25 พ.ค. 2022 เวลา 08:00 • ข่าว
ทำความรู้จัก “PDPA” หรือ “พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” คุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง ?
1
เตรียมตัวให้พร้อม! 1 มิ.ย. 65 เริ่มบังคับใช้ “PDPA” คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในไทย
5
รู้จัก “PDPA” หรือ “พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”
“PDPA” ย่อมาจาก “Personal Data Protection Act” หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่มีขึ้นเพื่อให้ภาคเอกชนและภาครัฐที่เก็บรวมรวม ใช้ เปิดเผย และ/หรือ โอน “ข้อมูลส่วนบุคคล” ในไทย ให้เป็นไปตามมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว โดยต้องขอความยินยอมจาก “เจ้าของข้อมูล” ก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
7
พูดง่ายๆ ก็คือก่อนที่จะมีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องมีการขออนุญาตและได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน ยกเว้นกรณี
3
โดย ข้อมูลส่วนบุคคล ณ ที่นี้ หมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น
2
- เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุล
- ที่อยู่
- เบอร์โทรศัพท์
- อีเมล
- ข้อมูลทางการเงิน
- เชื้อชาติ
- ศาสนาหรือปรัชญา
- พฤติกรรมทางเพศ
- ประวัติอาชญากรรม
- ข้อมูลสุขภาพ
3
หลังจากมีการบังคับใช้ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จะมีสิทธิในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใช้ข้อมูลของตัวเอง ดังนี้
- สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ
- สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
- สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
6
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
1
กราฟิก: วราภรณ์ คำสม
โฆษณา