20 พ.ค. 2022 เวลา 12:03 • หุ้น & เศรษฐกิจ
📍โสดแล้วไง นอนอยู่บน(คาน)ทองคำแล้วกัน
วางแผนโสดตลอดชีวิต ต้องเตรียมอะไรบ้าง
💡 1. นึกถึงรายจ่ายที่จะเพิ่มมาหลังเกษียณ 💡
ได้แก่ ค่าอุปโภคและบริโภค ค่าคนดูแล ค่าปรับปรุงบ้าน ค่าบ้านพัก Nursing Home ค่ารักษาพยาบาล ท่องเที่ยว ช้อปปิง เงินทำบุญ บริจาค เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อ
💡 2. คำนวณเงินที่ต้องมีเพื่อใช้หลังเกษียณ 💡
👉 ใช้สูตร "เงินเก็บที่ต้องมีเพื่อเกษียณ = รายจ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ x จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ x 2 x 12"
👉 รายจ่ายต่อเดือน คิดบนพื้นฐานชีวิตหลังเกษียณ (ไม่ใช่รายจ่ายปัจจุบัน) รวมอัตราเงินเฟ้อ
เช่น นางสาวออม คาดว่าจะมีรายจ่ายต่อเดือนหลังเกษียณอยู่ที่ 20,000 บาท ตั้งใจเกษียณตอนอายุ 60 และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงอายุ 80 ปี ดังนั้น เงินเก็บที่นางสาวออมต้องมีเพื่อเกษียณ = 20,000 x (80-60) x 2 x 12 = 9,600,000 บาท
💡 3. วางแผนเงินเก็บต่อเดือน
👉 นำจำนวนเงินเก็บที่ต้องมีเพื่อเกษียณ มาหารด้วยจำนวนเดือนที่เหลืออยู่ในช่วงวัยทำงาน
👉 เช่น นางสาวออม ตอนนี้อายุ 35 ต้องเก็บเงินให้ได้ 9,600,000 บาท เพื่อเกษียณตอนอายุ 60 ดังนั้น เงินที่นางสาวออมต้องเก็บให้ได้ต่อเดือนตั้งแต่วันนี้ = 9,600,000 / [(60-35)(12)] = 32,000 บาท
💡 4. เริ่มเก็บเงินแต่เนิ่น ๆ ยิ่งง่าย 💡
👉 จากตัวอย่างในข้อ 3. หากนางสาวออมเริ่มเก็บเงินเพื่อเกษียณตั้งแต่อายุ 25 เงินที่นางสาวออมต้องเก็บให้ได้ต่อเดือน = 9,600,000 / [(60-25)(12)] = 22,857.14 บาท
👉 ยิ่งเริ่มเก็บเงินเร็ว ความกดดันยิ่งน้อย
💡 5. ทำประกัน 💡
👉 ประกันบำนาญ
👉 ประกันสุขภาพ
👉 ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์
💡 6. วางแผนเคลียร์หนี้สิน 💡
👉 ภาระผ่อนต่าง ๆ (กยศ. บ้าน รถ ฯลฯ) วางแผนปิดหนี้ให้ได้ก่อนเกษียณ
💡 7. ลงทุนให้ถูกที่ ออมให้ถูกทาง สร้างรายได้หลังเกษียณ 💡
เช่น สลากออมสิน เงินฝากประจำ เงินฝากประจำระยะยาว เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษผู้สูงวัย เงินฝากเผื่อเรียกประชารัฐผู้สูงวัย กองทุนรวมตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ปล่อยเช่า หรือการทำกิจการส่วนตัว
📣 สนใจเรียนรู้ความรู้ทางการเงินอื่นๆ ของ oomtang "ออมตังค์" เพิ่มเติมคลิกที่ https://oomtang.gsb.or.th หรือ สามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน ได้แล้ว ทั้งระบบ iOS (App store) และ Android (Google Play Store) คลิกที่ http://onelink.to/wsqgyh
โฆษณา