30 พ.ค. 2022 เวลา 15:21 • หนังสือ
คุณเคยสงสัยไหมว่า...ทำไมคนที่รวยอยู่แล้ว เขาถึงพยายามทำให้ตัวเองรวยขึ้นไปอีก แล้วต้องมีเงินขนาดไหนเขาถึงจะพอ? กลับกัน ถ้าเป็นตัวคุณเองมีเงินเพียงพอต่อการซื้อทุกสิ่งที่สมเหตุสมผลแล้ว คุณจะทำแบบพวกเขาไหม? แล้วเท่าไหร่คุณถึงจะรู้สึกว่าพอ?
5
สรุปหนังสือ The Psychology of Money ตอนที่ 4
1
ในสัปดาห์ที่แล้ว แอดก็ได้เล่าถึงบทที่ 2 ของจิตวิทยาว่าด้วยเงินไปแล้ว นั่นคือเรื่องของ “โชคและความเสี่ยง” ค่ะ
ในสัปดาห์นี้ แอดก็จะมาเล่าต่อในบทที่ 3 ว่าด้วยเรื่องของ “ไม่เคยพอ” เนื้อหามีดังนี้
Topic:
1) เมื่อไหร่ถึงจะรู้สึก “พอ”
2) อันตรายที่เกิดจากการ “ไม่ยอมพอ” : ราจาต กุปต้า
3) 4 เหตุผลที่คำว่า “พอ” มันถึงสำคัญ
เมื่อไหร่ล่ะเราถึงจะรู้สึกว่า “พอ” ใครสนใจก็มาตามอ่านกันได้เลยค่ะ!!!
สำหรับองค์ประกอบสำคัญของสังคมมนุษย์เรา รวมไปถึงผู้ที่มั่งคั่งที่สุดและมีอำนาจมากที่สุดหลายคนในหมู่พวกเรา ดูเหมือนว่าทุกวันนี้มันจะไม่มีจุดสิ้นสุดของคำว่า “พอ”
คำถามก็คือ ทำไมใครบางคนที่มีความมั่งคั่งระดับหลายร้อยล้านดอลลาร์ถึงอยากได้เงินมากขึ้นอย่างไม่กลัวอันตรายจนพวกเขายอมเสี่ยงทุกอย่างเพื่อที่จะหาเงินให้ได้มากยิ่งขึ้น
พวกเขามีพร้อมทุกอย่าง ทั้งความมั่งคั่งเกินจินตนาการ เกียรติยศ อำนาจ อิสรภาพ และพวกเขาเลือกที่จะโยนสิ่งเหล่านี้ทิ้งไปเพราะพวกเขาอยากมีมันมากขึ้น
ทำไมพวกเขาไม่รู้สึกถึงคำว่า “พอ”
แล้วเมื่อไหร่ล่ะถึงจะรู้สึกว่า “พอ”
ราจาต กุปต้า เกิดในเมืองโกลกาตาประเทศอินเดีย เขาถูกทิ้งให้เป็นเด็กกำพร้าในขณะที่ยังเป็นวัยรุ่น ผู้คนพูดถึงเรื่องของผู้มีสิทธิพิเศษเพียงไม่กี่คนที่เกิดมาพร้อมกับแต้มต่อในชีวิต (begin life on third base) แต่สำหรับกุปต้าแล้วเขาไม่เคยแม้แต่จะเห็นสนามเบสบอลด้วยซ้ำ
สิ่งที่เขาทำเพื่อบรรลุเป้าหมายต่อจากจุดเริ่มต้นเหล่านั้นช่างเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์
กุปต้าเป็น CEO ของบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกอย่างบริษัท แมคคินซีย์ ในตอนที่เขามีอายุได้ 40 กลางๆ เขาเกษียณอายุในปี 2007 เพื่อไปรับตำแหน่งที่สหประชาชาติและสภาเศรษฐกิจโลก
เขาเป็นหุ้นส่วนด้านการกุศลกับบิล เกตส์ เขาเคยนั่งเก้าอี้บอร์ดบริษัทมหาชนห้าแห่ง จากสลัมในเมืองโกลกาตา กุปต้าได้กลายเป็นหนึ่งในนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่
การประสบความสำเร็จของเขานำมาซึ่งความมั่งคั่งจำนวนมหาศาลในปี 2008 มีรายงานว่ากุปต้ามีความมั่งคั่ง 100 ล้านเหรียญ มันเป็นจำนวนเงินที่ยากจะฝันถึงสำหรับคนส่วนใหญ่ ผลตอบแทน 5% ต่อปีจากเงินจำนวนมากขนาดนั้นสร้างรายได้เกือบ 600 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง 24 ชั่วโมงต่อวัน
เขาสามารถทำอะไรก็ได้ตามแต่ที่ชีวิตเขาต้องการ
และเขาไม่ได้ต้องการเป็นเพียงแค่เศรษฐีร้อยล้านเท่านั้น ราจาต กุปต้า ต้องการที่จะเป็นเศรษฐีพันล้าน และเขาก็ต้องการมันมากอย่างถึงที่สุด
1
กุปต้าเป็นบอร์ดบริหารของบริษัทโกลด์แมน แซคส์ ซึ่งทำให้เขาถูกห้อมล้อมไปด้วยนักลงทุนที่มั่งคั่งมากที่สุดในโลกจำนวนหนึ่ง นักลงทุนรายหนึ่งพูดถึงวันที่มหาเศรษฐีหุ้นนอกตลาด (Private Equity) เอาหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ เขาพูดถึงกุปต้าว่า “ผมคิดว่าเขาอยากอยู่ในวงนั้น วงของเศรษฐีพันล้าน แล้วโกลด์แมนก็เป็นเหมือนกันกับวงร้อยล้านนั่นใช่ไหมล่ะ”
4
ใช่ ดังนั้นกุปต้าจึงได้พบกับช่องทางทำผลตอบแทนมหาศาล
ในปี 2008 ที่โกลด์แมน แซคส์ต้องประสบกับความโกรธเกรี้ยวของวิกฤตเศรษฐกิจทางการเงิน วอร์เรน บัฟเฟตต์ วางแผนที่จะลงทุนเงิน 5 พันล้านเหรียญเพื่อช่วยให้มันอยู่รอด ในฐานะบอร์ดบริหารของโกล์แมน แซคส์ กุปต้ารู้เรื่องธุรกรรมนี้ก่อนประชาชนทั่วไป มันเป็นข้อมูลที่มีค่าในเวลานั้นการอยู่รอดของโกลด์แมน แซคส์ยังถูกตั้งข้อสงสัย และเงินสนับสนุนของบัฟเฟตต์จะส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งทะยานอย่างแน่นอน
1
16 วินาทีหลังจากที่ได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงที่รอการดำเนินการ กุปต้าผู้ถูกต่อสายถึงระหว่างประชุมบอร์ดโกลด์แมน แซคส์ก็วางสายและโทรหาผู้จัดการกองทุนบริหารความเสี่ยงที่ชื่อ ราจ ราจารัตนัม การคุยสายครั้งนั้นไม่ได้ถูกบันทึกเสียงเอาไว้ แต่ราจารัตนัมได้ซื้อหุ้นโกลด์แมน แซคส์จำนวน 175,000 หุ้นในทันที
1
คุณคงจะเดาได้ว่าพวกเขาคุยอะไรกัน ข้อตกลงระหว่างบัฟเฟตต์และโกลด์แมนถูกประกาศออกมาสู่สาธารณชนหนึ่งชั่วโมงถัดมา หุ้นของโกลด์แมนพุ่งขึ้น ราจารัตนัมทำเงินได้ 1 ล้านเหรียญอย่างรวดเร็ว
3
นั่นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของข้อกล่าวหา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (SEC) อ้างว่าข้อมูลวงในของกุปต้านำไปสู่ผลกำไรจำนวน 17 ล้านเหรียญ
มันเป็นเงินที่ได้มาง่าย และสำหรับอัยการแล้วมันยิ่งเป็นคดีที่ง่ายขึ้นไปอีก
ทั้งกุปต้าและราจารัตนัมต้องเข้าไปอยู่ในคุกเพราะใช้ข้อมูลวงในในการซื้อขาย อาชีพและชื่อเสียงของพวกเขาพังทลายลงโดยไม่อาจเรียกคืนกลับมาได้
ณ ช่วงจังหวะหนึ่งของชีวิต เมื่อคุณมีเงินเพียงพอต่อการซื้อทุกสิ่งที่สมเหตุสมผลตามแต่ที่คุณต้องการแล้ว 4 เหตุผลที่คำว่า “พอ” มันถึงสำคัญ
1
เฮาเซิลบอกว่า...มันเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด
หากความคาดหวังนั้นเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กันกับผลลัพธ์ ก็ไม่มีเหตุผลที่คุณจะต้องพยายามมากขึ้นเนื่องจากคุณจะรู้สึกเหมือนเดิมหลังจากที่พยายามเพิ่มขึ้น
มันจะเริ่มอันตรายหากความรู้สึกของการอยากมีเงินมากขึ้น มีอำนาจมากขึ้น มีเกียรติยศมากขึ้นนั้นทำให้ความทะเยอทะยานเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าความพึงพอใจ
หากเป็นเช่นนั้น ก้าวหนึ่งที่ก้าวไปข้างหน้าจะผลักเป้าหมายออกไปอีกสองก้าว คุณจะรู้สึกราวกับว่าคุณรั้งท้ายอยู่ด้านหลัง และทางเดียวที่จะตามเป้าหมายให้ทันคือคุณต้องรับความเสี่ยงในปริมาณที่มากขึ้นและมากขึ้น
1
ระบบทุนนิยมสมัยใหม่นั้นให้การสนับสนุน 2 สิ่งคือ
การสร้างความมั่งคั่ง
การสร้างความอิจฉา
บางที 2 สิ่งนี้ก็จูงมือไปพร้อมกัน ความต้องการแซงหน้าเพื่อนของคุณสามารถเป็นเชื้อเพลิงในการทำงานหนัก แต่ชีวิตจะไร้ซึ่งความสนุก หากคุณไม่รู้จักคำว่า “พอ”
1
ดังความกล่าวที่ว่า... “ความสุขนั้นเป็นเพียงแค่ผลลัพธ์ลบด้วยความคาดหวัง”
คุณลองคิดถึง...
นักเบสบอลมือใหม่ที่มีรายได้ 500,000 เหรียญต่อปี เขาเป็นคนรวยไม่ว่าจะด้วยคำจำกัดความใด
แต่ถ้าสมมติว่าเขาเล่นอยู่ในทีมเดียวกันกับ ไมค์ เทราต์ ซึ่งถือสัญญา 12 ปีจำนวน 430 ล้านเหรียญ หากนำมาเปรียบเทียบกัน มือใหม่คนนั้นคือคนถังแตก
1
ถ้าคุณลองคิดถึง ไมค์ เทราต์ เงินจำนวน 36 ล้านเหรียญต่อปีนั้นเป็นเงินจำนวนมากจนแทบบ้า แต่หากคุณจะทำเงินให้ติดรายชื่อผู้จัดการกองทุนบริหารความเสี่ยงที่มีรายได้มากที่สุด 10 อันดับในปี 2008 คุณต้องมีรายได้อย่างน้อย 340 ล้านเหรียญในหนึ่งปี นั่นคือกลุ่มคนที่ไมค์อาจเอาตัวเองไปเปรียบเทียบด้วย
และผู้จัดการกองทุนบริหารความเสี่ยงที่สร้างรายได้ 340 ล้านเหรียญต่อปีจะเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับผู้จัดการกองทุนบริหารความเสี่ยง 5 อันดับสูงสุดที่มีรายได้อย่างน้อย 770 ล้านเหรียญในปี 2018
1
ผู้จัดการกองทุนติดอันดับเหล่านั้นสามารถมองไปที่คนอย่างวอร์เร็น บัฟเฟตต์ ผู้ที่มีทรัพย์สมบัติส่วนตัวเพิ่มขึ้น 3,500 ล้านเหรียญในปี 2018
และใครบางคนอย่างบัฟเฟตต์ก็สามารถที่จะมองไปยัง เจฟฟ์ เบโซส์ ซึ่งมีความมั่งคั่งสุทธิเพิ่มขึ้น 24,000 ล้านเหรียญในปี 2018 ผลรวมของจำนวนเงินนั้นเปรียบได้กับจำนวนเงินที่มากกว่ารายได้รายชั่วโมงที่นักเบสบอลผู้ “ร่ำรวย” ทำได้ในเวลาหนึ่งปีเต็ม
ประเด็นก็คือ...เพดานของการเปรียบเทียบทางสังคมนั้นสูงมากเสียจนแทบจะไม่มีใครเคยทำได้เลย ซึ่งนั่นหมายความว่ามันเป็นสงครามที่ไม่มีวันชนะ หรือหนทางเดียวที่จะชนะได้คือการไม่ลงสนามไปต่อสู้โดยเริ่มต้นจากการยอมรับว่า “คุณอาจมีพอแล้ว” แม้ว่ามันอาจจะมีน้อยกว่าคนอื่นๆ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวคุณก็ตาม
