9 มิ.ย. 2022 เวลา 00:00 • ไลฟ์สไตล์
ทำงานสำคัญช่วงเช้า ดีจริงหรือ
1
ถ้าใครเคยอ่านหนังสือแนวพัฒนาตัวเอง ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเวลา น่าจะเคยได้เห็นคำแนะนำว่าให้เรา ทำงานสำคัญช่วงเช้า เพราะการทำงานในช่วงเช้านั้น สมองเรายังปลอดโปร่ง มีพลังเต็มที่ เราจึงควรเอางานสำคัญมาทำก่อน อีกประการหนึ่งคือเมื่อทำงานนั้นเสร็จแล้ว วันนั้นจะเป็นวันที่เราปลอดโปร่งโล่งใจเลย
10
นอกจากงานสำคัญแล้ว ยังมีงานที่ยาก ที่เราไม่อยากทำ ที่ Brian Tracy เรียกงานนั้นว่า “กบ” โดยเขาเขียนในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกชื่อ Eat That Frog หรือกินกบตัวนั้นซะ ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะไม่อยากทำอย่างไรก็ตาม งานนั้นสุดท้ายแล้วเราก็ต้องทำ
2
เช่น ถ้าเราต้องโทรไปคุยกับลูกค้ารายสำคัญรายหนึ่ง ซึ่งคุยไม่ง่ายเลย ถ้าเราเริ่มทำสิ่งนี้ให้จบตอนเช้า จะทำให้วันทั้งวัน เราทำงานอย่างสบายใจ ดีกว่าเก็บงานนั้นไว้ แล้วก็รบกวนใจเราไปตลอด ซึ่งในที่สุดเราก็ต้องทำงานนั้นอยู่ดี
1
เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ดีนะครับ จากประสบการณ์ผม ผมก็มักจะเริ่มต้นวันใหม่ด้วยงานที่สำคัญหรืองานที่ยาก ๆ นี่แหละครับ และพยายามจะหลีกเลี่ยงการทำอย่างอื่นที่ไม่ต้องใช้พลังมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบ email หรือเล่น Social Media ต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาก็ทำให้ผมสามารถทำงานสำคัญ ๆ หรืองานที่ยาก ๆ เสร็จ และวันนั้นทั้งวันก็เป็นวันที่รู้สึกสบายใจไปทั้งวันด้วย
3
เพียงแต่ว่าข้อแนะนำนี้ก็มีประเด็นควรพิจารณาด้วยเช่นกัน ประการแรก คือไม่ใช่ทุกคนนะครับที่จะมีสมองปลอดโปร่งในช่วงเช้า เช่น บางคนอาจจะมีลักษณะเหมือนนกฮูกคือพลังจากมาตอนดึก ๆ เขาจะทำงานหลาย ๆ อย่างได้ดีมาก ๆ ในช่วงดึก คนกลุ่มนี้ก็จะนอนดึกโดยธรรมชาติ
3
ดังนั้นถ้าเราเอาข้อแนะนำว่าให้ทำงานสำคัญหรืองานยาก ๆ ในช่วงเช้า สำหรับเขาแล้ว ช่วงนั้นอาจจะไม่ใช่ช่วงที่ดีที่สุดของเขาเลย ยิ่งทำ ยิ่งล้า สมองไม่แล่น ลองนึกแบบนี้ครับว่า สำหรับคนทั่วไป ถ้ามีคนมาปลุกเราให้ลุกขึ้นมาทำงานตอนตี 2 เราจะรู้สึกอย่างไร นั่นแหละครับ เขาอาจจะรู้สึกแบบนั้นในการทำงานตอนเช้าก็ได้
อีกประการหนึ่ง คือบางครั้งการเริ่มจากงานที่ยาก และถ้าใช้เวลานาน บางทีมันก็ท้อ เช่น ถ้าเราเริ่มวันด้วยการเขียนบทความวิจัยยาก ๆ ทำมาชั่วโมงหนึ่งแล้ว ยังไม่ไปไหนเลย อาจจะพาลทำให้เราอยากเลิกทำไปเลยก็ได้
บางทีการเริ่มทำงานที่ง่าย ๆ ก่อน มันอาจจะมีลักษณะของ Small Win อยู่เหมือนกัน คือมันจะเริ่มสร้าง Momentum ให้เรา ผมก็เคยใช้เทคนิคนี้เหมือนกัน คือ พอเริ่มต้นทำงานง่าย ๆ แป๊บเดียวเสร็จสัก 2-3 งาน มันเหมือนเครื่องติด หลังจากนั้นเราจะหยิบงานยาก ๆ ขึ้นมาทำ มันก็ไม่ยากอย่างที่เราคิดแล้ว
5
เพียงแต่การใช้เทคนิคการเลือกงานง่าย ๆ นั้น อย่าทำเยอะเกินไป เพราะหลายครั้งมันกลายเป็นข้ออ้างที่จะทำให้เลื่อนการทำสิ่งที่ยาก ๆ ออกไปเรื่อย ๆ อย่างตัวผมเอง งานที่ยาก แต่ยังไงก็ต้องทำ เช่น การตรวจข้อสอบนักศึกษา ผมทราบเลยว่า ถ้าผมไม่เริ่มทำตอนเช้า แล้วไปเอางานง่าย ๆ มาทำก่อน สุดท้ายวันนั้นทั้งวันอาจจะทำงานง่าย ๆ แต่ไม่สำคัญเสร็จหลายงาน แต่งานยาก ๆ อย่างงานตรวจข้อสอบอาจจะไม่ได้ทำเย
4
ก็คงไม่ได้มีคำตอบถูกหรือผิดเพียงคำตอบเดียวหรอกครับ ลักษณะของแต่ละคนแตกต่างกัน สไตล์การทำงานของแต่ละคนก็แตกต่างกัน แค่อยากให้ทดลองหลาย ๆ รูปแบบ และหารูปแบบของการทำงานที่เข้ากับเราได้มากที่สุด แค่นั้นก็พอครับ
โฆษณา