12 พ.ค. 2022 เวลา 01:08 • ประวัติศาสตร์
เรื่องเล้นลับในวังหลวง "ตอนที่๑"
พระบรมมหาราชวังหรือที่ชาวบ้านนอกรั้ววังมักใช้เรียกขานกันสั้นๆ
ว่า "วังหลวง"นี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2325
พระบรมมหาราชวัง
"วังหลวง"เป็นสถานที่สถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์รวมถึงเป็นสถานที่เคร่งครัด เข้มงวดในกฎระเบียบและประเพณีในราชสำนัก
ชาววังหลวงเชื่อกันว่าทุกบริเวณในเขตรั้ววังล้วนมีเทวดาปกปักรักษา
แม้แต่ประตูพระราชวังก็มีประเพณีที่เคร่งครัด โดยเฉพาะ "ธรณีประตู"ซึ่งมีกฎว่า ใครจะเข้าออกก็เดินข้ามไปได้แต่จะเหยียบธรณีไม่ได้
ภาพธรณีประตู
เพราะเป็นประเพณีที่ถือกันมาว่าประตูพระราชวังทุกแห่งมี "เทพยดารักษา"ขนาดว่าถ้าผู้ใดไม่รู้แล้วเผลอไปเหยียบเข้าก็จะถูกเจ้าหน้าที่ กรมโขลน
ผู้รักษาประตูดุเอา หรือบางทีอาจถึงกับถูกสั่งให้ก้มลงกราบธรณีประตู
เพื่อขอขมาลาโทษเลยทีเดียว
ทุกสถานที่เมื่อมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกปักรักษาและยิ่งเป็นสถานที่เก่าแก่มีความเป็นมายาวนาน ก็ย่อมต้องมีเรื่องราวของความลี้ลับและอาถรรพ์ปะปนอยู่เสมอเป็นของคู่กัน
เรื่องต่อมาเป็นเรื่องเล่าของชาววังในอดีตเกี่ยวกับอาถรรพ์และวิญญาณในวังหลวง เล่ากันว่าชาววังในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็กลัวผีเหมือนกัน
มีอยู่เหตุการณ์หนึ่งซึ่งเป็นเรื่องราวชวนขนลุกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นและยัง เล่าสืบต่อกันมาไม่รู้จบว่า พวกในวังมักมีที่เล่นสำราญสนุกสนาน ที่บริเวณสระน้ำกว้างขวางแห่งหนึ่งภายในวัง สระน้ำนี้จะมีท่อธารน้ำไหลเข้ามาจากแม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นสระน้ำที่ผันน้ำจากเจ้าพระมาใช้ในวัง
ทั้งสองด้านหัวและท้ายสระจะมีบันไดอิฐถือปูนเป็นทางสำหรับลงไปตักน้ำได้ว่ากันว่า เมื่อแรกสร้างนั้นน้ำเต็มเปี่ยมใสสะอาดดี เพราะมีกฎข้อห้ามจากเจ้านายไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดลงไปอาบหรือทำความสกปรกใน บริเวณใกล้ขอบสระนั้น ที่บริเวณสระน้ำนี้ยังมีต้นปีบขนาดใหญ่ สูงระหงกับต้นจันทน์ทอดกิ่งก้านสาขาใบดกเขียวร่มรื่น ปีบออกดอกขาวร่วงหล่นอยู่ที่โคนต้น ส่งกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ
ชาววังสมัยนั้นก็มักจะมาเที่ยวเก็บดอกบีบและลูกจันทน์เล่น แต่ต่อมาได้เกิดเสียงเล่าลือไปในทางไม่เป็นมงคล ทำให้ชาววังเกิดอาการกลัวผีกันนักหนา กลางค่ำกลางคืนก็ไม่กล้าออกไปไหน แม้แต่จะไปอุโมงค์ที่ถ่ายทุกข์ยังไม่ยอมไปเพราะทางที่จะไปต้องเดินผ่านบริเวณสระน้ำนั้น ก็ไม่มีใครกล้าเดินผ่าน ทั้งนี้เพราะว่า
"พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรทัยเทพกัญญา"ซึ่งเป็นพระธิดาพระองค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประชวรด้วยพระโรคเรื้อรังกระเสาะกระแสะอยู่นานได้สิ้นพระชนม์ลง แม้จะทรงรักษาพระอาการประชวรด้วยวิธีแพทย์หลวงและทางไสยศาสตร์ หรือจะทรงหมั่นบำเพ็ญพระกุศลหวังจะให้หายจากพระโรคก็ไม่หาย(เล่ากันภายในว่าทรงเป็นพระโรคประสาทและทรงกระทำวัตธิพิฆาตกรรมพระองค์เองจนสิ้นพระชนม์)
เมื่อพระองค์เจ้าพระองค์นี้สิ้นพระชนม์ลงต่อมาก็มีการโจษจันกันว่ามีผู้ได้ยินเสียงร้องโหยหวยในยามวิกาล มีการกล่าวขวัญกันต่อๆ มาและสรุปว่าเป็นเพราะเสด็จพระองค์นั้นเพิ่งจะสิ้นพระชนม์ คงจะทรงไปทนทุกขเวทนาอยู่ เลยทำให้หวาดกลัวกันไปทั้งวังหลวง จนเรื่องนี้รู้ไปถึงพระกรรณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จึงทรงมีพระราชดำริให้แก้อาถรรพ์นี้
1
ด้วยวิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสังฆทานและทรงสั่งให้ขุดสระน้ำขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลส่งไปโปรดพระเจ้าน้องนางเธอพระองค์นั้นให้พ้นทุกข์เมื่อวันที่สระน้ำสร้างเสด็จก็มีพิธีฉลองสระ บรรดาเจ้านายพระบรมวงศ์ฝ่ายในทั้งหลายก็พากันเสด็จมาร่วมบำเพ็ญพระกุศล
ตั้งแต่นั้นมาเรื่องเล่าของชาววังเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจึงเงียบหายไป ส่วนสระน้ำที่ขุดใหม่นี้ชาววังในสมัยนั้นจะเรียกว่า "สระพระองค์อรทัย"
เรื่องลี้ลับของชาววังหลวงไม่ได้มีเพียงเท่านั้น เพราะหลายๆ คนก็เจอดีและมีประสบการณ์ที่พิสูจน์ไม่ได้อันแปลกแหวกแนวไปคนละอย่างโดยเฉพาะเหตุการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้นในสมัยหลังช่วงรัชกาลที่ 8-9 ก็มีเรื่องเล่าถึงชาวจีนคนหนึ่งซึ่งเข้ามาซ่อม "พระแท่นราชอาสน์"
พระแท่นราชอาสน์
ซึ่งเป็นของสูงที่องค์พระมหากษัตริย์ได้ทรงใช้เอนพระวรกายมาแล้วหลายพระองค์ จึงเป็นของศักดิ์สิทธิ์และมีเทวดารักษา แต่ช่างชาวจีนซึ่งเป็นสามัญชนคนนี้ไม่รู้ประเพณีการให้ความเคารพในของศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งผิดกับช่างไทยถ้าจะทำงานกับของสูงเช่นนี้จะต้องมีการเอาดอกไม้ธูปเทียนมาถวายสักการะ
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติจากดวงพระวิญญาณ เพราะการซ่อมนั้นช่างจำเป็นจะต้องขึ้นไปเหยียบย่ำบนพระแท่นเพื่อรื้อของเก่าออก เมื่อช่างจีนผู้ไม่รู้ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำไม่ได้บวงสรวงสักการะ พอมาถึงก็ขึ้นไปเหยียบย่ำรื้อเลย ทำให้จู่ๆ ก็พลาดตกลงมาจากพระแท่นราชอาสน์
จนถึงกับสลบและมีอาการกระอักเลือดออกมาทางทวารทั้งเก้า ทั้งๆ ที่พระแท่นราชอาสน์นั้นมีระยะสูงจากขอบพระบัญชรถึงพื้นไม่ถึงเมตร แต่กลับทำให้ช่างจีนคนนั้นถึงกับสิ้นใจตาย จึงเป็นเหตุให้ทางผู้รับเหมางานนี้ต้องรีบเอากระดาษเงินกระดาษทองมาเผาถวาย สักการะเป็นการใหญ่.
