26 พ.ค. 2022 เวลา 11:25 • ไลฟ์สไตล์
ถ้าตั้งใจทำดี เรื่องแค่นี้ก็อย่าได้แคร์ 😅
สิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเพียงความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและความคิด โปรดอย่าตัดสินว่าใครผิดหรือใครถูกนะคะ 😉
เราคนไทย มักจะถูกสอนเสมอว่าให้เอื้อเฟื้อแก่ผู้พิการ เด็ก และสตรีมีครรภ์ใช่ไหมคะ แต่ที่ญี่ปุ่น เวลาคุณจะเอื้อเฟื้อแก่บุคคลในกลุ่มดังกล่าว อาจจะต้องทำใจสักนิด เพราะอีกฝ่ายอาจจะไม่ได้อยากรับน้ำใจนี้ เพราะพวกเขาคิดว่าสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และไม่อยากให้ใครมาเดือดร้อนแทน (แน่นอนว่าคนที่เต็มใจรับน้ำใจก็มี แต่อาจจะไม่ทุกคนค่ะ) 😅
ถ้าเรามีน้ำใจดี ๆ จะมอบให้ แม้เขาจะไม่รับ ก็อย่าได้เสียใจหรือคิดว่าหน้าแตกอะไรไปเลยนะคะ เพราะไม่เฉพาะแต่เราชาวต่างชาติหรอก คนญี่ปุ่นด้วยกันเองก็มอบน้ำใจเก้อกันบ่อย ๆ 🤣
เช่นเรื่องที่จะนำมาเล่า (จากทวิตเตอร์ของคุณ @AraniKoji) ต่อไปนี้
คุณเขาก็ยังหาได้แคร์เลย (มั้ง) 😅😂
เรื่องมีอยู่ว่า ....
เจ้าของเรื่องเขาเจอคุณลุงที่พกเครื่องหมาย Help mark ติดตัวที่สถานีชินจูกุคนหนึ่ง
* เครื่องหมาย Help mark (ภาษาญี่ปุ่นก็เรียกทับศัพท์ว่า เฮะลุพุ มา-ขุ ヘルプマーク)
เครื่องหมายนี้จะเป็นป้ายอันเล็ก ๆ สีแดงมีเครื่องหมายบวกและรูปหัวใจสีขาวอยู่ในป้ายนั้น (แปะรูปไว้ในคอมเมนท์นะคะ 😊)
เอาไว้เป็นสัญลักษณ์สำหรับผู้ที่ภายนอกอาจจะดูเหมือนคนปกติ แต่จริง ๆ เป็นผู้ที่มีความบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยที่ใช้ขาเทียม ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติภายใน หรือสตรีตั้งครรภ์ในระยะแรกๆ
เมื่อพกป้ายนี้ผู้พบเห็นก็จะทราบและเมื่อมีอะไรที่พอช่วยได้ก็จะได้ช่วยกันค่ะ
เครื่องหมายนี้ จัดทำขึ้นโดยสำนักสวัสดิการสังคมโตเกียวเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2012
เริ่มแรกมีใช้เฉพาะในโตเกียว แต่ขณะนี้ได้แพร่หลายไปยังรัฐบาลท้องถิ่นทั่วประเทศญี่ปุ่นแล้วค่ะ 😊
〰️👨‍🦳〰️
เข้าเรื่องต่อ
ชายคนนั้นเขาได้ยินคุณลุงพูดด้วยท่าทีอ่อนแออย่างเบา ๆ ว่า "ขอโทษครับ ... "
มีคนผ่านไปมามากมาย แต่ทุกคนทำราวกับมองไม่เห็นคุณลุง
เขาจึงเข้าไปถามว่า "มีอะไรให้ช่วยไหมครับ"
แต่เขากลับถูกคุณลุงปฏิเสธอย่างชัดเจนว่า "ไม่เป็นไร" 😒
เขาเลยงงมาก แล้วก็ยืนดูคุณลุงต่อไปอีกพักนึง ก็ถึงบางอ้อ อ๋อ ... คุณลุงเค้าจะเรียกแต่พวกสาว ๆ สวย ๆ เท่านั้นน่ะเอง 🥸🙄
〰️👨‍🦳〰️
ที่มา
คลิปประกอบวันนี้ ไปนั่งชินคันเซน ดูวิวเล่นกันให้เย็นใจ (และตาลาย เพราะมันเร็วมาก😅) ด้วยกันนะคะ
แล้วพบกันใหม่ค่ะ 🥰🙏
โฆษณา