9 พ.ค. 2022 เวลา 08:00 • ไลฟ์สไตล์
ทำไมคนยุคนี้ไม่นับถือศาสนา? ผลสำรวจชี้ คนทั่วโลก "ไม่มีศาสนา" มากขึ้น
ก่อนหน้านี้ Pew Research เคยเผยผลสำรวจว่ามีผู้คนที่ "ไม่มีศาสนา" ทั่วโลกมากขึ้น 1.19 พันล้านคน ล่าสุด.. เปิดเผยรายงานชุดใหม่ระบุว่า คนรุ่นใหม่เข้าร่วมศาสนาน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมส่องเหตุผลของการเลือกที่จะ "ไม่นับถือศาสนา"
1
ทำไมคนยุคนี้ไม่นับถือศาสนา? ผลสำรวจชี้ คนทั่วโลก "ไม่มีศาสนา" มากขึ้น
ยิ่งนับวันวงการผ้าเหลืองก็ยิ่งฉาว! ระยะหลังมานี้ สังคมไทยได้เห็นกระแสข่าวเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมของพระสงฆ์บ่อยๆ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเสื่อมถอยของศาสนาพุทธในไทย เชื่อมโยงไปสู่การ "ไม่นับถือศาสนา" ของผู้คนยุคนี้ที่ "ศาสนา" อาจไม่ใช่สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพวกเขาอีกต่อไป
4
ทั้งนี้ ประเด็นการ "ไม่นับถือศาสนา" นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เริ่มมีมานานหลายปีแล้ว และไม่ใช่แค่ในไทย แต่ประชากรทั่วโลกในหลายๆ ประเทศก็มีกลุ่มคนที่ระบุว่าตนเอง "ไม่มีศาสนา" มีจำนวนมากขึ้นกว่าในอดีต
2
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนไปส่องผลสำรวจเรื่องนี้ รวมถึงไขข้อสงสัยว่า ทำไม? คนรุ่นใหม่ถึงเลือกที่จะ "ไม่นับถือศาสนา" ใดๆ ในชีวิตเลย
1. คำว่า "ไม่มีศาสนา" คืออะไร?
1
การไม่มีศาสนา (Irreligion, No religion) หมายความว่า ภาวะที่คนใดคนหนึ่งไม่นับถือศาสนา ไม่แบ่งแยกศาสนา ไม่เป็นปรปักษ์ต่อศาสนา กลุ่มคนดังกล่าวเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสนา ซึ่งสามารถตีความหรือนิยามได้หลากหลาย ได้แก่
1
📌 อเทวนิยม (Atheism) : ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า และเชื่อในกฎธรรมชาติ
📌 อไญยนิยม (Agnosticism) : ผู้ที่เชื่อว่าเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ ดังนั้นเชื่อว่าพระเจ้าอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
📌 ศาสนวิมตินิยม (Religious Skepticism) : ผู้ที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับหลักการทางศาสนาขั้นพื้นฐาน (เชื่อในบางคำสอนและไม่เชื่อในบางคำสอน)
📌 มนุษยนิยมแบบฆราวาส (Secular Humanism) : ผู้ที่ยึดถือเหตุผล จริยธรรม และความยุติธรรมทางสังคมของมนุษย์เป็นหลัก ปฏิเสธเรื่องคตินิยม เรื่องเหนือธรรมชาติ และไสยศาสตร์
8
สำหรับในบางสังคมอาจไม่ยอมรับการไม่มีศาสนา หรืออาจมีอคติต่อผู้ที่ไม่มีศาสนา เช่น การเหมารวมว่าคนที่ไม่มีศาสนาทั้งหมดคือคนที่ชั่วร้าย เป็นต้น บ่อยครั้งที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้ก่อเหตุอาชญากรรมหรือผู้ก่อการร้ายเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา แม้ว่าผู้ก่อเหตุจะแสดงตัวว่ามีศาสนาก็ตาม
2
ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจเข้าใจการไม่มีศาสนาได้เท่าๆ กับศาสนิกชน เช่น ผู้นับถือลัทธิมนุษยนิยม จะมีความคิดอย่างลึกซึ้งในวัตรปฏิบัติของตนเอง มากพอๆ กับความลึกซึ้งของศาสนิกชนมีต่อศาสนาของตน เป็นต้น
1
2. เปิดผลสำรวจกลุ่ม "ไม่มีศาสนา" ทั่วโลก มีเยอะแค่ไหน?