บรรยากาศในวังหลวงสมัยก่อนในตอนกลางวันเมื่อเวลาไม่มีผู้คนสภาพแวดล้อมค่อนข้างน่ากลัวเพราะเงียบเชียบและยิ่งดึกๆ ก็ยิ่งวังเวง เรื่อง "ผีและโอปปาติกะ"ในวังหลวงมีอีกหลายเรื่องราวที่เล่าต่อๆกันมา บ้างก็ว่ามีทั้งวิญญาณของเจ้านายฝ่ายในและบางครั้งก็เป็นเทวดา
มีเรื่องเล่าจากบันทึกของตำรวจหลวงในวังท่านหนึ่งซึ่งท่านเล่าไว้อย่างสนุกและน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ชวนพิศวง เมื่อครั้งงานพระราชพิธีพระบรมศพล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 8 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เรื่องมีอยู่ว่าในเวลาดึกช่วงระหว่างงานพระราชพิธีนั้น พอพระบรมวงศานุวงศ์แขกระดับผู้ใหญ่กลับกันหมดแล้ว
ภาพมะหวดตุ้งติ้งและตำรวจหลวงในวัง
ก็จะมีทหารยามและตำรวจวังเฝ้าพระบรมศพอยู่โดยทหารจะยืนยาม 4 มุมของพระบรมศพ และจะมีการเปลี่ยนเวรกันเป็นกะ ในส่วนของการยืนยามด้านในซึ่งเป็นที่ไว้พระโกศศพทำด้วยทองคำแท้ๆ นั้นจะมีทหารมารักษาการณ์เฉพาะตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะมีเจ้าหน้าที่ทำงานคอยเฝ้าอยู่
สำหรับทหารที่มาเข้าเวรก็เป็นที่รู้กันว่าเมื่อเดินมาถึงจุดนี้จะต้องทำความเคารพพระบรมศพเสียก่อนด้วยการวันทยาหัตถ์ แต่ก็มีบางคนที่มาเข้าเวรใหม่ยังไม่รู้ธรรมเนียมจึงไม่ได้แสดงความเคารพ มาถึงก็ยืนเข้าที่เลย ปรากฏว่าโดนดีกันเป็นแถว เพราะถูกฝ่ามือลึกลับของใครก็ไม่ทราบมาตบที่ท้ายทอยจนหัวคะมำ พอหันมาดูรอบๆ ตัวก็ไม่มีใคร ที่น่าประหลาดยิ่งไปกว่านั้นอีกก็คือ บางครั้งทหารยืนยามมาทั้งคืนพอใกล้สว่างก็ชักไม่ไหว
ต้องทรุดลงนั่งและหลับยามไปงีบหนึ่งแต่พอเจ้านายมาตรวจเวรก็จะมีเสียงคนมาปลุกและเขย่าตัว บอกให้ตื่นเจ้านายมาแล้ว โดยที่ไม่มีใครเคยเห็นตัวคนปลุกซักครั้งเดียวจนสืบเนื่องมาถึงเรื่อง "โคมมะหวดตุ้งติ้ง" เรื่องมีอยู่ว่ามีทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เผลอหลับขณะปฏิบัติหน้าที่ในเวลากลางคืน
ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปิดพระทวาร (ประตู) และพระบัญชร (หน้าต่าง) ไว้หมดแล้ว ไม่มีลมที่จะสามารถพัดให้โคมมะหวดตุ้งติ้งสั่นไหวได้ แต่อยู่ๆ กลางคืนนั้นก็เกิดเสียงกระทบกันของโคมมะหวดตุ้งติ้งดังขึ้นแรง ๆ เหมือนมีลมแรง ๆ พัดไปโดนจนแกว่ง จึงทำให้ทหารที่หลับเวรตื่น รวมทั้งพระที่สวดพิธีธรรม ก็สะดุ้งไปตามๆ กัน
จบไปแล้วนะครับสำหรับเรื่องเล้นลับในวังหลวง "ตอนที่๑" ทุกท่านสามารถติดตามเพจ เพื่ออ่านเรื่องเกี่ยวกับความเล้นลับในวังหลวง ตอนต่อไป ขอบคุณค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง : คลังประวัติศาสตร์ไทย
เรียบเรียงใหม่โดย : สยาม siam
โฆษณา