8 พ.ค. 2022 เวลา 13:02 • หนังสือ
คุณรู้หรือไม่? อัจฉริยะสามารถกลายเป็นคนที่ประสบกับหายนะทางการเงินได้ เช่นเดียวกันในทางตรงกันข้าม คนธรรมดาๆ ที่ไม่ได้เรียนรู้ทางด้านการเงินมาเลยก็สามารถที่จะร่ำรวยได้ คำถามคือ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
1
สรุปหนังสือ The Psychology of Money ตอนที่ 1
สวัสดีลูกเพจทุกท่านค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่โลกแห่งการอ่าน อ่านเพื่อชนะปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ อ่านเพื่อนำเกร็ดความรู้ แง่คิด และบทเรียนต่างๆ มาปรับใช้ในชีวิตจริงกัน
สำหรับหนังสือเล่มใหม่ที่แอดอยากนำเสนอนั้นมีชื่อว่า The Psychology of Money หรือในชื่อภาษาไทยก็คือ จิตวิทยาว่าด้วยเงิน นั่นเองค่ะ
หนังสือเล่มนี้ก็เป็นหนังสือการเงินที่ขายดีและโด่งดังมากๆ เลยทีเดียวค่ะ คำถามคือคุณผู้อ่านพร้อมหรือยังคะที่จะทำความรู้จักอย่างจริงจังและลึกซึ้งกับ “เงิน” ทำความรู้จักอย่างจริงจังและลึกซึ้งกับ “พฤติกรรมของคุณเองที่มีต่อเงิน” ผ่านเรื่องเล่าของหนังสือเล่มนี้
ถ้าคุณพร้อมแล้ว ก็มาเตรียมรับรู้ความจริงได้เลย!!!
มอร์แกน เฮาเซิลผู้เขียนหนังสือเล่มนี้บอกว่า...
การจัดการเงินได้ดีนั้นไม่เกี่ยวกันว่าคุณฉลาดแค่ไหน แต่เกี่ยวข้องอย่างมากกับพฤติกรรมของคุณ และพฤติกรรมนั้นก็เป็นเรื่องยากที่จะสอน แม้แต่กับคนที่ฉลาดที่สุดก็ตาม
อัจฉริยะที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้นั้นสามารถที่จะกลายเป็นคนที่ประสบกับหายนะทางการเงิน เช่นเดียวกันในทางตรงกันข้าม คนธรรมดาๆ ที่ไม่ได้เรียนรู้ทางด้านการเงินมาเลยก็สามารถที่จะร่ำรวยได้ ถ้าหากว่าพวกเขามีทักษะด้านพฤติกรรมอันมากพอซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การวัดความฉลาดทางด้านสติปัญญา
เฮาเซิลเล่าว่า...โรนัลด์ รี้ดเป็นผู้ใจบุญ นักลงทุน ภารโรง และผู้ดูแลปั๊มน้ำมันชาวอเมริกัน
1
โรนัลด์ รี้ด เกิดในชนบทเมืองเวอร์มอนต์ เขาเป็นคนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาคนแรกของครอบครัว และยิ่งน่าประทับใจมากขึ้นด้วยความจริงที่ว่าเขาต้องโบกรถเพื่อไปเรียนที่วิทยาเขตในแต่ละวัน
สำหรับคนที่รู้จักโรนัลด์ รี้ด มันไม่มีสิ่งอื่นที่ควรค่าต่อการพูดถึงมากนัก ชีวิตของเขานั้นเรียบง่ายเช่นเดียวกับที่มันเคยเป็นมาโดยตลอด
1
รี้ดซ่อมรถอยู่ที่ปั๊มน้ำมันเป็นเวลา 25 ปี และถูพื้นที่บริษัท JCPenney อยู่ 17 ปี เขาซื้อบ้าน 2 ห้องนอนราคา 12,000 เหรียญตอนอายุ 38 และอาศัยอยู่ที่นั่นตลอดช่วงชีวิตที่เหลือของเขา เขาเป็นม่ายตอนอายุ 50 และไม่เคยแต่งงานใหม่ เพื่อนของเขาคนหนึ่งจำได้ว่างานอดิเรกของเขาคือการผ่าฟืน
1
รี้ดตายในปี 2014 ในขณะมีอายุได้ 92 ปี ซึ่งเป็นตอนนั้นเองที่ภารโรงชนบทผู้ถ่อมตนได้มีชื่ออยู่บนพาดหัวข่าวระดับประเทศ
มีชาวอเมริกันจำนวน 2,813,503 คน ตายในปี 2014 ในจำนวนนี้มีคน < 4,000 คนที่มีความมั่งคั่งสุทธิ > 8 ล้านเหรียญในวันที่พวกเขาจากไป และโรนัลด์ รี้ด ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ในพินัยกรรมของเขา อดีตภารโรงได้ทิ้งเงิน 2 ล้านเหรียญเอาไว้ให้กับลูกเลี้ยง และมอบเงินมากกว่า 6 ล้านเหรียญให้กับโรงพยาบาลและห้องสมุดท้องถิ่น
1
ทุกคนที่รู้จักรี้ดต่างก็งุนงงว่าเขาไปเอาเงินทั้งหมดนั่นมาจากที่ไหนกัน?
1
แล้วความจริงก็ปรากฎ ไม่มีทั้งเรื่องของการชนะรางวัลลอตเตอรี่และการรับมรดก รี้ดออมเงินจำนวนเล็กน้อยที่เขาหามาได้และลงทุนในหุ้นบลูชิพ จากนั้นเขาก็รอคอยเป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่งเงินออมเล็กๆ น้อยๆ ของเขาทบต้นรวมกันจนมีมูลค่า > 8 ล้านเหรียญ
ไม่กี่เดือนก่อนที่โรนัลด์ รี้ด จะตาย ชายอีกคนที่ชื่อ ริชาร์ด มีชื่ออยู่ในข่าว
ริชาร์ด ฟัสโคน มีทุกอย่างที่โรนัลด์ รี้ดไม่มี เขาเป็นผู้บริหารบริษัท Merrill Lynch ที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพร้อมทั้งมีปริญญาโท MBA
1
ฟัสโคนประสบความสำเร็จในสายอาชีพด้านการเงินซึ่งทำให้เขาสามารถเกษียณได้ในช่วงอายุ 40 เพื่อที่จะมาเป็นผู้ใจบุญ เดวิด โคมานสกีย์ CEO ของบริษัท Merrill กล่าวยกย่องฟัสโคนว่า “มีความรอบรู้ทางธุรกิจ มีทักษะของผู้นำ มีวิจารณญาณที่ดีและเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์” ครั้งหนึ่งนิตยสารธุรกิจรายสัปดาห์ที่ชื่อ Crain ยกย่องให้เขาเป็น 1 ใน 40 นักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จที่มีอายุ “น้อยกว่า 40 ปี”
แต่หลังจากนั้นทุกอย่างก็พังทลายลง
ในช่วงกลางปี 2000 ฟัสโคนได้ทำการกู้ยืมเงินก้อนใหญ่มาเพื่อใช้ในการต่อเติมบ้าน 18,000 ตารางฟุตของเขาที่ตั้งอยู่ที่เมืองกรีนิช รัฐคอนเนคทิคัต ซึ่งมี 2 ห้องน้ำ ลิฟท์ 2 ตัว สระว่ายน้ำ 2 สระ โรงจอดรถ 7 หลัง และต้องใช้เงินในการดูแลรักษามากกว่า 90,000 เหรียญต่อเดือน
2
จากนั้นวิกฤตการเงินปี 2008 ก็เข้าจู่โจม
1
วิกฤตครั้งนั้นได้ทำร้ายการเงินของทุกคนอย่างแท้จริง เห็นได้ชัดว่ามันทำให้บ้าน ของฟัสโคนกลายเป็นสิ่งไร้ค่า หนี้จำนวนมากและสินทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่องทำให้เขาต้องล้มละลาย “ตอนนี้ผมไม่มีรายได้เลย” เขาบอกกับผู้พิพากษาคดีล้มละลายในปี 2008
1
บ้านที่ปาล์มบีชของเขาโดนยึดไปเป็นสิ่งแรก
และก็ถึงตาของคฤหาสน์ที่กรีนิชในปี 2014
มอร์แกน เฮาเซิลบอกว่า...
