22 พ.ค. 2022 เวลา 05:14 • การศึกษา
สวัสดีค่า Fc ทุกคน …
วันนี้แอด มีเรื่องน่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังนะคะ เรื่องใกล้ๆตัว ที่อาจมองข้าม เรื่องของ เก๊าต์ (Gout)
สัปดาห์ที่ผ่านมา แอดได้มีโอกาส ไปบรรยายสอนน้องหมอ และ พี่พยบๆ เรื่องนี้ในงานประชุมวิชาการ จึงอยากนำเรื่องนี้มาเล่าให้ Fc ฟังกันค่ะ หัวข้อที่ไปบรรยาย เป็นเรื่อง มีอะไรใหม่ในโรคเก๊าท์ (Update in gout)
ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมีการออกคำแนะนำการวินิจฉัย และการดูแลผู้ป่วยโรคเก๊าท์จากค่ายฝั่งยุโรป และฝั่งอเมริกา ตามลำดับ (2018 updated European League Against Rheumatism evidence-based recommendations for the diagnosis of gout and 2020 American College of rheumatology Guideline for the Management of Gout)
วันนี้จะกล่าวถึง ประเด็นแรกก่อน คือ หากไปเจาะเลือดแล้วพบว่าค่า กรดยูริก สูง ต้องเริ่มกินยารักษาเก๊าต์เลยไหม และต้องปฏิบัติตัวอย่างไร 😊
ค่ากรดยูริกในเลือด เกิดจากอะไร
สารตั้งต้น คือ Nucleic acids ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรม ผ่านกระบวนการย่อยสลายจนได้ กรดยูริก และร่างกายขับออกทางไต
โดยปกติ ร่างกายจะรักษาสมดุลการสร้าง และการขับกรดยูริก ส่งผลให้ค่ากรดยูริกคงที่
หากมีปัจจัยกระตุ้นบางอย่าง จะส่งผลให้เสียสมดุล เช่น โรคพันธุกรรมที่มีการลดการขับยูริกออกจากร่างกาย การทำงานของไตที่ลดลง การได้รับยาบางชนิด การกินอาหารที่ส่งเสริมการเพิ่มระดับกรดยูริก เป็นต้น ผลคือ ระดับกรดยูริกในร่างกายสูงขึ้น
การวินิจฉัยว่า ระดับกรดยูริก สูง คือ ในเพศชาย มีระดับกรดยูริกเกิน 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนเพศหญิง มีระดับกรดยูริกเกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่การที่กรดยูริกในเลือดสูง ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นโรคเก๊าต์เสมอไป
การจะเป็น โรคเก๊าท์ ต้องมีความเข้มข้นของระดับกรดยูริกที่สูงมากพอ อุณหภูมิที่ต่ำ และ ความเป็นกรดในเลือดที่มากพอ จึงทำให้เกิดการตกผลึกของยูริกตามเนื้อเยื่อต่างๆ และตามข้อ ร่วมกับ มีปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดอาการแสดงของโรคเก๊าท์ขึ้น เช่น อุบัติเหตุตรงตำแหน่งที่มีผลึก กระตุ้นการอักเสบตามมา การได้ยาขับปัสสาวะ ทำให้เสียสมดุลของสารน้ำในร่างกาย เป็นต้น
ดังนั้น คำว่า โรคเก๊าท์ จึงไม่เท่ากับ ค่ากรดยูริกในเลือดสูง
แต่จะหมายถึง ค่ากรดยูริกในเลือดสูง ตรวจพบการตกผลึกของยูริก ไม่ว่าจะการเอกซเรย์ อัลตราซาวด์ หรือทำ CT. และมีอาการแสดงของโรค ได้แก่ ปวด บวม แดง ร้อน มักเป็นที่นิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า หรือหลังเท้า เกิดภายใน 24 ชั่วโมง เดินลงน้ำหนักไม่ได้ อาการสามารถทุเลาได้เองประมาณ 48-72 ชั่วโมง หากไม่รับประทานยาแก้ปวด
แล้วค่า กรดยูริกในเลือดสูง อย่างเดียว โดยที่ไม่เคยมีอาการของโรคเก๊าท์ ต้องทำอย่างไรค่ะ
1.จำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของ fructose สารให้ความหวานในชา กาแฟ น้ำอัดลม เพราะสิ่งเหล่านี้ คือ สารตั้งต้นการเกิดกรดยูริก
2. ควรลดน้ำหนัก ดื่มผลิตภัณฑ์จากนมที่ไขมันต่ำ
3. มองหาโรคร่วม ที่มาพร้อมกับค่ากรดยูริกที่สูงเช่น โรคความดัน โรคไขมัน โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น
1
หากผู้ป่วยเพิ่งได้รับการวินิจฉัยโรคร่วม แนะนำให้ใช้ยาบางชนิดที่ช่วยขับกรดยูริกได้ เข่น losartan fenofibrate และ atorvastatin
ครั้งหน้า แอดจะมาเล่าถึงการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์ทั้งเฉียบพลัน และเรื้อรังนะคะ ❤️
1
โฆษณา