20 พ.ค. 2022 เวลา 02:46 • ความคิดเห็น
เมื่อการตัดสินใจเลือกอย่างมีกลยุทธ์และปลอดภัย อาจพ่นพิษที่ทำให้เราไม่สามารถเลือกตามความชอบที่แท้จริงได้อย่างปลอดภัย : เงาสะท้อนจากเขตการศึกษาภาครัฐแห่งบอสตัน สู่สนามเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
เครดิตภาพ : https://www.prachachat.net/politics/news-848699
เมื่อคุณขับรถไปตามถนนอันแน่นขนัดเเละกำลังมองหาที่จอดรถ จู่ ๆ มีรถถอยออกมาจากช่องจอดพอดี แต่ทว่าเป็นจุดจอดที่อยู่ไกลจากร้านที่คุณต้องไปพอสมควรเลย…สิ่งที่คุณต้องเผชิญคือ การเลือกอย่างมีกลยุทธ์และปลอดภัยอย่างการเข้าจอดช่องดังกล่าวเลย หรือยอมเสี่ยงผ่านไปเพื่อให้ได้ที่จอดที่เป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของคุณ?
Alvin E. Roth
นี่คือคำถามเปรียบเปรยของ Alvin E. Roth นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2012 เมื่อเจ้าตัวพูดถึงระบบการจัดสรรโรงเรียน (เก่า) ของเขตการศึกษาภาครัฐแห่งบอสตัน
Alvin E. Roth : เครดิตภาพ http://archive.boston.com/bostonglobe/ideas/articles/2011/04/03/the_matchmaker/
Roth กล่าวในหนังสือ Who Gets What-and Why (หรือชื่อหนังสือฉบับแปลไทย ‘ใคร ได้อะไร เพราะอะไร ในโลกของเศรษฐศาสตร์ ‘) ว่าระบบการจัดสรรดังกล่าวดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักความปลอดภัยเลยแม้แต่น้อย (จนผู้ปกครองและเด็กจำต้องเลือกทางที่ปลอดภัยมากกว่าความชอบที่แท้จริง)
เครดิตภาพ : www.welearnbook.com
โดยระบบดังกล่าวจะให้นักเรียน (และผู้ปกครอง) เลือกโรงเรียนที่ต้องการจะเข้าศึกษาต่อจากมากไปหาน้อยทั้งหมด 3 อันดับ
โดยมีเงื่อนไขเล็กน้อยแต่ส่งผลต่อการตัดสินใจมหาศาลคือ ‘ที่ว่างครึ่งของโรงเรียนสิทธิ์จะตกเป็นของเด็กที่มีพี่เรียนอยู่โรงเรียนนั้นอยู่แล้ว และสิทธิ์แก่เด็กที่บ้านอยู่ใกล้โรงเรียนในระยะเดินถึง’
ที่เหลืออีกครึ่งนึงค่อยนำรายชื่อเด็กที่เลือกโรงเรียนดังกล่าวเป็นอันดับหนึ่งมาจับสลากต่อไป และหากฟลุ๊คยังเหลือที่นั่งอีกก็ไปกาชาจับฉลากเด็กที่เลือกโรงเรียนนี้เป็นอันดับที่สอง และหากเต็มเมื่อไรก็จะปัดตกเด็กที่เหลือที่เลือกโรงเรียนดังกล่าวทุกคนทันที (แม้เด็กคนนั้นจะเลือกโรงเรียนดังกล่าวเป็นอันดับหนึ่งก็ตามที)
อ่านเเล้วดูเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนและไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่นั้นก็ทำให้ครอบครัวเด็กและตัวเด็กต้องเผชิญกับความไม่ปลอดภัยที่จะทำให้พวกเขาไม่สามารถเลือกโรงเรียนตามความต้องการที่แท้จริงได้
