11 มิ.ย. 2022 เวลา 06:07 • ความคิดเห็น
ขอแจ้งข่าวดีครับ มนุษย์เราทุกคนต้องคิดเปรียบเทียบตลอดเวลาครับ
เพราะมันช่วยให้บรรพบุรุษเราดำรงชีวิตอยู่รอดและดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงทุกวันนี้ได้ครับ
คำถามที่น่าสนใจคือ
Q1: ทำไมธรรมชาติถึงคัดเลือกสัญชาตญาณการสังเกตและเปรียบเทียบมาให้เรา มันมีประโยชน์อะไร?
สัญชาตญาณ คือ
การสะสมพฤติกรรมที่มีประโยชน์และฝังอยู่ในพันธุกรรมในสมองของเรา
พันธุกรรม คือ
การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
สมองกระตุ้นให้เราเปรียบเทียบกับผู้อื่นรอบข้างตลอดเวลา
สมองเราถูกสร้างมาให้หาตำแหน่งของเราว่าอยู่ตรงไหนตลอดเวลา
- เพื่อช่วยส่งเสริมให้เรามีชีวิตรอดในสังคม
ไม่ใช่ พยายามให้เราเป็นคนขี้อิจฉา หรือ อยากให้เรามีแต่ความทุกข์ เพราะความไม่พอหรือการเปรียบเทียบกับคนที่มีมากกว่า
- เพื่อช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการต่อสู้กับสิ่งที่มีพลังอำนาจมากกว่า
- เพื่อช่วยประเมินสถานการณ์
ถ้าสมองเห็นว่าเราอ่อนแอกว่าคู่ต่อสู้ สมองจะใช้ความกลัวและฮอร์โมนเครียด เตือนเราถึงภัยที่อยู่ตรงหน้า
เมื่อเรารู้สึกเครียด เราจะได้คิดหน้าคิดหลังมากขึ้น คิดหากลยุทธ์ในการรับมือกับสถานการณ์ว่า จะสู้หรือหนี จะนิ่งแกล้งตายหรือนิ่งพักรบเพื่อหาตัวช่วย จะเคารพหรือเกรงกลัว เพื่อหลีกเลี่ยงการเสี่ยงอันตรายโดยไม่จำเป็นมากขึ้นและดูแลตัวเองให้ปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้
จริงอยู่ว่า ถ้าเลือกได้ เราทุกคนอยากเลือกมีแต่ความสุข ไม่อยากเครียด ไม่อยากทุกข์ แต่ถ้าเราอยู่โดยไม่มีอารมณ์ด้านลบ หรือความรู้สึกไม่ดี เราจะวิ่งอยู่บนวิถีชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง ไม่กลัวอะไร ไม่มีสัญญาณเตือนถึงอันตราย อาจต้องเจอกับอันตรายและไม่มีชีวิตรอดได้
สมองเราจะมีความสุขเมื่อเราเหนือกว่า เจ๋งกว่า ได้เปรียบกว่า มีสุขกว่า ชนะเป็นที่1 สบายกว่า มีมากกว่า สูญเสียน้อยกว่า สมองจะหลั่งสารรางวัลโดพามีน โดยเฉพาะสมองผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ความสุขจากการที่เราเหนือกว่า ได้เห็นความทุกข์คนอื่นมากกว่าเรา หรือ
ความทุกข์จากการที่คนอื่นเหนือกว่าเรา ได้เห็นความสุขคนอื่นมากกว่าเรา
มีที่มาคือ สมัยก่อนหรือในยุคหิน ถ้าเราอ่อนแอ ไม่แข็งแรง ล่าสัตว์ไม่เก่ง เป็นที่โหล่ของชนเผ่าที่เราอยู่ด้วย เรามีโอกาสที่จะถูกตัดออกจากเผ่า เราจะตาย โอกาสจะได้สืบพันธุ์ก็น้อย ทำให้ไม่ได้ส่งต่อพันธุกรรม
ดังนั้น ธรรมชาติยอมไม่ได้ สถานการณ์นี้ไม่ส่งเสริมการอยู่รอด จึงวิวัฒนาการสร้างอารมณ์ด้านลบหรือความรู้สึกไม่ดีจากการด้อยกว่า ที่เรียกว่า ความรู้สึกอิจฉา มาเพื่อเป็นแรงขับให้บรรพบุรุษเราสนใจหากลยุทธ์ในการรับมือ เพื่อตามให้ทันกลุ่ม ไม่อยู่ท้ายกลุ่ม เพื่อให้เราอยู่รอด โดยส่งสัญญาณกระตุ้นให้เราพัฒนาตนเอง ผ่านอารมณ์ด้านบวกหรือความรู้สึกดีจากการเหนือกว่าและการได้รับการยอมรับจากสังคมนั่นเอง
การต้องเหนือกว่าคนอื่น จึงอยู่ในพันธุกรรมของเราโดยอัตโนมัติ มันช่วยส่งเสริมการอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมยุคหินที่เราวิวัฒนาการมา
สมัยนี้ต่อให้ไม่มีเพื่อนเลยก็ไม่ตาย แต่สมัยก่อนอยู่ในป่าไม่มีเพื่อนต่อให้เก่งแค่ไหนก็ตาย เพราะมีสัตว์ร้าย ไม่มีที่อยู่ ไม่มีอาหารสำเร็จรูป ยากมากที่จะอยู่คนเดียวได้ วานรในป่าจึงอยู่เป็นฝูงเป็นกลุ่ม เราก็วิวัฒนาการมาไม่ต่างจากวานร
มาดูวิธีการก้าวข้ามอย่างสง่างามกันครับ
ให้เรามองทุกอย่างเป็นเหรียญ 2 ด้านครับ โดยให้เราถอยหลังกลับมายืนที่ขอบเหรียญ เพื่อให้เห็นทั้ง 2 ด้านของ ความอิจฉาและเปรียบเทียบ
ที่ผ่านมาเราตัดสินว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดี คือ มองมันในเชิงลบหรือก่อให้เกิดโทษกันมาแล้ว เป็นเหรียญ 1 ด้าน
และบทความหรือความรู้วิทยาศาสตร์สุขภาพด้านบน คือ อีก1ด้านของเหรียญหรือมองมันในเชิงบวกหรือก่อให้เกิดประโยชน์แบบที่นักวิทยาศาสตร์มอง
จากนั้น เมื่อเราเห็นทั้ง 2 ด้านของมันแล้ว
เราจะไม่ตัดสินว่ามัน ดีหรือแย่ ถูกหรือผิด
แต่มันจะช่วยให้เรา
ใช้มันเป็นทรัพยากรในการใช้ชีวิตตามที่ต้องการได้
ใช้มันในทางที่สร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ก็ได้
ตัวอย่าง การใช้พลังจากความอิจฉาเปรียบเทียบ
1. ในทางไม่สร้างสรรค์ ทำลาย เป็นโทษต่อตนเองและผู้อื่น
คือพฤติกรรม ดึงคนอื่นให้ต่ำลง เพราะโกรธเกลียดเขา
เรียกว่า (ริษยาคนอื่น) อิจฉาแบบมุ่งร้าย
มันมีแรงขับมาจาก
*ความกลัวตัวเองด้อยกว่า
ทำให้สุขภาพจิตแย่ ว้าวุ่นใจ ความสัมพันธ์กับผู้อื่นแย่
2. ในทางสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
คือพฤติกรรม ดันตัวเองให้สูงขึ้น เพราะยินดีกับเขา
เรียกว่า (ใช้คนอื่นเป็นแรงบันดาลใจ) อิจฉาแบบมุ่งมั่น
มันมีแรงขับมาจาก ความกลัวตัวเองด้อยกว่า เช่นกัน
แต่เนื่องจากเรามีภูมิความรู้แล้ว
สมองเราจึงเปลี่ยนแรงขับเป็น
*ความกลัวตัวเราไม่เติบโต
กลัวตัวเราไม่ก้าวหน้า
กลัวตัวเราไปผิดทาง มากกว่าครับ
ทำให้สุขภาพจิตดี สุขสงบ ความสัมพันธ์กับผู้อื่นดี
คนกลุ่มแรก ผมเรียกว่า คนเขลาด้านสุขภาพจิต รู้ไม่เท่าทันความอิจฉา
คนกลุ่มสอง ผมเรียกว่า คนมีภูมิด้านสุขภาพจิต รู้เท่าทันความอิจฉา
อีกเช่นเคย อย่าตัดสินว่า ถูกหรือผิด ดีหรือแย่
การหาภูมิความรู้ด้านสุขภาพจิตที่แท้จริงเท่านั้น ที่จะช่วยป้องกันผลลัพธ์ของชีวิตแย่ๆได้
หากเราต้องการมีผลลัพธ์ชีวิตที่ดี ต้องฝึกสมองให้มองเห็นเหรียญทั้ง 2 ด้านของทุกสิ่งบนโลกครับ
มาดูคำถามที่น่าสนใจต่อมากันครับ
Q2 : อย่างนี้เราทุกคนก็ต้องแข่งขันกันไปไม่มีที่สิ้นสุดเลยน่ะสิ?
คำตอบนี้เรียกว่า วิธีรับมือกับ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ครับ
วิธีคิดที่1 แบบยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
เป้าหมายของคุณ คือ การให้ความสำคัญกับความสำเร็จของตัวเอง
เช่น
การแข่งขัน การทำให้คนอื่นประทับใจ
การพิสูจน์ว่าตัวเองดีพอหรือเก่งกว่าใคร
การพิสูจน์คุณค่าของตัวเอง
การโฆษณาตัวเอง
คุณจะรู้สึก สับสน วิตกกังวล โกรธ โดดเดี่ยว หดหู่ เบื่องาน เบื่อการพัฒนาตัวเอง รู้สึกอับจนหนทาง
วิธีคิดที่2 แบบเชื่อมโยงกับเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง
เป้าหมายของคุณ คือ การสนับสนุนสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวคุณ
มันคือ บทบาทที่คุณมีต่อสังคม
เช่น
การมุ่งช่วยเหลือผู้อื่น
คุณจะรู้สึกมีความหวัง มีแรงบันดาลใจ ตื่นเต้น รู้สึกว่างานของตัวเองมีความหมาย พึงพอใจกับชีวิต รู้สึกมองโลกในแง่ดี
เพราะ สัญชาตญาณการเป็นสัตว์สังคม ต้องการให้เราช่วยเหลือกัน ลองสังเกตดูนะครับใครช่วยเหลือผู้อื่นมากๆ เขาจะไม่สงสัยว่าเขาเกิดมาทำไม
อ่านต่อเรื่องความหมายชีวิตได้ที่ Link นี้ครับ : https://www.blockdit.com/posts/62a11f1b40ee0f302b6c5ee1
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือตัวอย่างที่ผมเรียกว่า
การได้รับภูมิ3รวย-ด้านสุขภาพจิต ครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา