5 พ.ค. 2022 เวลา 13:05 • ความคิดเห็น
#แบนลาซาด้า
1
1) โฆษณาของนาราที่โปรโมทการขายสินค้าในลาซาด้า เอาจุดพูดจากการล้อเลียน บูลลี่คนพิการ นำมาเป็นเรื่องตลก และนำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์
3
2) ส่วนตัวมองว่านาราผิดพลาดจริงในเรื่อง contents ที่นำเสนอในการ make fun กับร่างกายของผู้อื่น ซึ่งเป็นการสร้างความสนุกบนความอับอายที่ผู้พิการมีต่อร่างกายตนเอง (Body Shaming) ซึ่งก็คือการเหยียดอัตลักษณ์ของบุคคล (Discrimination) ที่ไม่สมควรจริงๆ ตามที่สังคมออนไลน์มีการวิพากษ์วิจารณ์
10
3) ปัญหาลุกลามไปยังตัวแบรนด์ Lazada เองที่ถูกปรากฏอยู่ใน Tik Tok วิดีโอดังกล่าว ซึ่งสะท้อนการสนับสนุนจากทางแบรนด์ ทำให้เกิดเป็นกระแส "แบนลาซาด้า" ในวันนี้ที่ถาโถมอย่างหนัก
5
4) ตัวเราเอง เราเป็นคนซื้อของใน Lazada และรีวิวสินค้าในช่องทางลาซาด้าอยู่เป็นปกติ ไม่มีปัญหา และไม่ได้มองว่า app ใช้งานไม่ดี แต่ในกรณีนี้ สังคมกำลังทวงถามความรับผิดชอบของแบรนด์ในการสนับสนุนสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งขัดกับการมีจริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics) ที่ว่าด้วยการสื่อสารโฆษณาอันไม่เคารพความเป็นมนุษย์ของบุคคล
14
5) ส่วนตัวเรา มองคุณนาราพลาดจริง แต่ไม่ได้หมายความว่าสังคมควรจะไปเหยียดเธอกลับ และสร้างความเกลียดชังต่อเพศ กลายเป็นไปด่าทอ LGBTQ แต่อยากให้มองเห็นว่าเป็นบทเรียนความผิดพลาด เตือนสติ และให้ข้อคิดจากเรื่องนี้ ไม่ทำให้เกิดขึ้นในสังคมอีก น่าจะเหมาะกว่าการเหยียบย่ำซ้ำเติมกันไม่รู้จบ
21
6) เราคิดว่าคนเราพลาดได้ทุกวัน แต่เราแก้ไขได้ และให้โอกาสกันได้ ในครั้งหน้าหากนารามีโอกาส คงจะทำสื่อได้ดีกว่านี้ หลังจากรู้ข้อผิดพลาดนี้แล้วเอาไปพัฒนาการสื่อสารโฆษณาของตัวเอง เพียงแต่ต้องเข้าใจจุดที่ต้องเรียนรู้จากเรื่องนี้คือ การขายสินค้า หรือการโฆษณาที่น่าดึงดูด หรือการสร้างจุดสนใจของโฆษณา (Advertising Appeal) มันตลกได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ character ของความบกพร่องทางกายภาพมาทำเป็นมุกตลก เพื่อขายของ มันไม่จำเป็น
13
7) เราดูแล้วเราไม่ตลกนะ เราไม่ได้มีความรู้สึกว่ามันขำ ไม่ได้ให้แก่นสารที่มันมีความฮาใดๆ ไม่รู้ว่าเราเส้นลึกไหม แต่ไม่ขำตามจริงๆ และคิดว่ามันไม่จำเป็นต้องใช้ character นี้เพื่อเล่าเรื่องนี้นะครับ อยากให้ทุกแบรนด์ที่เอาสภาพร่างกาย อ้วนผอม สีผิว หัวล้าน เพศ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็น Physical Appearances ของคนเรามาทำเป็นมุกตลก ให้เลิก make fun กับเรื่องเหล่านี้
9
8 ) เราเห็นกระแสจากคนรักเจ้า พูดถึงการล้อเลียนเจ้าว่ามีปัญหา ส่วนตัวเรา เราไม่ใช่สลิ่มอยู่แล้ว และเรายืนยันว่า เราไม่รู้ว่ามันล้อเลียนเจ้าจริงไหม หรือจงใจไหม ตรงนี้ เราคิดว่าเป็นเรื่องของการตีความส่วนบุคคล เราเลยตีประเด็นไปที่เรื่องการล้อเลียนกายภาพของบุคคล ที่ไม่สมควร แค่ประเด็นนี้เป็นหลักเท่านั้น
11
9) สำหรับคนที่ไปด่าทอตัว "หนูรัตน์" เราอยากให้เข้าใจว่า ตัวหนูรัตน์เองก็มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพส่วนบุคคลเช่นกัน ที่ดูเหมือนว่าใครจ้างไปทำงานอะไรเขาก็ไปทำ เขาไม่ได้รับรู้ปัญหา หรือเข้าใจในมิติที่ลึกซึ้งมากว่าเกิดอะไรขึ้นกับการรับงานนี้ ดังนั้นเราอยากให้มองว่า ทุกวันนี้หนูรัตน์เองก็ถูกผู้จ้างใช้ประโยชน์จากการล้อเลียนตัวเธอ เอามาสร้างความตลกบนสื่อมาโดยตลอด โดยที่เธอเป็นตัวตลก เพราะปัญหาด้านการฟังที่บกพร่อง ทำให้การพูดมีปัญหาตามมา เธอเองก็เป็นเหยื่อของการถูกนำไปใช้บนสื่อในทางที่ไม่สมควรมานานมากแล้ว ทั้งในหนัง ละคร หรืองานต่างๆที่เธอได้รับ มันก็คือการเอาความบกพร่องทางร่างกายเธอมาเป็นความตลก
8
10) สิทธิเสรีภาพการแสดงออกมีได้ทุกคน แต่ความเคารพความเป็นมนุษย์ก็สำคัญมาก เราในฐานะ LGBTQ คนหนึ่งที่ถูกเอามาทำเป็นเรื่องตลกตลอดเวลา หรือถูกล้อเลียนหน้าตาบ่อยๆใน social media จาก LGBTQ ด้วยกัน เราเห็นสื่อนี้เอง เรายังรู้สึกหดหู่เลยครับ
4
มันมีวิธีสร้างสรรค์อีกมากมายที่จะสร้างจุดพูดขายของให้คนหันมามอง โดยไม่ใช้เส้นเรื่องหรือการแสดงเหล่านี้ แต่ใส่พลังความสร้างสรรค์เข้าไปใหมากกว่าที่ทำอยู่
"เมื่อไหร่สังคมไทยเราจะเลิกล้อเลียน สร้างมุกตลกกับร่างกายคนอื่น? เพราะมันไม่เคยตลกเลย"
10
หมายเหตุ : สำหรับคนที่มองว่าเป็นการล้อเลียนเจ้า เราขอไม่ discuss เพราะตรงนี้ต้องถามเจ้าตัวที่ผลิต content ก่อนว่าเจตนาของเขาคืออะไร เราพูดในประเด็นที่เราเข้าใจ และเรามองเห็นประจักษ์เท่านั้นครับ
4
IG : Tootsyreview
TW : ThinkTalkLoud
#ตุ๊ดส์review
#ThinkTalkLoud
3
โฆษณา