24 มิ.ย. 2022 เวลา 12:00 • สุขภาพ
🙉ไม่ควรกังวลเรื่อง" ฝีดาษลิง " มากจนเกินไปขณะนี้
การพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในหลายประเทศและในพื้นที่ที่ไม่ได้เป็นโรคประจำถิ่นทำให้นักวิทยาศาสตร์ตื่นตัว
ไม่ควรกังวลเรื่อง" ฝีดาษลิง " มากจนเกินไปขณะนี้
🐒องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงยืนยันรวม 92 ราย และอีก 28 รายที่อยู่ระหว่างเฝ้าระวังใน 12 ประเทศทั้งในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียระหว่างวันที่ 13-21 พ.ค.2565
โรคฝีดาษลิงถูกค้นพบครั้งแรกในระหว่างการทดลองในลิงในปี 2501 และเป็นไวรัสที่แพร่กระจายจากสัตว์ป่าสู่คนหรือจากกลุ่มประชาชนที่ได้รับเชื้อ ปกติแล้วจะพบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยหลายพันคนในแอฟริกาต่อปี
แต่การพบผู้ติดเชื้อนอกทวีปแอฟริกาจำกัดเฉพาะผู้ที่เดินทางไปยังแอฟริกาเท่านั้น จำนวนผู้ติดเชื้อนอกทวีปแอฟริกาในช่วงสัปดาห์มากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่เคยรายงานรวมตั้งแต่ปี 2513 ช่วงที่พบเชื้อในมนุษย์ครั้งแรก
ตัวเลขดังกล่าวสร้างความตื่นตัวให้กับนักวิทยาศาสตร์จากการระบาดอย่างรวดเร็วในหลายประเทศที่โรคฝีดาษลิงไม่ได้เป็นโรคประจำถิ่น
🙊แต่ไม่ควรกังวลต่อโรคฝีดาษลิงมากจนเกินไปในขณะนี้
โรคฝีดาษลิงเป็นไวรัส DNA ดังนั้น จึงไม่กลายพันธุ์อย่างรวดเร็วเหมือนโควิดหรือไข้หวัดใหญ่ ไม่เหมือนกับ SARS-CoV-2 ที่แพร่ระบาดผ่านละอองฝอยขนาดเล็กที่เรียกว่าละอองลอย (aerosols)
โดยปกติแล้ว ละอองฝอยน้ำมูกและน้ำลาย (Respiratory droplets) จะไม่กระจายเข้าสู่ร่างกายมนุษย์มากกว่า 2-3 ก้าว
ดังนั้น จึงจะมีการส่งต่อกันหากมีการพูดคุยกันแบบตัวต่อตัวเท่านั้นอิงจากการรายงานของ CDC นอกจาก respiratory droplets แล้ว
โรคฝีดาษลิงยังสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับสัตว์ มนุษย์หรือวัสดุที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนเพราะไวรัสชนิดนี้สามารถเข้าสู้ร่างกายมนุษย์ได้ผ่านแผลบนผิวหนัง (broken skin) (แม้มองไม่เห็น) และเยื่อบุ (ตา จมูกหรือปาก)
ระยะเวลาฟักตัวจะอยู่ที่ 5-21 วัน และภายใน 1-3 วัน หลังมีไข้ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นคันโดยเริ่มจากบริเวณใบหน้าก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการประมาณ 2-4 สัปดาห์
โรคฝีดาษลิงสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตกที่เป็นสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดในกลุ่มผู้ป่วยขณะนี้สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้เพราะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1 ใน 100 ในทางกลับกัน สายพันธุ์คองโกมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 10%
ทั้งนี้ อัตราการเสียชีวิตของโควิด-19 ในสหรัฐฯ อยู่ที่ 1.2%
WHO รายงานว่าวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ นอกจากนี้มีการคิดค้นวัคซีน MVA-BN และยา tecovirimat ได้รับการอนุมัติให้เป็นยารักษาโรคฝีดาษลิงในปี 2562 และ 2565 ตามลำดับ
🏥คาดกลุ่มโรงพยาบาลเป็นผู้ได้ประโยชน์หลัก
เราคาดว่ากลุ่มโรงพยาบาลจะได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนและการรักษาการระบาดของโรคฝีดาษลิงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต WHO รายงานว่าโรคฝีดาษลิงจะส่งผลจำกัดกับกลุ่มผู้สูงอายุเพราะมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนในอดีต
ขณะที่ประชากรทั่วโลกที่มีอายุต่ำกว่า 40-50 ปี ซึ่งไม่เคยฉีดวัคซีนไข้ทรพิษตั้งแต่ตอนแรกเกิดจะเป็นกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ เรามองว่าโรคฝีดาษลิงจะทำให้ความต้องการถุงมือยางเพิ่มขึ้นเช่นกันและเป็นบวกกับ STGT
ปัจจุบัน WHO ไม่แนะนำให้ออกมาตรการกำกับการเดินทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เราจึงไม่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อหุ้นธีมเปิดประเทศเว้นเสียแต่ว่าจะมีคำสั่งห้ามเดินทาง
สหราชอาณาจักรและเบลเยียมออกมาตรการให้ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงต้องกักตัวเป็นเวลา 21 วัน อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่าสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องออกมาตรการกักตัวผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงขณะนี้เพราะมีจำนวนวัคซีนที่มากเพียงพอที่จะต่อสู่กับการระบาดที่อาจจะรุนแรงมากขึ้น
#KS #KBankLive
📲เปิดพอร์ตลงทุน >> https://bit.ly/3eC98sz
⛳Follow us :
📲 Facebook: http://bit.ly/2XwGoaa
📲 Instagram: http://bit.ly/332OqIT
📲 Twitter: http://bit.ly/344OVng
📲 YouTube: http://bit.ly/2QAdiFp
โฆษณา