตีทางอากาศและเรือ และเข้ายึดครองพื้นที่
การรบกินเวลาเพียง 36 ชั่วโมง ซึ่งอินเดียได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด เนื่องจากมีกำลังทางทหารมากกว่า
และได้จัดตั้งรัฐบาลพลเรือนเขตเมืองกัวในเวลาต่อมา สิ้นสุดการปกครองของโปรตุเกสที่ยาวนานกว่า 400 ปี
1 ทหารฝ่ายอินเดีย / 2 รถทหารโปรตุเกสได้รับความเสียหาย / 3 ทหารอาณานิคมโปรตุเกส
การบุกยึดเมืองกัวของอินเดียในครั้งนี้ อินเดียได้รับเสียงสนับสนุนอย่างมากจากกลุ่มเรียกร้องเอกราชในแองโกลาและรัฐบาลโซเวียต ซึ่งโซเวียตได้ปัดตกมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการประณามอินเดีย
ปฏิกิริยาเชิงบวกจากชาติอื่นๆ เช่น โมรอกโก UAE ตูนิเซีย ศรีลังกา จีน
สหภาพโซเวียตในยุคนิกิตา ครุสชอฟ ได้หันมาสนใจประเทศโลกที่ 3 มากขึ้น ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับอินเดีย
ชาติที่ประณามอินเดีย เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ปากีสถาน และบราซิล
ทางฝั่งโปรตุเกสเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักในช่วงนี้ เนื่องจากนำงบไปลงกับสงครามในอาณานิคมจำนวนมาก
จนทหารก่อการรัฐประหารในปีค.ศ. 1974 หรือนิยมเรียกว่า การปฏิวัติคาร์เนชัน (Carnation Revolution) เปลี่ยนจากระบอบเผด็จการมาเป็นประชาธิปไตย
การปฏิวัติคาร์เนชัน ประชาชนนำดอกคาร์เนชันมอบให้แก่ทหารจนเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติครั้งนี้
ภายหลัง รัฐบาลประชาธิปไตยได้เปลี่ยนนโยบายมาฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอินเดีย ยอมรับอธิปไตยของอินเดียในกัว และพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆมาถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันอาณานิคมของโปรตุเกสในอินเดีย ถือเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเรื่องวัฒนธรรมโปรตุเกสและสถาปัตยกรรมสไตล์โคโรเนียลที่ยังหลงเหลืออยู่มาก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์
เมืองเก่ากัว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปีค.ศ. 1986
สำหรับอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินเดีย หรือ ปอนดิเชอรี่ ได้รวมเข้ากับอินเดียโดยสันติ ผ่านการลงประชามติในปีค.ศ. 1954 ซึ่งก็เป็นเขตที่มีสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสหลงเหลืออยู่มากเช่นกัน
อ้างอิง :
https://www.bbc.com/news/world-asia-india-42390008
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Annexation_of_Goa
https://www.cbsnews.com/news/country-fast-facts-portugal/
https://min.news/en/history/d261b1125fc416e659748694293c3ac4.html
อินเดีย
ประวัติศาสตร์
1 บันทึก
2
4
1
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย