8 พ.ค. 2022 เวลา 03:53 • ประวัติศาสตร์
• สะพานร้องไห้ ประติมากรรมที่มาจากความอาลัยและการระลึกถึง
5
การที่สะพานแห่งนี้มีงานปั้นแบบนูน เป็นภาพผู้ใหญ่และเด็กยืนอยู่ในท่าอาการโศกเศร้า ทำให้เกิดความสงสัย และมีการตั้งกระทู้ถามกันอยู่บ่อยๆ
Mahadthai Uthit Bridge or Crying Bridge
สะพานร้องไห้ ชื่อที่คนทั่วไปใช้เรียก สะพานมหาดไทยอุทิศ เป็นสะพานข้ามสองฝั่งคลองมหานาคของถนนบริพัตร ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นมีการก่อสร้างสะพานขึ้นหลายแห่ง หรือที่เรียกกันว่าสะพานชุดเฉลิม และเดิมทีตรงจุดนี้ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ก่อสร้างสะพานอยู่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่ทันสำเร็จ พระองค์ก็สวรรคตเสียก่อน
3
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้มีการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2457
รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานนามว่า สะพานมหาดไทยอุทิศ เพื่อเป็นอนุสรณ์จากการที่ข้าราชการของกระทรวงมหาดไทยทั่วประเทศร่วมกันบริจาคค่าก่อสร้าง
3
สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ (pic: tnews.co.th)
โดยการก่อสร้างสะพานนั้น มีการปรับเปลี่ยนประติมากรรมจากแบบเก่า คือ จากเดิมที่มีช่อชัยพฤกษ์เพียงอย่างเดียวมาเป็นรูปคนยืนร้องไห้ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความอาลัยและการระลึกถึงของพสกนิกรที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 5
3
หากใครเคยอ่านหนังสือเรื่องสี่แผ่นดิน ก็มีการเล่าถึงความโศกเศร้าอาดูรในเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้ด้วย
1
..ตลอดทางที่พลอยผ่าน มีแต่ชาวบ้านร้านตลาดแต่งกายไว้ทุกข์ นุ่งดำ เดินมุ่งหน้าไปทางเดียวกันทั้งสิ้น ทุกคนมีใบหน้าอันเศร้าหมอง ส่วนมากถือดอกไม้ธูปเทียนในมือ บางคนเดินร้องไห้ดังๆ บางคนก็เดินเช็ดน้ำตา ทุกคนต่างมุ่งหน้าไปคอยกระบวนพระบรมศพ เพื่อถวายบังคมสักการะในวันนี้..
หนังสือ สี่แผ่นดิน ช่วงจบแผ่นดินที่หนึ่ง คราสิ้นพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5
5
รูปถ่ายที่ใช้เป็นแบบในงานปั้น (pic: Pinterest)
เล่ากันว่า..
ในช่วงการก่อสร้างนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ กับ วิตโตริโอ โนวี, Vittorio Novi ประติมากรชาวอิตาเลียน หาชาวบ้านมาถ่ายรูปเพื่อเป็นแบบได้ยากมาก เพราะคนในสมัยนั้นยังหวาดกลัวกับการถ่ายรูป
3
แต่สุดท้ายก็ได้หญิงชาวบ้านไม่ทราบชื่อคนหนึ่งอุ้มลูกมาเป็นแบบให้ ซึ่งหญิงผู้นี้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความอาลัยจากการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รักยิ่งได้เป็นอย่างดี
5
ส่วนผู้ชายและเด็กที่ยืนไหว้นั้น คือ นายพุ่มและลูก ผู้เป็นบ่าวรับใช้ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
1
ประติมากรรมแบบนูนต่ำ: (ซ้าย)ผู้หญิงยืนร้องไห้ อุ้มเด็กที่ในมือถือดอกซ่อนกลิ่น | (ขวา)ผู้ชายยืนจับไหล่เด็กชายที่กำลังไหว้ *มีการปั้นกางเกงในของเด็กผู้ชายแทนจับปิ้ง ซึ่งเป็นการแก้ไขขึ้นใหม่ที่มีการบูรณะ (pic: wikipedia)
ซุ้มราชสีห์ สื่อถึงกระทรวงมหาดไทย, ภาพถัดไป ประติมากรรมพวงหรีดบนราวสะพาน (pic: tnews.co.th)
สรุปว่า สะพานแห่งนี้คือ สะพานมหาดไทยอุทิศ มีรูปแบบการสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ราวสะพานมีประติมากรรมแสดงถึงความโศกเศร้าอาลัยรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า สะพานร้องไห้
5
สะพานยังคงสภาพรูปแบบเดิมไว้ได้มากตั้งแต่แรกสร้าง โดยไม่ได้มีการขยายพื้นที่ของสะพานออก และปัจจุบันยังให้รถวิ่งผ่านได้
#Exhibition of Nostalgia นิทรรศการแห่งความคิดถึง
1
เพจขอร่วมกิจกรรมนี้ด้วยบทความเล่าเรื่องราวของสะพานร้องไห้ ประติมากรรมที่สร้างจากความอาลัยและการระลึกถึง
ติดตามกิจกรรมสนุกๆกันได้ที่เพจ.. เพราะโลกไม่ได้กว้างเกินไปกว่าใจ
ข้อมูลอ้างอิง
Simple Blog
08.05.22
ถ้าชอบบทความที่นำมาเล่า อย่าลืม
♡กดติดตาม ♡กดไลค์ ♡กดแชร์ กันนะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา