14 พ.ค. 2022 เวลา 16:28 • สุขภาพ
เมื่อไรที่คุณต้องตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่ทำให้
ผู้หญิงไทยเสียชีวิตมากที่สุด
ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้
เราสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ในระยะต้นๆ
ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของการรักษา
แต่คุณรู้หรือไม่ว่าเมื่อไร ที่คุณความเริ่มเข้าพบแพทย์
เพื่อตรวจคัดกรองโรค "มะเร็งเต้านม"
ตามคำแนะนำของสมาคมรังสีแพทย์สหรัฐอเมริกา
ทำให้เราจำแนกระดับความเสี่ยง
ของการเป็นมะเร็งเต้านมออกเป็น3ระดับดังนี้
1.กลุ่มสตรีทั่วไป (average risk)
สตรีกลุ่มนี้ไม่มีความเสี่ยงร่วมอื่นๆที่จะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งเต้านม
จึงแนะนำว่าความเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยการทำแมมโมแกรมและอุลตร้าซาวด์
เมื่อมีอายุได้ 40 ปี
2.กลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง (intermediate risk)
สตรีกลุ่มนี้มีความเสี่ยงอื่นๆร่วมด้วยที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่
-เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
-เคยเป็นเนื้องอกที่เต้านมชนิด ductal hyperplasia
ในสตรีกลุ่มนี้ จะมีโอกาสที่จะเกิดโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นจากคนปกติถึง 20 %
ดังนั้น จึงแนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่อายุ40ปี
โดยการทำแมมโมแกรม อุลตร้าซาวด์และMRI
3.กลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยงสูง (high risk)
กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนปกติถึง 20 % เลยทีเดียว
คุณอาจจะเป็นสตรีกลุ่มนี้ได้ถ้ามีความเสี่ยงเพิ่มเติมดังนี้
-เคยมีญาติสายตรงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งและมีการกลายพันธุ์ของยีนBRCA
-เคยต้องรับรังสีรักษาบริเวณทรวงอก ตอนช่วงอายุ 10 - 30 ปี
เนื่องจากสตรีกลุ่มนี้มีความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูง
จึงแนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเร็ว
โดยอายุที่จะเริ่มตรวจคัดกรองนั้น จะดูที่อายุญาติที่เริ่มเป็นมะเร็ง
แล้วให้คนไข้ตรวจก่อนอายุญาติที่เป็นมะเร็งเป็นเวลา 10 ปี
โดยคนไข้จะต้องได้รบการตรวจคัดกรองด้วยการทำ
แมมโมแกรม อุลตร้าซาวด์ และการทำ MRI เต้านม ทุกๆ 1 ปี
แล้วคุณล่ะ มีความเสี่ยงระดับไหน?
ด้วยรักและห่วงใย
#หมอโภคิน
ติดตามความรู้สุขภาพเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา