24 พ.ค. 2022 เวลา 12:32 • ครอบครัว & เด็ก
5 เรื่องการเงินต้องเตรียมก่อนจะมีลูก
ใครที่กำลังจะอยากมีลูกน้อยแอดอยากให้อ่านคอนเทนต์นี้ก่อน !
เพราะการจะมีลูกสักคนนั้นเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก เราต้องมีความพร้อมในทุกๆด้าน และด้านที่ขาดไม่ได้เลยก็คือด้านการเงิน ถ้าเราอยากให้ลูกมีอนาคตและสิ่งแวดล้อมที่ดี แอดมั่นใจว่าเงินสามารถซื้อสิ่งแวดล้อมๆดีให้ลูกของคุณได้
เราอย่าลืมว่า "ลูกไม่ได้ขอให้เกิดมา เราทำให้เขาเกิดมาเอง เราก็ต้องรับผิดชอบและดูแลเขาให้ดีที่สุด"
วันนี้แอดเลยขอนำ 5 เรื่องการเงินที่เราต้องเตรียมก่อนจะมีลูกจาก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
1. ตรวจสุขภาพทางการเงิน
ขั้นตอนแรกที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรทำก่อนเริ่มต้นวางแผนการเงินเลยก็คือ การ "ตรวจสุขภาพทางการเงิน" เพื่อเป็นการประเมินสถานการณ์ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร จากนั้นให้ลองทำบัญชีรายรับรายจ่ายต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วง 3 ปีข้างหน้าว่าจะมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติมเกิดขึ้นบ้าง
เช่น ค่าอาหารเสริมคุณแม่และเจ้าตัวน้อย ค่าฝากครรภ์ ค่าทำคลอด รวมไปจนถึงประเมินว่าในกรณีที่มีเจ้าตัวน้อย คุณแม่อาจจะมีช่วงที่ขาดรายได้ไปด้วย หรือคุณแม่หลาย ๆ คนก็ตัดสินใจออกมาเป็นคุณแม่เต็มตัว
ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์จนถึงช่วงอายุ 3 ปีแรกโดยเฉลี่ยจะต้องเตรียมเงินไว้ประมาณ 140,000 – 200,000 บาทต่อปี การวางแผนล่วงหน้าจะช่วยให้เรารู้ว่าสถานการณ์ ณ ปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างไร มีเงินเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่กำลังจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ เพื่อได้รู้ว่าจะนำเงินส่วนเกินไปลงทุนทำอะไรเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมได้บ้าง แต่ถ้าไม่เพียงพอจะได้ทำการประเมินค่าใช้จ่ายหรือหารายได้เพิ่มได้ทัน
2.เตรียมบริหารความเสี่ยงให้พร้อม
เราสามารถป้องกันและบริหารความเสี่ยงได้โดยการเก็บเงินสำรองฉุกเฉินเพื่อสำหรับเกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน เช่น เกิดอุบัติเหตุ หรือ ตกงานก็นับนะ
3. ลดภาระหนี้
เราต้อง ลดภาระหนี้ ให้มากที่สุด เพราะเมื่อมีสมาชิกครอบครัวที่มากขึ้น “รายจ่าย” ก็ยิ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว การลดภาระหนี้ด้วยวิธีรวมหนี้ให้เป็นก้อนเดียว ก็จะช่วยให้สภาพคล่องในแต่ละเดือนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากหลายทางอีกด้วย
การแบ่งความรับผิดชอบทางด้านการเงินว่าส่วนใดใครเป็นผู้รับผิดระหว่างคุณพ่อคุณแม่ เปิดอกพูดคุยกันให้ลงตัวก่อนมีเจ้าตัวน้อยเสมอ ปัญหาเรื่องการเงินในครอบครัวที่พบเจอบ่อยมากที่สุด คือ การไม่เปิดอกพูดคุยถึงสถานะทางการเงินกันอย่างตรงไปตรงมา ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้ง่ายและลามไปยันเรื่องอื่นๆต่อ บางคู่ทะเลาะกันหนักจนถึงขั้นหย่าร้างเลย
4.ค่าเทอม ทุนการศึกษา
รายจ่ายหนักๆของลูกเมื่อถึงวัยก็คือ ค่าเทอมของลูกเรานั่นเอง ประเมินรายได้ของเราให้ดีว่ามีเพียงพอที่จะพาลูกเข้าโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเดินเข้าไปที่ฝ่ายการเงินของโรงเรียนที่เราต้องส่งให้เจ้าตัวน้อยเรียนเพื่อสอบถามค่าเทอม รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการเรียนเพื่อนำมาประกอบการวางแผนการเงินได้
5.ทุนประกันชีวิต
เผื่อไว้สำหรับในกรณีที่โชคร้ายแล้ว "หัวหน้าครอบครัว" เกิดไม่สามารถหารายได้เพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายได้จะเป็นอย่างไร ปัญหาหรือความเสี่ยงนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการมี "ทุนประกันชีวิต" ที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทุนประกันที่เหมาะสมควรมีเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างน้อย 5 ปี
เพื่อให้ครอบครัวสามารถปรับตัวได้ทัน หรือถ้าใครที่มีงบประมาณเยอะหน่อย หลาย ๆ ครั้งก็จะทำทุนประกันให้เจ้าตัวน้อยได้เรียนจบอย่างน้อยปริญญาตรีเลยก็ได้เช่นกัน
ที่มา : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
แอดจังกุ๊ก
โฆษณา