21 พ.ค. 2022 เวลา 16:10 • สุขภาพ
ฝีดาษลิง...ไปไงมาไง น่ากังวลแค่ไหน
จากเดิมที ฝีดาษคน (smallpox) เป็นโรครุนแรง อัตราการเสียชีวิตสูงมาก (30-50%) แต่พอมีวัคซีน (เมื่อก่อนเรียกปลูกฝี) โรคนี้ก็หายไป จน WHO ประกาศว่าโรคนี้หายไปแล้ว ไม่ต้องฉีดวัคซีนแล้ว ตั้งแต่ 50 ปีที่แล้ว
3
ส่วนฝีดาษลิงนั้น ก็เป็นไวรัสอีกตัว ค้นพบตั้งแต่ 1958 ในลิง และเจอในคนครั้งแรกในปี 1970 หลังจากนั้นก็มีพบกระจัดกระจาย โดยส่วนมากมาจากประเทศแถบแอฟริกา
1
มี 2 สายพันธ์ คือ Western Africa clade และ Congo Basin clade ซึ่งอัตราการเสียชีวิตต่างกัน โดย western African ตายประมาณ​1% ขณะที่ Congo Basin ตายประมาณ​10%
1
โชคดีที่ตอนนี้ที่ระบาดคือ Western Africa clade
การระบาดนี้ไปไง มาไง?...
ก็ต้องเล่าก่อนว่าตั้งแต่ 1970 มา มีการระบาดเป็นพักๆ แต่โดยมาก มักมาจากสัตว์สู่คน โดยสัตว์ที่นำเชื้อมานั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นลิง แต่อาจจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอะไรก็ได้ เช่น หนู แพรี่ด้อก เป็นต้น
4
รองๆลงมาก็จะเจอเคสรายงานเป็นพักๆ แต่มักมีประวัติกลับมาจากประเทศแถบ Africa เช่น Nigeria เป็นต้น จำนวนคนที่ป่วยแต่ละรอบที่ระบาดก็ถือว่าไม่สูงมาก เต็มที่คือ 70 คน จากการระบาดในอเมริกา ปี 2003
4
ภาพหนุ่มวัยรุ่นที่ป่วยในปี 2003
การติดต่อจากคนสู่คนเป็นไปได้ แต่ต้องสัมผัสใกล้ชิดมาก เช่น บ้านเดียวกัน เป็นต้น
จนมารอบนี้....
1
เคสแรกที่อังกฤษ เป็นคนที่เพิ่งกลับมาจาก Nigeria ซึ่งเป็นแหล่งระบาดอยู่แล้ว โดยมีอาการตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย. ตอนอยู่ที่ Nigeria ขึ้นเครื่องบินกลับอังกฤษวันที่ 4 พ.ค. และเข้ารพ.เลยในวันที่ 4 พ.ค. จากนั้นก็ confirm การวินิจฉัยว่าเป็น Monkeypox ในวันที่ 6 พ.ค. และยืนยันสายพันธุ์ว่าเป็น West African clade ตั้งแต่ช่วงแรก
4
พอวินิจฉัยได้เร็ว ก็รีบแนะนำให้ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด เฝ้าระวังอาการเป็นเวลา 21 วัน ซึ่งตอนนั้นคาดว่า WHO ประเมินว่าการแพร่ระบาดเป็นความเสี่ยงต่ำ
2
หลังจากนั้น วันที่ 12 พบเพิ่มอีก 2 เคสที่อังกฤษ โดยทั้งหมดนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับเคสแรกที่กลับมากจา Nigeria อย่างชัดเจน และก็ค่อยๆเจอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในวันถัดๆมา โดยที่ทั้งหมดนี้ ไม่ได้มีประวัติสัมผัสกันอย่างชัดเจน...มันน่ากลัวตรงนี้แหละค่ะ โรคที่เข้าใจว่าติดต่อไม่ง่าย และพบได้น้อย มาโผล่ๆหลายๆที่ในเวลาใกล้ๆกัน แปลว่ามันน่าจะมีการระบาดในชุมชนอย่างชัดเจน
8
เวลาไม่นานก็ไปโผล่ที่ประเทศอื่นในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น Portugal, Sweden, Belgium และข้ามไปถึงอเมริกา ล่าสุดก็มา Australia Germany Netherland แล้ว
3
ถึงตอนนี้ วันที่ 20 พ.ค. WHO จึงประชุมและประกาศเป็น Outbreak เป็นที่เรียบร้อย และถือเป็นครั้งแรกของเชื้อนี้ ที่เรียกว่าเป็นการระบาดในชุมชน (community outbreak)
แต่เดิมนั้น เชื้อนี้ไม่เคยถูกจัดว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ จนรอบนี้ ที่คิดว่าเป็นไปได้ เพราะมีสัดส่วนผู้ติดเชื้อกลุ่มหนึ่งที่เป็นเกย์ (ชายรักชาย) หรือเป็น Bisexual เยอะชัดเจน
1
แต่ก็อาจจะบอกยากเพราะว่าตอนมีเพศสัมพันธุ์ ก็ถือเป็น close contact อยู่แล้ว สรุป ตอนนี้ก็ยังไม่รู้ชัดเจน แต่แน่ๆว่าถ้า close contact มีโอกาสติด
5
ส่วนอาการนั้น ก็มีเหมือนไวรัสทั่วไป คือ ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว และที่สำคัญคือจะมีตุ่มหนองตามตัวมากมาย
3
วัคซีนที่เคยฉีดกัน ตอนปลูกฝี จริงๆก็สามารถกันได้ดีถึง 85% แต่ว่าคนที่ได้รับการปลูกฝี ก็จะเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป เพราะเราเลิกปลูกฝีกันมาตั้งแต่ปี 1980 แล้ว ก็ไม่รู้ว่าที่ปลูกไป ภูมิจะยังอยู่มั้ย และกลุ่มที่ยังไม่เคยปลูกก็ถือว่าไม่มีภูมิจ้า ดังนั้นก็ติดได้ แต่ก็ยังดี ที่สายพันธุ์นี้อาการไม่รุนแรงมากนัก โอกาสเสียชีวิตประมาณ 1% แต่ต้องระวังในเด็ก อาจจะมีอาการรุนแรงได้
4
ระยะฟักตัวของโรคนี้คือ 6-13 วัน เต็มที่ 21 วัน ที่แพร่เชื้อได้คือตั้งแต่ก่อนมีอาการถึงตอนมีฝีขึ้น พอฝีหมดก็เลิกแพร่ ไม่ต้องใช้ยารักษาจำเพาะ คือสามารถหายได้เอง แต่ก็มียาที่อยู่ในการทดลองรักษาฝีดาษเมื่อก่อน คือ tecovirimat ซึ่งตอนนี้ก็ถูกนำมาศึกษาอยู่
2
สรุปว่า ควรกังวลมั้ย ส่วนตัวคิดว่า กังวลนิดๆ เพราะถือว่าเป็นการระบาดในชุมชนครั้งแรกของเชื้อนี้เลย แต่ที่อาจจะกังวลไม่มาก ก็ตรงนี้โรคไม่ได้รุนแรงมากนัก และน่าจะแพร่ไม่ได้ไวเหมือนฝีดาษคน หรือ โควิด ที่จะทำให้ตัวเลข ผู้ติดเชื้อพุ่งเป็นแสนเป็นล้าน ดังนั้น แม้อัตราการเสียชีวิตจะ 1% ใกล้ๆโควิต แต่ถ้าผู้ติดเชื้อไม่ได้เยอะมากกกก ก็ไม่น่าจะตายเยอะ
8
และอีกอย่าง...หมอปัจจุบันใหม่ๆจะไม่รู้จักโรคนี้ค่ะ ต้องอจ.อาวุโสจึงจะทันเรียน
7
ref
โฆษณา