เครดิตภาพ : https://everydayfeminism.com/2016/04/dangerous-myth-of-bad-kid/
กล่าวคือ หากเด็กคนหนึ่งไม่มีพี่ และโรงเรียนที่เจ้าตัวอยากเข้าจริง ๆ ไม่ได้อยู่ในระยะเดินถึง คำถามคือมีโอกาสแค่ไหนที่เด็กจะได้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่ตังเองต้องการ
ซึ่ง Roth เฉลยแล้วว่าโอกาสได้แทบจะเป็น 0 และซ้ำร้ายกว่านั้นเด็กคนนั้นอาจไม่ได้เข้าเรียนโรงเรียนที่ตัวเองเลือกมาทั้ง 3 อันดับเลยด้วยซ้ำ (และเลวร้ายกว่านั้นคือ อาจได้เรียนโรงเรียนที่ไม่เป็นที่นิยม แถมอาจอยู่ไกลบ้านแทนอีกด้วย…ซึ่ง Roth พูดได้กระชับความเข้าใจง่ายว่า “โรงเรียนที่ไม่เป็นที่นิยม ย่อมมีเหตุผลในตัวเองที่ทำให้มันไม่เป็นที่นิยม” เมื่อไม่เป็นที่นิยมย่อมหมายความว่ามีที่ว่างเยอะด้วยเช่นกัน)
กลายเป็นว่าพวกเขา 'ใช้ความกลัว (หรือความวิตก)' ในการเลือกโรงเรียน มากกว่าความต้องการจริง ๆ ของตัวเอง
เครดิตภาพ : https://tonkit360.com/50287/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7
ด้วยเหตุนี้เด็กและผู้ปกครองจึงตัดสินใจเลือกโรงเรียนที่ ‘มีพี่เรียนอยู่เเล้ว’ หรือ ‘โรงเรียนที่อยู่ในระยะเดินถึง’ เป็นอันดับหนึ่งแทนเสมอ (เลือกจอดรถในช่องจอดที่เจอเลย แม้จะไกลจากร้านเป้าหมายก็ตาม) เพื่อความปลอดภัยมากกว่าตามความต้องการที่แท้จริงที่ดูสุ่มเสี่ยงกว่า
แล้วมันเกี่ยวอย่างไรกับสนามเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครล่ะ?
อย่างที่เรารู้กันในใจว่า ความต้องการที่แท้จริงหลัก ๆ ของเราคือ ‘การเลือกผู้ว่าที่สามารถแก้ปัญหาที่เรื้อรัง และสามารถปฏิบัติตามนโยบายที่หาเสียงได้จริง’
จนกระทั่งมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เกมการเมือง’ เข้ามาเกี่ยวข้อง
อย่าง “หากไม่เลือกเรา เขามาแน่”
เครดิตภาพ : เพจไทยรัฐ
ตลอดจน “หากเลือกเขา หมายความว่านายกำลังสนับสนุนคน ๆ นั้น (หรือคนกลุ่มนั้น) ด้วย”
ภาพนี้ผมหาเครดิตต้นทางไม่ได้ครับ  แต่คุณรสนาเขาชี้แจงแล้วว่าไม่ได้เป็นผู้ทำ infographic ดังกล่าว  และได้แจ้งให้ทาง กกต. รับทราบแล้ว
ซึ่งมันอาจทำให้เราผลักความต้องการที่แท้จริงของตนเอง (ผู้ว่าที่มีความสามารถในการแก้ปัญหา และสามารถทำให้นโยบายเกิดขึ้นจริงได้) ออกไป
กลายเป็นว่าเรารู้สึกจำเป็นต้องเลือกผู้ว่าคนนั้นแทน เพื่อเอาชนะเกมการเมือง (ซึ่งเป็นของใครบ้างก็ไม่รู้) มากกว่าความต้องการที่แท้จริงของตัวเองเสียอย่างนั้น
และเมื่อผู้คนไม่สามารถใช้ความต้องการที่แท้จริงของตนในระบบของตลาดนั้นได้ฉันใด (อันเกิดจากความกลัว) ตลาดดังกล่าวก็อาจพังพินาศได้ฉันนั้น
โฆษณา