22 พ.ค. 2022 เวลา 09:53 • การศึกษา
การโอนสิทธิการเช่า >>>
การโอนสิทธิการเช่าอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (เช่าที่ดิน เช่าอาคาร) ไม่ประสงค์จะดำเนินกิจการต่อ หรือ ไม่ประสงค์จะเช่าต่อจากผู้ให้เช่า แต่ก็ยังไม่หมดสัญญาเช่าและอาจมีค่าปรับหากยกเลิกสัญญา ซึ่งในขณะเดียวกันอาจมีผู้เช่ารายอื่นที่สนใจเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อ
จึงมีการตกลงกันระหว่างผู้เช่าและผู้ต้องการเช่าต่อ (ผู้รับโอนสิทธิ) โดยมีการเรียกเก็บเงินค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าระหว่างกัน (ทั้งนี้การโอนสิทธิการเช่าในสัญญาเช่าอาจมีข้อตกลงว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนด้วย)
ตามประมวลรัษฎากร การโอนสิทธิการเช่าถือเป็นการโอนสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งมีหลักการพิจารณาประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.1 หากผู้เช่า (ผู้โอนสิทธิ) ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การโอนสิทธิการเช่า มี VAT 7%
1.2 หากผู้เช่า (ผู้โอนสิทธิ) ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การโอนสิทธิการเช่า มี VAT 7%
1.3 หากผู้เช่า (ผู้โอนสิทธิ) ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ การโอนสิทธิการเช่า ไม่มี VAT
(อ้างอิง ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.90/2542 ข้อ 4)
2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การโอนสิทธิการเช่า ถือเป็นการโอนสินค้าไม่มีรูปร่างและไม่ได้ถูกกำหนดเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.90/2542 ข้อ 18, ข้อ 19, และข้อ 20) จึงไม่มีประเด็นเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อหารือภาษีอากรที่น่าสนใจ : ข้อหารือภาษีอากรที่ กค 0706/พ./10949
เพจ VI Style by MooDuang
โฆษณา