15 พ.ค. 2022 เวลา 12:24 • ปรัชญา
คุณคงเคยได้ยินกันไม่น้อยเกี่ยวกับว่า ต้องเป็นคนมีศีลธรรมอันดีงามของสังคม เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีน้ำใจ มีเมตตา บลาๆ อีกร้อยแปดพันเก้าในการเป็นคนดี
แล้วไอ่คำว่า ศีลธรรมอันดี มันเป็นยังไง แก่นลึกๆของมัน
คุณคิดว่าคนทุกคนที่ ให้เงินขอทานทุกคนเป็นคนดีจริงหรอ ? หรือว่าเขาทำเอาหน้า
คนที่แบ่งขนมให้เพื่อนกิน ทุกคนเป็นคนดีหรอ ? หรือว่าเขาแค่กินไม่หมด
ถ้าจะบอกว่า คนที่แบ่งขนม=คนดี มันดูไม่เมคเซนส์เท่าไหร่เลย เนื้อความมันดูลวกๆเกินไป
ผมจะมาเขียนอีกแนวคิดนึงเกี่ยวกับเรื่องของความดี ว่า ความดีมันควรเป็นอย่างไร?
สมมติว่า คุณเห็นคนอดอาหาร หิวโซ อยู่ข้างทาง แล้วคุณรู้สึกสงสาร คุณเลยให้อาหารเขาไป
มันดีนะ ที่เขา(ขอทาน)ได้กินอิ่ม แต่ว่าไม่ดี ที่คุณรู้สึกสงสาร เพราะการทำความดีของคุณ ทำไปเพราะอารมณ์ ความรู้สึก ถ้าเกิดว่า วันนั้นเขาอารมณ์ไม่ดี ขอทานคงไม่ได้กินข้าว
คุณอาจจะคิดว่า ก็ใช่ แต่ผมคิดว่า คุณควรให้ขอทานเพราะเป็นหน้าที่ของเพื่อนมนุษย์มากกว่า
เหมือนคุณกำลังทำความดีเพื่อหวังสิ่งตอบแทน(ความรู้สึกดีที่สมหวังเมื่อเห็นขอทานกินอิ่ม) นั่นไม่ใช่ความดีเท่าไหร่
การทำความดี คุณควรทำเพราะ คำว่า หน้าที่ของเพื่อนมนุษย์ ต่างหาก
นั่นแหละครับคือ ศีลธรรมอันดี ใช่ว่าใครจะทำกันได้ง่ายๆ
กลับกัน ทำความชั่วง่ายกว่า 555555+
ขอบคุณครับ
โฆษณา