26 พ.ค. 2022 เวลา 04:16 • ข่าว
UPDATE: อินเดียระงับส่งออกน้ำตาลครั้งแรกในรอบ 6 ปี หวังคุมราคาในประเทศ ด้าน IMF เตือนเศรษฐกิจโลกกำลังวุ่นวาย หลัง 30 ประเทศทั่วโลก ประกาศใช้มาตรการจำกัดการส่งออกอาหารและพลังงาน
2
รัฐบาลอินเดียออกแถลงการณ์วานนี้ (25 พ.ค. 65) ว่า จะจำกัดการส่งออกน้ำตาลจนถึงตลอดเดือนกันยายนนี้ ไม่ให้เกิน 10 ล้านตัน เพื่อควบคุมราคาน้ำตาลในประเทศ ขณะที่การส่งออกน้ำตาลระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. - 31 ต.ค. ผู้ขายต้องขออนุญาตเป็นพิเศษจากทางการ
2
ผู้นำรัฐบาลอินเดีย ระบุว่า จำเป็นต้องจำกัดการส่งออกเพื่อควบคุมปริมาณสต๊อกในประเทศ หลังจากการส่งออกในปีก่อนและปีนี้ เติบโตมากเป็นประวัติการณ์ โดยปีการตลาดปัจจุบัน (ต.ค.64 - ก.ย. 65) อินเดียทำสัญญาส่งออกน้ำตาลไปแล้ว ราว 9 ล้านตัน ขณะที่ 12 เดือนก่อนหน้า ส่งออกน้ำตาลไปต่างประเทศ 7 ล้านตัน
1
มาตรการนี้ เกิดขึ้นในขณะที่อัตราเงินเฟ้อรายปีของอินเดีย แตะ 7.8% มากที่สุดในรอบเกือบ 8 ปี และยังเป็นสัญญาณของการควบคุมการส่งออกอาหาร ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก หลังเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งอินเดียถือเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลก ส่งออกมากเป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล
หลังการประกาศของรัฐบาลอินเดีย ถึงการจำกัดการส่งออกน้ำตาลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ราคาสัญญาน้ำตาลที่มีการซื้อขายในตลาดลอนดอน พุ่งขึ้นกว่า 1% ทันที
1
ธนาคารโลกประเมินเมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า ความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ทำให้เกิดภาวะช็อกครั้งใหญ่ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค จะทำให้ราคาสินค้าต่างๆ ทั่วโลก สูงต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2567 โดยคาดว่าในปีนี้ราคาอาหารจะเพิ่มขึ้น 22.9% ดันราคาข้าวสาลีให้สูงขึ้นถึง 40%
3
คริสตินา จีโอจีวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า สถานการณ์การเศรษฐกิจโลกขณะนี้ กำลังเข้าสู่ความยุ่งเหยิง จากผลพวงของการระบาดของโควิด-19 และความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ตลาดการเงินที่เปราะบาง รวมถึงปัญหาจากระบบห่วงโซ่อุปทาน ที่ถือเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ของโลก นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
3
ล่าสุด มี 30 ประเทศทั่วโลกประกาศใช้มาตรการจำกัดการส่งออกอาหาร พลังงาน และ สินค้าโภคภัณฑ์ นับตั้งแต่เกิดสงครามในยูเครน ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก ครัวเรือนทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับราคาอาหารและราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นต่อเนื่อง เป็นสถานการณ์ที่สร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกอย่างยิ่ง
3
และยังเป็นมาตรการที่สะท้อนปรากฏการณ์กักตุนสินค้าเกษตรที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤติราคาอาหารเมื่อปี 2550-2551 และเชื่อว่า กระแสการกักตุนอาหารจะยังคงยาวนานต่อเนื่องไปตลอดปี 2565 และจะเริ่มรุนแรงขึ้นในอีกในไม่กี่เดือนข้างหน้า ตอกย้ำปัญหาความมั่นคงทางอาหาร ที่จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับประเทศเปราะบาง
1
สำหรับ 30 ประเทศที่เริ่มจำกัดการส่งออกอาหาร ประกอบด้วย อาร์เจนตินา สั่งระงับการส่งออก น้ำมันถั่วเหลือง และอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง จนถึง วันที่ 31 ธ.ค. 2566 , แอลจีเรีย ระงับการส่งออก พาสต้า ข้าวสาลี น้ำมันพืช น้ำตาล ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565
1
อียิปต์ ระงับการส่งออกน้ำมันพืช ข้าวโพด ถึงวันที่ 12 มิ.ย 2565 , อินเดีย ระงับการส่งออกข้าวสาลี ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 , อินโดนีเซีย ระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม น้ำมันเมล็ดปาล์ม ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 แต่ได้ยกเลิกประกาศเมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมาหลังจากสถานการณ์น้ำมันปาล์มในประเทศดีขึ้น
1
ขณะที่มาเลเซีย ประกาศระงับการส่งออกไก่เดือนละ 3.6 ล้านตัว ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.เป็นต้นไป เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ภายในประเทศ , อิหร่าน ระงับการส่งออกมันฝรั่ง มะเขือม่วง มะเขือเทศ หัวหอม ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 , คาซัคสถาน ระงับการส่งออกข้าวสาลี แป้งสาลี ถึงวันที่ 15 มิ.ย. 2565 ,
2
คอซอวอ ระงับการส่งออกข้าวสาลี ข้าวโพด แป้ง น้ำมันพืช เกลือ น้ำตาล ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 , ตุรกี ระงับการส่งออกเนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนย น้ำมันปรุงอาหาร ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 , ยูเครน ระงับการส่งออกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง น้ำตาล ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565
1
ด้านรัสเซีย ระงับการส่งออกน้ำตาล เมล็ดทานตะวัน ถึงวันที่ 31 ส.ค. 2565 และ ข้าวสาลี แป้งสาลี ข้าวไรย์ (ข้าวไรย์ พืชชนิดหนึ่งในตระกูลข้าวสาลี ลักษณะคล้ายคลึงกันกับข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์) ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2565
เซอร์เบีย ระงับการส่งออก ข้าวสาลี ข้าวโพด แป้ง น้ำมัน ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 , ตูนิเซีย ระงับการส่งออกผลไม้ ผัก ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 , คูเวต ระงับการส่งออกผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ ธัญพืช น้ำมันพืช
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #น้ำตาล #อินเดีย #อาหาร
โฆษณา