2
ความคิดของการมี “พอ” แล้วอาจดูเชย เป็นการปล่อยโอกาสและศักยภาพทิ้งเอาไว้บนโต๊ะ
เฮาเซิลบอกว่า...เขาคิดว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ถูก
“พอ” นั้นคือการตระหนักได้ว่าความกระหายที่ไม่รู้จักพอในด้านตรงกันข้ามจะผลักให้คุณไปอยู่ในจุดที่คุณจะต้องเสียใจ
ทางเดียวที่คุณจะรู้ว่าคุณกินได้มากแค่ไหนก็คือกินจนกว่าคุณจะป่วย มีคนจำนวนไม่มากลองทำสิ่งนี้เพราะการอาเจียนนั้นเจ็บปวดมากกว่าการได้กินมื้ออาหารดีๆ
ด้วยเหตุผลเดียวกัน ตรรกะเดียวกันนี้ใช้ไม่ได้กับธุรกิจและการลงทุน และมีหลายคนที่จะหยุดขวนขวายเพื่อสิ่งที่มากขึ้นต่อเมื่อพวกเขาถังแตกและถูกบังคับให้หยุดเท่านั้น หรือการจัดสรรการลงทุนอย่างสุ่มเสี่ยงที่คุณรักษามันเอาไว้ไม่ได้
ชื่อเสียงนั้นประเมินค่ามิได้
อิสรภาพและเสรีภาพนั้นประเมินค่ามิได้
ครอบครัวและเพื่อนฝูงนั้นประเมินค่ามิได้
การถูกรักจากคนที่คุณต้องการให้รักนั้นประเมินค่ามิได้
ความสุขนั้นประเมินค่ามิได้
และสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อรักษาสิ่งเหล่านี้เอาไว้คือ การรู้ว่าเมื่อไหร่คือเวลาที่คุณจะต้องหยุดรับความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายสิ่งเหล่านี้ มันคือการรู้ว่าเมื่อไหร่ที่คุณมี “พอ” แล้ว
อ่านจบแล้วเป็นไงบ้างคะ?
สำหรับแอดเอง ยังไม่ได้อยู่ในกลุ่มคนที่เล่าถึงในบทความนี้หรอกค่ะ แต่ก็คิดว่าสามารถนำบทเรียนที่ได้มาปรับใช้กับชีวิตของเราได้
ตัวแอดเองปัจจุบันนี้ก็มีภาระในการดูแลครอบครัวหนักอยู่เหมือนกัน ทั้งพ่อแม่ ส่งน้องเรียนมหาลัย และอื่นๆ ในขณะที่เราก็มีเป้าหมายทางการเงินและการลงทุนของเราด้วย
บางวันที่เหนื่อนจากการทำงานมากๆ เคยแอบคิดว่า ถ้าเราไม่มีภาระหนักขนาดนี้ พอร์ตการลงทุนของเราน่าจะโตเร็วกว่านี้ไหมนะ? เราน่าจะเหลือเงินไปลงทุนได้มากกว่านี้ เราน่าจะไปถึงเป้าหมายได้เร็วกว่านี้ไหม? คำถามมากมายเกิดขึ้นในหัว
แต่พอคิดใหม่อีกทีว่า...ถ้าเกิดเราเดินไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้จริงๆ แต่ตรงนั้นไม่มีใครเลย ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีพี่น้อง ไม่มีคนที่เรารัก เดินไปถึงตรงนั้นเราจะมีความสุข จริงๆ หรอ มันคงโดดเดี่ยวและเดียวดายมากเลยนะคะ
2
พอคิดได้...กลายเป็นว่าแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้มันดีกว่ามากๆ ไปเลยค่ะ เดินช้าหน่อยแต่เราเดินไปพร้อมกันกับคนที่เรารักและรักเรา ถึงเป้าหมายไหมไม่รู้ แต่รู้แค่ว่าวันนี้มีความสุขและอบอุ่นหัวใจมากๆ ก็ “พอแล้ว” ค่ะ
5
โฆษณา