25 พ.ค. 2022 เวลา 23:00 • ครอบครัว & เด็ก
📌How to รับมือ : เด็กออทิสติกอาละวาด😤
ผู้ปกครองเคยประสบปัญหาเวลาเด็กออทิสติก อาละวาด โวยวาย แบบสุดพลัง และเกินที่จะควบคุมกันไหมคะ แน่นอนว่าอาการเหล่านี้มีที่มาที่ไปและสาเหตุส่วนหนึ่งก็เกิดจากเด็กกลุ่มนี้มีประสาทรับความรู้สึกที่ค่อนข้างไว (Sensory Overload) เมื่อเจอสิ่งเร้า สิ่งกระตุ้น ก็อาจก่อให้เกิดความเครียดจนไม่สามารถจัดการได้
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้ยากต่อการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและใช้ชีวิตประจำวันได้ และมันก็ดูเหมือนจะไม่ง่ายเลยที่จะทำให้เด็กๆกลุ่มนี้สงบลงได้ แต่เรามีเทคนิคที่จะใช้ในการจัดการหรือป้องกัน รวมทั้งได้รู้ถึงสาเหตุและสัญญาณเพื่อช่วยให้ผู้ปกครองสามารถรับรู้และจัดการกับเด็กๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแและช่วยคลายความกังวลใจของผู้ปกครองลงได้บ้าง ลองไปดูกันเลยค่ะ
✨สาเหตุของการอาละวาด
-การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันตามปกติ เช่น การขับรถเส้นทางอื่นไปโรงเรียนที่ไม่ใช่เส้นทางที่เคยไป
-แสง สี เสียง ไฟ ที่มากเกินไป เช่น เด็กบางคนไม่ชอบเสียงไดร์เป่าผม เสียงเครื่องดูดฝุ่น หรือเสียงคนคุยกัน
-กลิ่นที่ฉุนมากเกินไป เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นพวกผักผลไม้
-คนเยอะและพลุกพล่าน เช่น ในห้างสรรพสินค้า หรือ พื้นที่สาธารณะที่มีคนเยอะๆ แต่ในบางครั้งเด็กอาจมีปฏิกิริยาต่อสถานการณ์เดียวกันในแต่ละวันที่แตกต่างกันออกไป หรือ เด็กอาจตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดียวกันในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่น เด็กอาจไม่ชอบห้างสรรพสินค้าที่มีผู้คนพลุกพล่าน แต่ในโรงหนังที่มีคนเยอะๆเด็กๆอาจไม่ได้ตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมอาละวาดเนื่องจากเป็นหนังที่รอคอยและอยากดู
✨ปฏิกิริยาต่อความเครียดในเด็กออทิสติก
ปฏิกิริยาต่อความเครียดทางอารมณ์อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันในเด็กออทิสติกซึ่งบางพฤติกรรมเป็นการพยายามทำให้ตัวเองสงบ ส่วนการอาละวาดเป็นเพียงหนึ่งในนั้น
-กรีดร้องหรือทำให้เกิดเสียงอื่น ๆ
-วิ่งหนี
-การกระตุ้นตนเองหรือทำอะไรซ้ำๆ (เช่น การโยกตัวไปมา , สบัดมือ ,ตบ
หน้าอก,พูดกับตัวเองซ้ำๆ)
-ก้าวร้าวต่อตนเอง (เช่น ตบหน้าตัวเอง ตบหัว)
-การหลีกเลี่ยงทางประสาทสัมผัส (เช่น ปิดหูหรือตา)
-พฤติกรรมแสวงหาทางประสาทสัมผัส (เช่น การวิ่งชนกับเฟอร์นิเจอร์ หรือการเข้าไปอยู่ในพื้นที่แคบๆ)
-การทำอะไรซ้ำๆ (เช่น สัมผัสวัตถุเดิมซ้ำๆ)
-ปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วม
-ก้าวร้าวต่อผู้อื่น
✨ทำความเข้าใจว่าทำไมการอาละวาดถึงเกิดขึ้น
มีปัจจัยหลักๆที่ทำให้เด็กออทิสติก เกิดการ “อาละวาด”และการตอบสนองทางอารมณ์ที่ผิดปกติอื่นๆ ดังนี้
-ความยากลำบากในการทำความเข้าใจบรรทัดฐานทางสังคมหรือการเข้าสังคม
-ความยากลำบากในใช้ภาษาพูด
-ความยากลำบากในใช้ภาษากายในการสื่อสาร
-การไม่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
-ความบกพร่องทางประสาทสัมผัส
-ขาดแรงจูงใจทางสังคมหรือความปรารถนาที่จะได้รับการยอมรับจากสังคม
✨เทคนิคการทำให้เด็กออทิสติกที่กำลังอาละวาดสงบลง
-รับรู้สัญญาณ: เด็กออทิสติกมักจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณของความหงุดหงิด ก่อนที่จะมีเริ่มมีการอาละวาด ผู้ปกครองต้องลองสังเกตและรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของเด็กๆ และถามพวกเขาว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรหากมีบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติไป
-ลองสำรวจว่าสาเหตุหรือปัจจัยอะไรที่เป็นสิ่งเร้าหรือกระตุ้น : อาจเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น เสียงเพลงที่ดังเกินไป ไฟที่สว่าง หรือเจอผู้คนเยอะๆ
-ให้พื้นที่กับเด็กๆ : ให้พื้นที่กับพวกเขาสงบสติอารมณ์ตัวเอง ผู้ปกครองควรอยู่ใกล้ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆจะปลอดภัย
-วางเครื่องมือช่วยผ่อนคลายไว้ใกล้ตัวเด็ก: หากออกไปอยู่ที่สาธารณะ อย่าลืมเตรียมของเล่นกระตุ้นประสาทสัมผัส ผ้าห่มที่ถ่วงน้ำหนัก ลูกบอลบีบๆ ดินเหนียว หรือหนังสือของเด็กๆ ไว้ใกล้มือ
✨สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเด็กออทิสติกอาละวาด
ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด อาจเป็นเรื่องยากที่จะคิดได้ว่าเด็กออทิสติกแตกต่างจากคนรอบข้าง ไม่น่าเป็นไปได้ที่พวกเขาจะ "แสดงท่าที" หรือจงใจ "ซุกซน" ที่จะทำให้ผู้ปกครองหรือคนอื่นๆเกิดความไม่พอใจ นี่คือสิ่งที่ไม่ควรทำหากเด็กๆกำลังอาละวาด
-อย่าทำให้เด็กอับอาย : การที่ผู้ปกครองกรีดร้องว่า "อย่าทำตัวเป็นเด็กๆ โตแล้วลูก" ไม่มีผลกับเด็กออทิสติก เพราะไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัย
-หลีกเลี่ยงการใช้เหตุผลหรือการโต้เถียง : เป็นไปไม่ได้ที่จะสนทนาอย่างมีเหตุผลท่ามกลางวิกฤต แม้กับเด็กออทิสติกแบบ high-functioning ก็ตาม
-หลีกเลี่ยงการข่มขู่เด็ก : หากผู้ปกครองพูดขู่เด็กๆนอกจากจะไม่ได้ผลแล้วอาจทำให้ผู้ปกครองโมโหมากขึ้นกว่าเดิม หรือทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้นกว่าเดิมก็ได้
-อย่าปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียว : ผู้ปกครองสามารถให้พื้นที่เด็กๆได้ แต่อย่าปล่อยให้พวกเขาอยู่คนเดียว เด็กออทิสติกอาจมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการทำความเข้าใจสถานการณ์หรือรับมือกับสภาวะอารมณ์ของตัวเอง ดังนั้นผู้ปกครองควรอยู่ใกล้ชิดกับเด็กๆ
-อย่าให้ใครมาจัดการกับสถานการณ์นี้ : ถึงแม้ว่าจะมีเจตนาที่ดีในการเข้ามาช่วย แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่าจะจัดการกับเด็กออทิสติกที่อารมณ์เสียอย่างไร หากแต่เป็นนักกิจกรรมบำบัด ครูการศึกษาพิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจให้เข้ามาช่วยดูแลได้
📌ร่วมแบ่งปันข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับการดูแลเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้า แบบไม่ใช้ยา ได้ที่กลุ่ม>>https://bit.ly/3wk0l3M
#Neurobalanceasia #Neurofeedback #Biofeedback #Brain #healthwellness #ADHD #Autism #developmentaldelay #สมาธิสั้น #ออทิสติก #อารมณ์รุนแรง #พัฒนาการช้า #พูดช้า
​​อย่าลืมกด Like👍 กด Share และ [กด See First ⭐️]
เพื่อ #ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพสมองได้ก่อนใคร
[ช่องทางติดตามอื่นๆ]
💫Facebook : https://bit.ly/3znzs1C
🌈Instagram : https://bit.ly/3ktARxn
โฆษณา