5 เดือนก่อนที่โรนัลด์ รี้ด จะทิ้งทรัพย์สมบัติของเขาให้กับการกุศล บ้านของริชาร์ด ฟัสโคน ที่ซึ่งแขกจดจำได้ว่ามันเป็น “ความตื่นเต้นของการับประทานอาหารและการเต้นรำอยู่บนพื้นที่สามารถมองทะลุเห็นสระว่ายน้ำที่อยู่ภายในบ้าน” ก็ถูกประมูลขายทอดตลาดไปด้วยราคาที่ต่ำกว่า 75% ของราคาที่บริษัทประกันประเมินไว้
โรนัลด์ รี้ด เป็นคนมีความอดทน ส่วนริชาร์ด ฟัสโคนนั้นเป็นคนโลภ นั่นคือสาเหตุทั้งหมดที่ทำให้การศึกษาจำนวนมากถูกด้อยค่าและทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนทั้งสอง
1
บทเรียนนี้ไม่ได้สอนให้คุณเป็นเหมือนกับโรนัลด์มากขึ้นและเป็นเหมือนกับริชาร์ดน้อยลง แม้ว่านั่นจะเป็นคำแนะนำที่ไม่เลวก็ตาม
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับเรื่องราวเหล่านี้คือความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเรื่องการเงินของพวกเขา
1
หากเป็นในอุตสาหกรรมอื่นๆ จะมีใครบ้างไหมที่เรียนไม่จบมหาวิทยาลัย ไม่ได้รับการฝึกอบรม ไม่มีพื้นฐาน ไม่มีประสบการณ์อย่างเป็นทางการ และไม่มีคอนเนคชั่น ที่จะสามารถทำได้ดีกว่าใครบางคนที่ได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด การฝึกอบรมที่ดีที่สุด และมีคอนเนคชั่นที่ดีที่สุด?
เฮาเซิลบอกว่า...เขาแทบจะนึกไม่ออกเลยแม้แต่นิดเดียว
แต่เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับการลงทุน
@ประการที่ 1: ผลลัพธ์ทางการเงินนั้นถูกขับเคลื่อนด้วย...
- โชค
- ความพยายาม
- และความฉลาดส่วนบุคคล
3
เฮาเซิลบอกว่า...นั่นคือความจริงระดับหนึ่งเท่านั้น
1
@ประการที่ 2: ความสำเร็จทางการเงินนั้นไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์แบบตรงไปตรงมา (Hard Science) แต่มันคือ...
- ทักษะทางด้านอารมณ์
- และการบริหารจัดการความคิด (Soft skill) ที่ซึ่งพฤติกรรมที่คุณทำนั้นมีความสำคัญมากกว่าสิ่งที่คุณรู้
มอร์แกนเรียกทักษะแบบนี้ว่า “จิตวิทยาการเงิน” วัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ คือการใช้เรื่องราวสั้นๆ เพื่อทำให้คุณเห็นว่าทักษะทางด้านอารมณ์และการบริหารจัดการความคิดนั้นมีความสำคัญมากกว่าทักษะวิชาการทางการเงิน เขาบอกว่าเขาจะเขียนมันออกมาในรูปแบบที่จะช่วยให้ทุกๆ คนตั้งแต่รี้ดไปจนถึงฟัสโคน และทุกๆ คนที่อยู่ระหว่างนั้นสามารถที่จะตัดสินใจทางการเงินได้ดีขึ้น
อ่านจบแล้วเป็นยังไงบ้างคะ
แอดอยากบอกว่านี่แค่น้ำจิ้มเท่านั้น ถ้าคุณสนใจอยากทำความรู้จักกับ “เงิน” ให้มากขึ้น และอยากทำความรู้จักว่าคนอื่นๆ คิดหรือปฏิบัติยังไงกับเงิน หรือแม้แต่คุณอยากศึกษาให้ลึกซึ้งว่า จริงๆ แล้วตัวคุณนั้นมีพฤติกรรมยังไงกันแน่กับเงิน แอดก็อยากให้ลองติดตามกันต่อในบทถัดๆ ไปอีก 20 บทข้างหน้าค่ะ รับรองว่าเนื้อหาและเรื่องเล่าจุกๆ แน่นอน 555
2
อ่ะ แล้วในตอนนี้คุณพอตอบตัวเองได้ไหมคะว่า พฤติกรรมต่อเงินเบื้องต้นของคุณคล้ายคลึงกับ “โรนัลด์ รี้ด” หรือ “ริชาร์ด ฟัสโคน” มากกว่ากัน?
โฆษณา