2 มิ.ย. 2022 เวลา 01:15 • ประวัติศาสตร์
ที่มาของครุฑพ่าห์ตราแผ่นดินของไทย
5
พอดีไปอ่านประเด็นเรื่องการใช้ตัวเลขไทยในเอกสารราชการ เห็นตราครุฑที่หัวกระดาษก็เลยอยากนำเกร็ดความรู้มาเล่าสู่กันฟังค่ะ
ตราแผ่นดินของไทย หรือ ตราครุฑพ่าห์ เป็นรูปเทพพาหนะของพระนารายณ์
ตราครุฑพ่าห์: ตราแผ่นดินในหนังสือราชการไทย (pic: wikipedia, public domain)
รู้หรือไม่ว่าตราครุฑในหนังสือราชการมี 2 แบบ และใช้ในกรณีต่างกันค่ะ
3
แบบที่ 1 ครุฑเท้าตั้ง หรือ ครุฑดุน
• ใช้ในพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาล ส่วนพระมหากษัตริย์
3
• ใช้เป็นตราราชการของกรมราชองครักษ์ หน้าปกราชกิจจานุเบกษา หน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศ และหนังสือเดินทาง
1
แบบที่ 2 ครุฑเท้าเหยียดตรง
1
• ใช้ในหนังสือราชการทั่วไป
ทั้งนี้แต่ละหน่วยงานอาจมีรายละเอียดของตราครุฑพ่าห์แตกต่างกันออกไป
1
ตามคติไทยโบราณเชื่อว่า ครุฑเป็นพญาแห่งนกและเป็นพาหนะของพระนารายณ์ มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ที่ได้รับพรให้เป็นอมตะ โดยไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้แต่วัชระหรือสายฟ้าฟาดของพระอินทร์ จนพญาครุฑต้องสลัดขนปีกตัวเองออกให้หนึ่งเส้น เพื่อเป็นการรักษาพระเกียรติแก่พระอินทร์
5
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สยามน่าจะรับแบบอย่างการใช้ตรามาจากประเทศจีน จากจดหมายเหตุลาลูแบร์ ทำให้ทราบว่า พระมหากษัตริย์มีตราประจำพระองค์ แต่ในจดหมายเหตุไม่มีรายละเอียดมากนัก
1
เนื่องจากในสมัยนั้นมีคตินิยมแบบสมมุติเทพที่เปรียบพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีบุญญาธิการเทียบเท่าพระนารายณ์ผู้ทรงครุฑเป็นพาหนะ จึงสันนิษฐานว่า ตราประจำพระองค์น่าจะเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ โดยมีการเขียนจำลองจากหลักฐานต่างๆ ขึ้นภายหลัง
1
ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ มีการใช้ตราประจำรัชกาลประทับในงานราชการแผ่นดิน หลักฐานที่ชัดเจนคือประทับลงบนเงินพดด้วง ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามรัชกาลของพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีปรากฏใช้รูปครุฑยุดนาคเป็นตราประจำรัชกาล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากมีตราประจำพระองค์แล้ว โปรดให้ใช้ตราอาร์มตามแบบฝรั่งเป็นตราประทับในงานราชการแผ่นดิน แต่ต่อมาทรงดำริใหม่ว่า ตราอาร์มที่ใช้เป็นแบบฝรั่งเกินไป จึงมีรับสั่งให้เปลี่ยนแบบใหม่
3
โดยรูปที่เขียนขึ้นใหม่นี้ปรับเปลี่ยนมาจากตราครุฑพ่าห์เดิมรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ซึ่งเป็นตราประจำพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
1
เมื่อใช้มาระยะหนึ่ง จึงมีรับสั่งให้ปรับเปลี่ยนอีกครั้ง โดยยกรูปพระนารายณ์และนาคออกคงเหลือเฉพาะรูปครุฑ และเปลี่ยนรูปครุฑเป็นครุฑรำ ซึ่งเป็นแบบที่พอพระทัยยิ่งนัก เนื่องจากพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะให้ใช้ตรานี้เป็นตราแผ่นดินถาวรสืบไป จะได้ไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่เมื่อเปลี่ยนรัชกาล
ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้สร้างพระราชลัญจกรในพระองค์เป็นรูปวชิราวุธ และใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาลแบบสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเพิ่มพระปรมาภิไธยที่ขอบ และได้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อมาในการเปลี่ยนพระปรมาภิไธยให้ตรงตามรัชกาล
1
ทั้งนี้ตราพระครุฑพ่าห์มีการเปลี่ยนแปลงรูป และการใช้มาโดยลำดับจนถึงปัจจุบัน
เกร็ดประวัติศาสตร์ ทำให้เราทราบที่มา และเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น
5
ข้อมูลอ้างอิง
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
ถ้าชอบบทความที่นำมาเล่า อย่าลืม
♡กดติดตาม ♡กดไลค์ ♡กดแชร์ กันนะคะ
Simple Blog
02.06.22

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา