2 มิ.ย. 2022 เวลา 03:48 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Selective Investment เลือกลงทุนให้เงินงอกเงย
บรรยากาศการลงทุนเดือนพฤษภาคม แลดูไม่น่าจูงใจให้ลงทุนต่อ ปรากฏการณ์ Sell in May ในปีนี้เรียกว่ารุนแรงเกินเบอร์ไปมากจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ประเภทใด จะตลาดในประเทศหรือต่างประเทศล้วนได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า
สถานการณ์สงครามที่ยืดเยื้อ ซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อให้หนักหน่วงยิ่งขึ้น จนกลายเป็นโจทย์หลักทางเศรษฐกิจในปีนี้ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กำลังออกแรงสกัดกั้นเงินเฟ้อที่ทะยานขึ้นอย่างเต็มที่ ซึ่งแต่ละครั้งที่ Fed ออกมาส่งสัญญาณหรือดำเนินมาตรการใด ๆ เขย่าตลาดเงินตลาดทุนให้สั่นสะเทือนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เศรษฐกิจโลกที่กำหลังเผชิญมรสุมลูกใหญ่ ทำให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เติบโตเป็นครั้งที่สองในรอบปี โดยในเดือนมกราคมซึ่งยังไม่เกิดเหตุสงครามรัสเซีย-ยูเครน IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะโต 4.4% ในปี 2022 และ 3.8% ในปี 2023
ล่าสุด รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ของ IMF ได้หั่น GDP โลกลงมาเหลือ 3.6% ทั้งในปีนี้และปีหน้า โดยระบุว่าวิกฤตสงครามที่ยืดเยื้อและยังไม่มีทีท่าจะยุติลง เปรียบเสมือนคลื่นแผ่นดินไหวที่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ว กระทบเศรษฐกิจในวงกว้างและยาวไกล กดดันอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก ทั้งยังท้าทายการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก
โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสองประเทศคู่สงครามที่ IMF คาดการณ์ว่าจะถูกกระทบอย่างหนัก โดยประเมิน GDP รัสเซียจะหดตัว 8.5% ในปีนี้ และหดตัวต่อเนื่อง 2.3% ในปีหน้า ขณะที่เศรษฐกิจยูเครนจะหดตัวมากถึง 35%
และหากพิจารณาถึงไส้ในของการปรับลด GDP โลกในครั้งนี้ จะพบว่ายักษ์ใหญ่เศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคต่างถูกปรับลดการเติบโตลงทั้งสิ้น แต่แตกต่างกันไป ตามผลกระทบจากความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน โดย IMF คาดว่าเศรษฐกิจยุโรปจะได้รับผลกระทบจากภัยสงครามมากสุด เนื่องจากพึ่งพาแหล่งพลังงานจากรัสเซียโดยตรง จึงได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 2.8% ซึ่งลดลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้า 1.1%
ขณะที่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลกอย่างสหรัฐฯ นั้น IMF ได้ปรับลด GDP ลง 0.3% จากประมาณการก่อนหน้า โดยลดลงเหลือ 3.7% ในปีนี้ และ 2.3% ในปีหน้า
สำหรับจีน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลก IMF ก็ได้ปรับลดการเติบโตในปีนี้ลงเหลือ 4.4% ต่ำกว่าเป้าหมายที่ทางการจีนกำหนดไว้ที่ 5.5% ซึ่งให้น้ำหนักกับการแพร่ระบาดของ Covid-19 เป็นสำคัญ โดยระบุว่าโรคระบาดยังเป็นพายุฝนฟ้าคะนองที่สาดกระหน่ำใส่จีนอยู่
โดยเฉพาะนโยบาย Zero Covid ที่ทำให้จีนยังคงล็อกดาวน์เมืองสำคัญต่าง ๆ ซึ่งจะกระทบทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลก เพราะนอกจากปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่ออุปสงค์ภายในประเทศแล้วยังกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน ขณะที่ผลกระทบจากภัยสงครามก็แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นไปในทิศทางใด เงินลงทุนของเรายังคงต้องงอกเงย จริงไหมล่ะ ถ้าอย่างนั้นลองมาดูว่า ยังมีร่องน้ำไหนที่พอจะเปิดให้เงินลงทุนของเราไหลไป เพื่อหล่อเลี้ยงพอร์ตให้เติบโต
กลยุทธ์ “เลือก” ลงทุน (Selective Investment) จึงน่าจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ปรับพอร์ตลงทุน ให้สอดคล้องกับภาวะตลาดในตอนนี้ได้ เพื่อรักษาผลตอบแทนที่ยั่งยืนในระยะยาว
นักลงทุนจึงควรมองข้ามช็อตความผันผวนระยะสั้น ไปหาสินทรัพย์ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของชีวิตมนุษย์ ซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ที่มีศักยภาพเติบโตสูงในอนาคต และสามารถสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนได้ในะระยะยาว โดยกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐาน และเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ ก็ยังตอบโจทย์เสมอ เลือก.. เพื่อให้เงินลงทุนของคุณได้ไปต่อ ข้ามผ่านมรสุมทางการเงินไปได้อย่างสบายใจ
BBLAM มีกองทุนที่หลากหลาย รองรับกลยุทธ์การลงทุนแบบ Selective Investment ที่จะต่อยอดความมั่งคั่งให้กับคุณได้ในะระยาว ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจผันผวน ถดถอย หรือเติบโต เช่น กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ (B-GLOB-INFRA) ซึ่งลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศ G7 อาทิ โรงไฟฟ้า ถนน รางรถไฟ ทางด่วน ท่าเรือ ท่อก๊าซ
หรือกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่มองหาการเติบโตของธุรกิจสุขภาพและนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ ช่วยให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น รองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยในหลายประเทศทั่วโลกในอนาคต
คำเตือน: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน
กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
โฆษณา