20 พ.ค. 2022 เวลา 10:37 • ข่าว
โรคฝีดาษลิง หรือโรคไข้ทรพิษลิง โรคเก่าที่มาระบาดใหม่ในหลายประเทศ มาเรียนรู้ไปด้วยกัน
3
จากกรณีที่หลายประเทศพบฝีดาษลิง
(Monkeypox) เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เป็นต้น
7
จึงทำให้เกิดการตื่นตัวและมีผู้คนสนใจเกี่ยวกับฝีดาษหรือไข้ทรพิษลิงกันมากว่า เป็นตัวเดียวกับไข้ทรพิษหรือฝีดาษในคน ที่สูญพันธุ์ไปแล้วใช่หรือไม่
วันนี้จะมาเรียนรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวกัน
1
โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษลิง เป็นโรคระบาดที่เรารู้จักกันมากกว่า 60 ปีแล้ว
1
กล่าวคือในปี 2501 พบครั้งแรกในลิงของอัฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก
นอกจากนั้นยังพบในสัตว์อีกหลายชนิด และติดต่อในคนได้ด้วย ประเทศที่พบในช่วงนั้นคือ แคเมอรูน คองโก กาบอง ไนจีเรีย ไลบีเรีย เป็นต้น
2
ในปี 2546 พบการติดฝีดาษลิงในสหรัฐอเมริกา โดยติดจากสัตว์ที่เรียกว่า Prairie Dog
ไวรัสที่ก่อโรคฝีดาษลิง อยู่ในตระกูลใกล้เคียงกับไวรัสที่ก่อโรคฝีดาษในคน(Smallpox) และฝีดาษในวัว(Cowpox) คือ Orthopoxvirus
2
โดยพบว่าสัตว์ที่เป็นแหล่งกำเนิดโรค ได้แก่ สัตว์ในตระกูลลิงแอฟริกา สัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก Prairie Dog และกระต่าย
1
โดยการติดต่อนั้น จะเป็นการติดต่อระหว่างสัตว์ไปหาสัตว์ หรือสัตว์มาหาคน ส่วนกรณีที่คนติดต่อคนด้วยกันนั้นจะพบค่อนข้างน้อย และมักเกิดจากการสัมผัสโดยตรงต่อเชื้อโรค มีส่วนน้อยมากที่สัมผัสผ่านการหายใจ
1
อาการเด่นของโรคนี้คือ หลังจากที่สัมผัสไปแล้ว 7-21 วัน ก็จะเริ่มปรากฏอาการไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ เพลีย และที่สำคัญจะพบต่อมน้ำเหลืองโต
2
หลังจากมีอาการได้ 1-3 วัน ก็จะเริ่มมีผื่นขึ้น โดยเริ่มต้นเป็นผื่นแดงเรียบ
1
แล้วต่อมานูนเป็นตุ่มน้ำใส และเปลี่ยนเป็นตุ่มหนอง จนกระทั่งตกสะเก็ดในที่สุด
ลักษณะของผื่นจะขึ้นที่ใบหน้า แขนขา และลำตัว มีอาการอยู่ประมาณ2-4 สัปดาห์
อัตราการเสียชีวิต 1-10% ซึ่งสูงกว่า โควิด-19 มากพอสมควร
2
การป้องกัน พบว่าวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน สามารถจะป้องกันได้ประมาณ 85%
1
การหลีกเลี่ยง คือการไม่สัมผัสกับตุ่มหนองหรือตุ่มน้ำใสของผู้สงสัยว่าป่วยเป็นฝีดาษลิง
1
ในกรณีที่สัมผัสเชื้อไปแล้ว สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ถ้ายังไม่เลย 14 วัน
1
ขณะนี้ยังไม่มีฝีดาษลิงพบในประเทศไทย แต่จะต้องระมัดระวัง
2
เนื่องจากประเทศไทยได้ยุติการฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษหรือไข้ทรพิษที่เราเรียกว่าการปลูกฝีไป เมื่อประมาณราว 50 ปีมาแล้ว
ดังนั้นผู้ที่อายุต่ำกว่า 50 ปีลงมา จึงไม่มีใครมีภูมิต้านทานต่อฝีดาษแล้ว
10
ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า50 ปีขึ้นไป ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีระดับภูมิคุ้มกันที่จะพอป้องกันโรคนี้ได้มากน้อยเพียงใด
3
ดังนั้นจึงต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไปว่า จะมีฝีดาษลิงแพร่ระบาดในโลกเรามากน้อยเพียงใด และมีหลุดรอดเข้ามาในประเทศไทยหรือไม่
สิ่งที่วงการสาธารณสุขจะต้องเตรียมตัวคือ จะต้องศึกษาหาความรู้ ทั้งสำหรับในการวินิจฉัย การป้องกัน และรักษาโรคนี้
1
เนื่องจากไม่มีฝีดาษในประเทศไทยและในโลกเรา มากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว
จึงไม่มีการเรียนการสอนในคณะแพทยศาสตร์แต่อย่างใด
3

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา