7 พ.ค. 2022 เวลา 13:00 • อาหาร
ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ประเทศผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลกซึ่งครองสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลีราว 28.5% ของปริมาณการส่งออกข้าวสาลีโลก ส่งผลให้ราคาข้าวสาลีพุ่งสูงสุดในรอบหลายปี
และกระทบต่ออุตสาหกรรมปลายน้ำของไทยที่ใช้ข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบ จากการที่ไทยนำเข้าข้าวสาลีจากยูเครนถึง 13.1% ของการนำเข้าข้าวสาลีทั้งหมด
รัสเซีย-ยูเครน ดันราคาข้าวสาลีโลกพุ่ง
ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเดือน มี.ค.-ก.ย.หรือราว 6 เดือนต่อจากนี้ ราคาข้าวสาลีนำเข้าน่าจะยืนในระดับสูง
ในขณะที่ผลผลิตข้าวโพดไทยรอบใหม่ยังไม่ออกสู่ตลาด
ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมปลายน้ำอย่าง
  • อุตสาหกรรมอาหารคน
  • อาหารสัตว์
มีต้นทุนการผลิตสูงที่ขึ้น หรืออาจเผชิญปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่สายการผลิต
ซึ่งในท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังราคาอาหารที่ผู้บริโภคต้องจ่ายให้สูงขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็น
  • เนื้อสัตว์
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • ขนมปัง
ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง และกำลังซื้อภาคครัวเรือนยังคงเปราะบาง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 65 ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปลายน้ำที่ใช้ข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบอาจเริ่มคลี่คลายมากขึ้น
เนื่องจากผลผลิตของพืชทดแทนอย่างข้าวโพดที่จะมีผลผลิตรอบใหม่ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก คิดเป็นราว 72.5 % ของผลผลิตข้าวโพดตลอดทั้งปี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการปลายน้ำมีวัตถุดิบป้อนเข้าสู่สายการผลิตได้อย่างเพียงพอ และทำให้ราคาวัตถุดิบปรับตัวลดลง
โดยอุปทานข้าวโพดที่เข้ามาเสริมในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี น่าจะช่วยลดแรงกดดันที่มีต่อราคาอาหารที่ผู้บริโภคต้องจ่ายให้ทยอยปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ในขณะที่อุปทานข้าวสาลียังคงมีความไม่แน่นอนสูง
#KResearch #KBankLive
ขอบคุณภาพจาก Shutterstock.com
โฆษณา