มีข้อมูลผลสำรวจจาก Pew Research Center (องค์กรที่วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางศาสนาและผลกระทบต่อสังคมทั่วโลก) ที่เคยเผยแพร่ในปี 2012 - 2015 ระบุว่า มีผู้คนมากกว่า 1.19 พันล้านคนทั่วโลกชี้ว่าตนเอง "ไม่มีศาสนา" ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรอันดับ 3 รองจากกลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสต์ (อันดับ 1) และอิสลาม (อันดับ 2)
1
ในรายงานยังระบุถึงประเทศที่คาดว่าจะมีกลุ่มผู้ "ไม่นับถือศาสนา" มากที่สุด 10 ประเทศในโลก (เป็นการใช้ข้อมูลในปี 2012 - 2015 มาคาดการณ์ตัวเลขจะเกิดในปี 2020) ได้แก่
1
📌 จีน - 720 ล้านคน
📌 ญี่ปุ่น - 74 ล้านคน
📌 สหรัฐอเมริกา - 62 ล้านคน
📌 เวียดนาม - 28 ล้านคน
📌 เกาหลีใต้ - 23 ล้านคน
📌 รัสเซีย - 21.19 ล้านคน
📌 เยอรมนี - 21.15 ล้านคน
📌 ฝรั่งเศส - 20.8 ล้านคน
📌 สหราชอาณาจักร - 20 ล้านคน
📌 เกาหลีเหนือ - 18 ล้านคน
4
อีกทั้งมีข้อมูลผลสำรวจชุดใหม่ที่ Pew Research Center ได้เผยแพร่ข้อมูลในปี 2020 โดยระบุว่า หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ทั่วโลก (อายุต่ำว่า 40 ปี) เป็นกลุ่มผู้ที่ "ไม่นับถือศาสนา" มากกว่ากลุ่มคนสูงวัยในหลากหลายมิติ
จากการสำรวจ 106 ประเทศ พบว่า หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกลุ่มศาสนา หรือ "ไม่ฝักใฝ่ในศาสนา" น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ ใน 41 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาเหนือ ซึ่งคนหนุ่มสาวทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาไม่มีการอ้างถึงอัตลักษณ์ทางศาสนาของตน
ถัดมาในยุโรปพบว่ามีกลุ่มบุคคลที่ไม่นับถือศาสนาแพร่หลายใน 22 ประเทศ จาก 35 ประเทศ ส่วนในแถบละตินอเมริกา มีผู้ไม่นับถือศาสนาจำนวนมากอยู่ใน 14 ประเทศ จาก 19 ประเทศ (รวมเม็กซิโก)
ด้านภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโอเชียเนียพบว่า เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น มีช่องว่างระหว่างอายุของผู้ที่ "ไม่มีศาสนา" และ "ผู้นับถือศาสนา" มากที่สุด คือ
1
📌 เกาหลีใต้ : การนับถือศาสนาของคนรุ่นใหม่อยู่ที่ 39% เทียบกับผู้สูงอายุ 63% (แปลว่ามีคนรุ่นใหม่ไม่นับถือศาสนา 61%)
📌 ญี่ปุ่น : การนับถือศาสนาของคนรุ่นใหม่อยู่ที่ 31% เทียบกับผู้สูงอายุ 49% (แปลว่ามีคนรุ่นใหม่ไม่นับถือศาสนา 69%)
📌 ออสเตรเลีย : การนับถือศาสนาของคนรุ่นใหม่อยู่ที่ 43% เทียบกับผู้สูงอายุ 66% (แปลว่ามีคนรุ่นใหม่ไม่นับถือศาสนา 57%)
3
3. เจาะเหตุผล ทำไมคนยุคนี้ไม่นับถือศาสนา?
1
ทีมข่าวมีโอกาสพูดคุยกับ "ณฤดี จินตวิโรจน์" พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับเหตุผลที่เธอเลือกที่จะเป็นบุคคลที่ "ไม่นับถือศาสนา" โดยเล่าว่าเธอเลือกที่จะ "ไม่นับถือศาสนา" มาเกือบ 10 ปีแล้ว (ตั้งแต่ช่วงเรียนจบมหาวิทยาลัย) ตอนนั้นเริ่มมีคำถามในใจว่า ทำไมคนเราถูกบังคับให้นับถือศาสนาตั้งแต่เกิดโดยไม่มีสิทธิ์เลือกเอง
3
จากนั้นไม่นานได้รู้จักเพื่อนต่างศาสนามากขึ้น ทำให้เห็นว่าแต่ละศาสนาแม้จะมีข้อปฏิบัติแตกต่างกัน แต่แก่นแท้ของศาสนาคือต้องการให้เราเป็นคนดี แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า ทั้งในวงการสงฆ์ของศาสนาพุทธ ศาสนจักร และศาสนาอิสลาม มักมีเรื่องฉาวให้เห็นอยู่ตลอด รวมถึงประเด็นพุทธพาณิชย์ต่างๆ
5
ตนจึงมองว่าการจะเป็นคนดีนั้น จริงๆ แล้วมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ และจิตใต้สำนึกของตนเอง ไม่ได้มาจากการนับถือศาสนาใดๆ จึงตัดสินใจเลือกที่จะ "ไม่นับถือศาสนา"
1
"พอเราเลือกแบบนี้แล้ว ทำให้รู้สึกอิสระ แล้วเราก็นำคำสอนในแต่ละศาสนามาปรับใช้ในชีวิตได้แบบไม่ต้องแบ่งแยก เช่น วิธีหาสาเหตุและการแก้ไขความทุกข์ ก็เอามาจากศาสนาพุทธ การมอบความรักความเมตตาให้กับผู้อื่นของศาสนาคริสต์ และการช่วยเหลืองแบ่งปันในรูปแบบต่างๆ ของศาสนาอิสลาม" เธออธิบาย
2
ทั้งนี้ เธอยังบอกอีกว่าการไม่นับถือศาสนายังเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ทำให้ส่วนใหญ่มองคนที่ไม่นับถือศาสนาว่าเป็นคนแปลกแยกหรือเป็นคนมีปัญหา ส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะมีที่ยึดเหนี่ยวเป็นสิ่งอื่น บางคนอาจจะไม่นับถือศาสนาเพราะอยากตามกระแส คิดว่าการเป็น "เอทิตส์" (Atheism) คือเท่ ซึ่งก็ไม่ควรไปเหมารวมว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนไม่ดีหรือเป็นอาชญากร
3
"ช่วงแรกๆ ก็ยังหาคำตอบไม่ได้เหมือนกันว่าควรจะยึกเหนี่ยวอะไร แต่พอโตขึ้นก็เริ่มตกผลึกได้ว่า "พ่อแม่" คือบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจให้เราได้มากที่สุด เป็นคนสำคัญในการอบรมสั่งสอนเรา เป็นแบบอย่างที่ดีให้เรา
1
เวลามีปัญหาเราก็นึกถึงแต่พ่อแม่ ไม่เคยนึกถึงพระพุทธเจ้าเลยสักครั้ง ทำให้เราใช้ชีวิตในเส้นทางที่ถูกที่ควร และไม่สร้างปัญหาให้ใคร ขณะเดียวกันก็รับฟังหลักคำสอนของทุกๆ ศาสนา นำเอาส่วนที่ดีมีประโยชน์มาปรับใช้ในชีวิตเราได้เช่นกัน" ณฤดี สรุปทิ้งท้าย
อ้างอิง : WorldpopulationReview, PewResearch 2012, PewResearch 2020, การไม่มีศาสนา
โฆษณา