Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
20 พ.ค. 2022 เวลา 16:55 • สุขภาพ
🤐นอนกัดฟัน / ความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกร
(Temporomandibular disorder : TMDs)
อาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.ความเจ็บปวด ได้แก่ อาการปวดข้อต่อขากรรไกร อาการปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดศีรษะ เป็นต้น
2.การทำงานที่ผิดปกติ แบ่งได้เป็น
-มีเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร เช่น เสียงคลิก เสียงป๊อป เสียงกรอบแกรบ
-อ้าปากได้จำกัด
-อ้าปากค้าง
-อ้าปากได้ไม่ตรง
💤สาเหตุ ของการนอนกัดฟัน ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดซึ่งอาจเกิดจาก
1.สภาพของจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวันอาจมีความเครียด ทำให้เรานอนกัดฟันในเวลานอน โดยเราไม่รู้สึกตัวได้
2.การสบฟันผิดปกติ
3.เกิดจากอาหารบางชนิด จากการศึกษายังพบว่าเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (ชา กาแฟ น้ำอัดลมบางชนิด เป็นต้น) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ สารเสพติด
4.กรรมพันธุ์
💊ในเบื้องต้นส่วนใหญ่จะให้ยาบรรเทาอาการปวด และยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดปัญหาในเบื้องต้น
👩🏫ในบางรายที่มีปัญหาของการนอนกัดฟันและการสบกันของฟันเปลี่ยนแปลง ทันตแพทย์ก็อาจจะให้ใส่เฝือกสบฟัน เพื่อแก้ปัญหาอาการปวดจากการนอนกัดฟัน หรือในรายที่มีความผิดปกติของการบดเคี้ยว อาจจะต้องจัดฟัน
การรักษาโรคให้ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง คือ การบริหารข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ควบคู่กับการประคบร้อนหรือประคบเย็น เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น จะช่วยให้บรรเทาอาการปวด และทำให้ขากรรไกรเคลื่อนไหวในแนวทางที่ถูกต้อง
การบริหารขากรรไกรเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยโรคทีเอ็มดี แต่วิธีการบริหารแต่ละท่าจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค ดังนั้นผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าตัวท่านเองป่วยอยู่ในระยะใด เพื่อจะได้เลือกท่าบริหารที่เหมาะสมได้ แต่ที่สำคัญคือก่อนการบริหารขากรรไกร ต้องประคบร้อนประมาณ 15 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
🎯ข้อปฏิบัติตนเบื้องต้น
1.ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร
สามารถกินอาหารที่เคี้ยวได้โดยไม่มีอาการเจ็บหรือปวดหรือความไม่สบายของกรามหรือขากรรไกร ตั้งแต่อาหารอ่อนถึงอาหารปกติ แบ่งอาหารออกเป็นคำเล็กๆ ไม่กินอาหารคำโต
หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดในช่วงที่มีอาการ เช่น อาหารเหนียว แข็ง กรอบ และอาหารที่ต้องกัดแทะ เช่น ปลาหมึก เนื้อ ก้านผัก ฝรั่ง มะม่วงดิบ มะเขือเปาะ ถั่ว ข้อไก่ กระดูกอ่อน หมากฝรั่ง
พยายามเคี้ยวอาหารโดยสลับกันเคี้ยวทั้งสองข้างเพื่อกล้ามเนื้อบดเคี้ยวทำงานสมดุลกัน
2.ประคบอุ่นอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจนอาการทุเลา.โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นที่ค่อนข้างร้อนบิดหมาดๆ ประคบขากรรไกรทั้งสองข้างประมาณ 20 นาที วันละ 2-4 ครั้ง แล้วตามด้วยการนวด/คลึงเบาๆ บริเวณกล้ามเนื้อดังกล่าวและถ้าอ้าปากจำกัดด้วยอาจใช้นิ้วมือช่วยยืดเพิ่มระยะอ้าปากด้วย
3.ฝึกคลายกล้ามเนื้อกราม/ขากรรไกรในระหว่างวัน
พยายามสังเกตตนเองว่าขณะไม่เคี้ยวอาหาร ฟันบน/ล่างแตะหรือสัมผัสกันหรือไม่ หรือสังเกตพบว่าตนเองมีการกัดหรือเน้นฟันหรือไม่ โดยปกติเมื่อขากรรไกรอยู่ในท่าพักปากสนิทฟันบนและล่างไม่ควรกระทบกัน พยายามฝึกผ่อนขากรรไกรให้อยู่ในท่าสบาย
4.หลีกเหลี่ยงคาเฟอีน
คาเฟอีนอาจมีผลให้กล้ามเนื้อเกร็งตึง ควรลดหรืองดการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และช็อคโกแลต หรืออาหารอื่นๆ ที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน
5.ระวังไม่อ้าปากกว้าง เป็นเวลานานๆ
หลีกเลี่ยงการหาว การกินอาหารคำโตๆ ตะโกน อ้าปากกว้าง ร้องเพลง และการทำฟันที่ต้องอ้าปากกว้างๆ เป็นเวลานานๆหากจะหาวให้เอามือค้ำไว้ใต้คางอย่าให้หาวอ้าปากกว้าง
6.ฝึกทรงท่าให้ศีรษะ คอ หลัง และไหล่ไม่เกร็งตัวโดยเฉพาะในขณะนั่งทำงาน หรือใช่คอมพิวเตอร์ฝึกยืดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อต้นคอ ไหล่ และหลัง
7.สร้างเสริมการนอนหลับ
พยายามนอนหลับให้เพียงพอเลี่ยงการนอนคว่ำหรือท่าอื่นๆที่จะทำให้ขากรรไกรและคอเกร็งตึง
8.ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายทั่วตัว
9.ฝึกการผ่อนคลายจิตใจ ลดความตึงเครียด การทำงานที่หักโหมจนเกินไป หาเวลาพักผ่อน
🧑🔬สำหรับการรักษาการนอนกัดฟันในอดีตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ คือการใส่เฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) เป็นเครื่องมือที่ใช้ใส่ในช่องปากเพื่อป้องกันการสึกของฟันมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดนุ่มและชนิดแข็งซึ่งทั้งสองชนิดมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน
เช่น เฝือกสบฟันชนิดนุ่ม เมื่อใช้ไปนานๆ อาจฉีกขาดได้ หรือเฝือกสบฟันชนิดแข็ง หากใช้ไปสักระยะหนึ่งอาจเกิดรอยสึกหรือแตกได้ แต่ปัจจุบันการนอนกัดฟันสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าการนอนกัดฟันนั้นเป็นอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นจากโรคผิดปกติจากการหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับหรือโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA)
สำหรับผู้สงสัยว่าอาการนอนกัดฟันของตนเองอาจเป็นปัจจัยที่มาจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือกำลังประสบกับปัญหาเรื่องการนอน ไม่ว่าจะเป็นนอนหลับยาก มีอาหารง่วงนอน ทั้งวัน นอนละเมอ นอนกรน หรือฝันร้ายมากจนหลับไม่สนิท แนะนำว่าควรมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคความผิดปกติจากการหลับ (Sleep Medicine Specialist)
.
.
🔶
เนื้อหาจาก
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28410
https://www.wedento.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99/
https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99/
.
ภาพจาก
https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1-%E0%B8%88%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99/
https://w1.med.cmu.ac.th/otolaryngology/km/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5/
บทความอื่นๆ
SLEEP APNEA
https://www.blockdit.com/posts/6228a46270b7c3fbed2dc003
POSTED 2022.05.20
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย