27 พ.ค. 2022 เวลา 03:47 • การศึกษา
#รู้หรือไม่สตรีในภาพคือเจ้าของที่ดินในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ อุ้มบุตรชายคนที่สาม (ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ - ศาสตราจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์) นางกิมฮ้อได้สมรสกับนายกี นิมมานเหมินท์ และมีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น ๖ คน คือ
นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์
นายไกรศรี นิมมานเหมินท์- ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ล้านนา และเป็นหนึ่งในนักธุรกิจใหญ่ของเชียงใหม่ของยุคนั้น
.
นายพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ - ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ ๘
.
ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์- ศาสตราจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายเรือง นิมมานเหมินทร์ - นักการเมืองท้องถิ่น และอดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
.
นางแจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์ - นักสังคมสงเคราะห์
.
นางอุณณ์ ชุติมา - ผู้ก่อตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๔๙๖ นางกิมฮ้อ และนายกี นิมมานเหมินท์ สามี ริเริ่มความคิดในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในภาคเหนือ โดยทำการยกที่ดินให้กับคณะมิชชันนารีอเมริกัน ซึ่งในขณะนั้นคณะมิชชันนารีคณะนี้กำลังทำหนังสือขออนุมัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งก็ได้รับการปฏิเสธจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยอ้างว่าการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเป็นเอกสิทธิของรัฐบาลกลางเพียงผู้เดียว ต่อมาได้มีการรณรงค์ในเชียงใหม่ทางคณะหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ว่า
#ในภาคเหนือเราต้องการมหาวิทยาลัย
และ
#เราต้องการมหาวิทยาลัยประจำล้านนาไทย
ซึ่งการเคลื่อนไหวอย่างหนักทำให้รัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้ตอบว่าจะสร้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นสาขาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เปิดการประมูลที่ดินใกล้ตัวเมืองเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ซึ่งนางกิมฮ้อร่วมกับนายกีได้บริจาคที่ดินจำนวน ๑๐๐ ไร่เศษ ณ บริเวณฝั่งตะวันตกของตัวเมืองใกล้เชิงดอยสุเทพ แต่รัฐบาลไม่ยอมรับ และรัฐบาลไปซื้อที่ดินบริเวณอำเภอแม่ริม (เขตทหารในปัจจุบัน) แต่ก็มิได้ทำการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ต่อมาชาวเชียงใหม่สามารถก่อตั้งโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ขึ้น โดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา
ต่อมารัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ขึ้นที่เชียงใหม่ รัฐบาลได้เล็งเห็นช่องทางที่จะทำให้นโยบายเกิดความรวดเร็ว จึงได้เกิดความร่วมมือกับตระกูลนิมมานเหมินท์-ชุติมา ในการจัดหาที่ดิน ซึ่งรัฐบาลก็ได้ที่ดินริมถนนสุเทพมาเพื่อจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ นายกีและนางกิมฮ้อจึงตกลงขายที่ดินผืนใหญ่ในราคาเสมือนให้เปล่าให้กับรัฐบาลบริเวณที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันมา
และในที่สุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ นอกจากนี้ยังบริจาคที่ดินบางส่วนเพื่อใช้ตัดถนนใหม่เพื่อให้การจราจรคล่องตัว (ถนนนิมมานเหมินทร์ในปัจจุบัน)
ภาพและข้อมูล : ภาพเก่าเล่าเรื่อง
และเพจเจาะเวลาหาอดีต
โฆษณา