7 มิ.ย. 2022 เวลา 01:29 • ดนตรี เพลง
“ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล ซึ่งปฏิบัติหน้าที่พระอาจารย์ถวายการสอนภาษาไทยแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว
ได้เคยเล่าให้นิสิตอักษรศาสตร์ฟังเมื่อ พ.ศ. 2494 ว่าเมื่อวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2489 มีเพียงมหาวิทยาลัยเดียวที่ไปส่งเสด็จ ซึ่งก็คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิสิตเกือบทุกคนที่มีอยู่ตอนนั้นประมาณ 2,500 คนต่างพร้อมใจไปส่งเสด็จ พร้อมทั้งถวายโล่ตราพระเกี้ยว และกระเช้าดอกไม้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกลัดเข็มพระเกี้ยวเล็กๆไว้ที่ฉลองพระองค์ ด้วย ยังความปลื้มปิติให้แก่ชาวจุฬาฯ ทุกคน ....”
“โล่พระเกี้ยวที่ชาวจุฬาฯ ถวายให้ในวันนั้นได้ตั้งอยู่บนโต๊ะทรงพระอักษรตลอดเวลา ต่อมาวันหนึ่งในปี พ.ศ. 2492 หลังจากเสด็จออกจากห้องทรงพระอักษรและทรงเล่นเปียโนเพื่อผ่อนคลายพระอิริยา บท ได้มีรับสั่งกับ ม.ร.ว. สุมนชาติว่า การเรียนหนังสือไม่สนุกเลย คนที่เรียนหนังสืออยู่เมืองไทยจะรู้สึกแบบนี้ไหม
ม.ร.ว. สุมนชาติได้กราบบังคลทูลว่า หากทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับคนที่เรียนหนังสือที่เมืองไทย ก็ขอพระราชทานเพลงให้แก่พวกเขาเหล่านั้น พระองค์ท่านไม่ทรงรับสั่งใดๆ เลย หลังจากนั้นไม่เกิน 5 วัน ม.ร.ว. สุมนชาติ ได้รับพระราชทานกระดาษ 3 แผ่น ซึ่งเป็นโน้ตเพลง มหาจุฬาลงกรณ์ และทรงรับสั่งแต่เพียงสั้นๆ “ที่ขอมานั้น ได้แต่งให้แล้ว”...”
“ม.ร.ว. สุมนชาติ ได้อันเชิญโน้ตเพลงมหาจุฬาลงกรณ์กลับมายังประเทศไทย และได้ขอให้ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และคุณสุภร ผลชีวิน ผู้เป็นน้องชาย ซึ่งทั้งคู่ต่างก็เป็นนิสิตเก่าจุฬาฯ เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง โดยมีคุณพระเจนดุริยางค์เล่นเปียโนและมีผู้ร้องด้วยเนื้อร้องที่ท่านผู้หญิง และคุณสุภร ผลชีวินแต่งขึ้น
เมื่อได้มีการแก้ไขปรับปรุงจนเนื้อร้องกลมกลืนกับโน้ตดนตรีพระราชทานดีแล้ว จึงนำทูลเกล้า ขอพระบรมราชวินิจฉัย ต่อมาได้พระราชทานให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพราะฉะนั้น บทเพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ จึงเปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวกับชาวจุฬาฯ อย่างหาที่เปรียบมิได้...”
“เพลงมหาจุฬาลงกรณ์ สำหรับชาวจุฬาฯ ทุกคน เปรียบได้ดั่งเพลงสรรเสริญพระบารมี คือ ยึดถือว่าการร้องหรือบรรเลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อย่างเป็นทางการ ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการร้องหรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นคือการยืนถวายความเคารพ
โดยชาวจุฬาฯ ได้ขอให้ท่านศาสตราจารย์ ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล กราบบังคลทูลของพระบรมราชานุญาต ในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2493
ดังนั้นในวันแข่งขันฟุตบอล เมื่อบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจบแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ยังคงประทับยืน
ขณะที่กองเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคนดูทั่วไปนั่งลง แต่กองเชียร์จุฬาฯ และนิสิตเก่าที่เข้าชมการแข่งขันยังยืนถวายความเคารพ ชาวจุฬาฯ ได้ร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ถวาย เมื่อเพลงจบจึงได้ประทับนั่ง
ซึ่งมีความหมายว่าได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตทางอ้อมให้ชาวจุฬาฯ ยึดถือเป็นเพลงสรรเสริญบารมีสำหรับชาวจุฬาฯ ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่มีการบรรเลงหรือการขับร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อนั้นชาวจุฬาฯทุกคนจักต้องยืนตรงถวายความเคารพ...”
“บทเพลงมหาจุฬาลงกรณ์จะถูกบรรเลง หรือขับร้องในงานสำคัญๆต่างๆของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่านั้น เหตุเพราะเป็นเพลงที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเพลงที่ชาวจุฬาฯ ยึดถือและเคารพเหนือศีรษะ จึงจะนำมาขับร้องเล่นมิได้ โอกาสสำคัญที่มีการบรรเลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอย่างน้อยผู้ที่เข้ามาศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะได้รับฟังถึงสอง ครั้ง
นั่นคือ ในงานปฐมนิเทศนิสิตใหม่ และในงานพระราชทานปริญญาบัตร ที่ขับร้องโดยชมรมนักร้องประสานเสียง สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU Chorus ที่ได้รับการเรียบเรียงเป็นเสียงประสานโดย น.ต. ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ร.น.
นอกจากนี้ในโอกาสงานสำคัญต่างๆที่จัดขึ้นโดยชาวจุฬาฯ อย่างเป็นทางการอื่นๆ จักต้องบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์บทนี้เช่นเดียวกัน...”
Cr : line
โฆษณา